DSpace at Bangkok University >
Cluster of New Media & Design >
School of Fine and Applied Arts >
Master Degree >
Theses >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1948
|
Title: | ปัญหาทางกฎหมายลิขสิทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับการจำหน่ายจ่ายโอน ต่อสินค้าที่อยู่ในรูปแบบดิจิทัล |
Other Titles: | Legal problems of copyright regarding the distribution of digital goods |
Authors: | มาตา สินดำ |
Keywords: | กฎหมายลิขสิทธิ์ การจำหน่ายจ่ายโอน สินค้ารูปแบบดิจิทัล |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยกรุงเทพ |
Abstract: | งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ขอบเขต ลักษณะของกฎหมายลิขสิทธิ์ของประเทศไทย สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการจำหน่ายจ่ายโอนต่อสินค้าอันมีลิขสิทธิ์ที่อยู่ในรูปแบบดิจิทัลสำหรับประเทศไทย ผลการวิจัยพบว่า การจำหน่ายจ่ายโอนต่อสินค้าอันมีลิขสิทธิ์ที่อยู่ในรูปแบบดิจิทัลนั้น ก่อให้เกิดประเด็นปัญหาถกเถียงด้วยกัน 3 ประการ คือ 1) สิทธิความเป็นเจ้าของ ซึ่งเกิดข้อถกเถียงการซื้อขายสินค้าอันมีลิขสิทธิ์ที่อยู่ในรูปแบบดิจิทัลนั้นเป็นสัญญาซื้อขาย หรือเป็นเพียงสัญญาอนุญาตให้อนุญาตให้สิทธิ 2) วิธีการจำหน่ายจ่ายโอนต่อซึ่งหลีกเลี่ยงการทำซ้ำได้ยาก 3) หลักการสิ้นสิทธิในกฎหมายลิขสิทธิ์สามารถนำมาปรับใช้กับสินค้าที่อยู่ในรูปแบบดิจิทัลได้หรือไม่ ข้อถกเถียงในประเด็นดังกล่าวเหล่านั้น
ยังไม่มีข้อสิ้นสุด แม้ในปัจจุบันจะมีคำพิพากษาที่เกี่ยวข้องออกมาทั้งในสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ซึ่งคำตัดสินดังกล่าวนั้นแบ่งออกเป็นสองแนวทางทั้งสามารถและไม่สามารถจำหน่ายจ่ายโอนต่อได้เฉกเช่นเดียวกับสินค้าที่อยู่ในรูปแบบจับต้องได้ อย่างไรก็ตาม ด้วยธรรมชาติของสินค้าที่อยู่ในรูปแบบดิจิทัลที่มีลักษณะเฉพาะซึ่งมีความแตกต่างจากสินค้าที่อยู่ในรูปแบบจับต้องได้ ไม่ว่าจะตีความไปในแนวทิศทางใด ย่อมส่งผลกระทบ
ทั้งเจ้าของลิขสิทธิ์และผู้บริโภคโดยตรง ซึ่งผู้ศึกษาเห็นว่าการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยการตีความให้สินค้าอันมีลิขสิทธิ์ที่อยู่ในรูปแบบดิจิทัลสามารถจำหน่ายจ่ายโอนต่อได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ควบคู่กับการนำเทคโนโลยี
ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะเข้ามาปรับใช้เพื่อแก้ไขผลกระทบที่เกิดแก่เจ้าของลิขสิทธิ์ กรณีไม่อาจแน่ใจว่าผู้บริโภคลบทิ้งไปจากอุปกรณ์จัดเก็บของตนเองแล้วหรือไม่กับกรณีการไม่เสื่อมสภาพของสินค้า ทั้งยังป้องกันมิให้ผู้บริโภคตกเป็นผู้ละเมิดสิทธิทำซ้ำและสิทธิจำหน่ายของเจ้าของลิขสิทธิ์ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าอันมีลิขสิทธิ์ที่อยู่ในรูปแบบดิจิทัลมาโดยชอบด้วยกฎหมายให้มีสิทธิเท่าเทียมผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าที่อยู่ในรูปแบบ
จับต้องได้ The objective of this research is to study the concepts, scopes and characteristic features of copyright law Thailand comparing with the United States of America (USA) and the European Union (EU) regarding the distribution of copyrighted works in electronic format – digital goods.
This research found that there were three controversial issues regarding the distribution of copyrighted goods in electronic format or digital goods, i.e, 1) Ownership Right: it was questionable if the distribution of digital goods is under purchasing agreement or licensing agreement; 2) Distribution method (as it is rarely possible to avoid infringement);
3) Exhaustion of rights which was debatable if this concept is applicable to the copyright of the digital goods. Still, these controversial issues have been questionable.
As the characteristics of the digital goods are unique and different from tangible goods in various aspects, the Author see that the resolution of such problems should be starting from the interpretation. The research shows that the distribution of copyrighted goods in electronic format should be permitted by copyright law. This includes the use of specific technology to assist copyright owners in case they are uncertain if their consumers have deleted digital goods from their devices yet or in case of non-deterioration. In addition, the use of technology can also prevent consumers from violating owners’ distribution right and any other reproductions and infringements. Therefore, consumers’ right in digital goods will be treated the same as the consumers’ right in tangible goods. |
Description: | วิทยานิพนธ (น.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2558 |
Advisor(s): | อรรยา สิงห์สงบ จุมพล ภิญโญสินวัฒน์ |
URI: | http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1948 |
Appears in Collections: | Theses
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|