DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Theses >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1717

Title: การศึกษาการสอดประสานการรับรู้ด้านทัศนาการและกลิ่นของกาแฟในเด็กและผู้ใหญ่
Other Titles: Crossmodal correspondence between color and scent of coffee in children and adult
Authors: พนิดา ศิลปกิจ
Keywords: การสอดประสาน
กาแฟ
ทัศนาการและกลิ่น
เด็กและผู้ใหญ่
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: สีเป็นองค์ประกอบสาคัญของการออกแบบสถาปัตยกรรมและวางแผนกลยุทธการตลาดเพื่อ ส่งเสริมการขายดึงดูดให้ผู้คนสนใจสินค้าหรือเข้าใช้อาคาร แต่การศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่าง การรับรู้ด้านสียังมีจากัด โดยเฉพาะการศึกษาด้านการรับรู้กลิ่น การศึกษานี้ใช้ทฤษฎีการสอดประสาน ของการรับรู้ (Crossmodal Correspondences) มาประยุกต์ใช้ในด้านสีและกลิ่น ศึกษาความ สัมพันธ์โดยตรงระหว่างระดับความพึงพอใจที่บุคคลมีต่อกลิ่นและสีของอาหารที่คิดว่าเหมาะสมกัน มีจุดประสงค์เพื่อทดสอบทฤษฎีดังกล่าวและเพื่อศึกษาอิทธิพลทางวัฒนธรรมที่มีต่อความสอดคล้อง ระหว่างสีกับการรับรู้เรื่องสีที่มีต่อกลิ่นของกาแฟ โดยมีประชากกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม ประกอบด้วย เด็กอายุ 6-8 ปี จานวน 52 คน ซึ่งเป็นกลุ่มประชากรที่ยังไม่ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมเกี่ยวกับ กาแฟมากนัก และบุคคลทั่วไปอายุ 20-50 ปี จานวน 192 คน (แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือบุคคลที่มี พื้นฐานด้นงานออกแบบ และบุคคลที่ไม่มีพื้นฐานด้านดารออกแบบ) ดาเนินการเก็บข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถาม ทุกคนผ่านการทดสอบตาบอดสีอิชิฮารา ผู้เข้าร่วมการทดลองได้ดมกลิ่นที่อยู่ในขวดทึบ จากนั้นจึงเลือกสี 3 สีที่คิดว่ามีความสอดคล้องกลิ่นที่ได้ดม จากชุดสีที่จัดเตรียมไว้ให้ โดยที่สามารถ ดมเป็นเวลานานเท่าไหร่ก็ได้ การศึกษานี้เป็นวิจัยเชิงปริมาณ วิธีการทางสถิติที่ถูกใช้ในการวิเคราะห์หาค่าความสัมพันธ์ คือ การทดสอบไคสแวร์ เพื่อต้องการตรวจสอบว่าตัวแปรต้นและตัวแปรตามมีความสัมพันธ์กันหรือไม่ ใน เชิงสาเหตุและผลกระทบ มีตัวแปรที่ผู้วิจัยรามาแบ่งออกตามประเภท คือ สีโทนร้อน สีโทนเย็น และสี โทนผสม พร้อมทั้งมีการทดสอบฟิชเชอร์ เข้ามาใช้ร่วมกันในการวิเคราะห์ด้วย ผลการศึกษาสอดคล้อง กับทฤษฎีการสอดประสานของการรับรู้ โดยผู้ร่วมทดลองที่สามารถระบุว่าต้นกาเนิดกลิ่นคือกาแฟจะ เลือกสีในโครงสีร้อนว่ามีความสอดคล้องกับกลิ่นที่ได้ดม กลุ่มตัวอย่างอายุ 6-8 ปี อันดับแรกคือ สี เหลืองเข้ม, สีส้มเข้ม และ สีแดงเข้ม กลุ่มตัวอย่างอายุ 20-50 ปี คือ สีส้มเข้ม, สีเหลืองเข้ม และ สีแดง เข้ม สีที่ถูกเลือกมา 3 อันดับแรกจากทั้งสองกลุ่มตัวอย่างล้วนเป็นสีเดียวกัน เพียงแต่สลับอันดับกัน ซึ่งจัดเป็นสีที่เกี่ยวเนื่องกับสีที่มีระดับความเข้มสูงทั้งหมด กล่าวคือ แม่สี ๆ นั้นผสมเข้ากับสีดา ผลลัพธ์ ที่ได้ออกมามรความเหมือนและคล้ายคลึงกับสีน้าตาล ซึ่งเป็นสีของตัวกาแฟ จากผลลัพธ์นี้จึงสามารถ ระบุได้ว่าสีของกลิ่นกาแฟมีความสัมพันธ์กับโทนสีร้อนในทางตรงกันข้ามกัน บุคคลที่ไม่สามารถระบุต้น ตอของกลิ่นได้ มีลักษณะของการเลือกสีที่ไม่สอดคล้องกับสีของกาแฟ เช่นสีโทนเย็น และมีแนวโน้มใน การเลือกสีแบบไม่เป็นระเบียบ ค่อนข้างสะเปะสะปะ อาจมีเหตุผลในเรื่องของสีที่มีความชอบเป็น ส่วนตัวเข้ามาเกี่ยวข้องในการตัดสินใจ หรือเกิดจากทัศนคติที่บุคคลมีต่อสีนั้น ๆ จากประสบการณ์ ก่อนหน้านี้ ปัจจัยในเรื่องภูมิหลังด้านงานออกแบบส่งผลต่อการเลือกโครงสีในผู้ใหญ่ โดยที่บุคคลที่มี ภูมิหลังด้านการออกแบบเลือกสีเชื่อมโยงกลิ่นเข้ากับสีโทนร้อนได้มากกว่าบุคคลที่ไม่มีภูมิหลังด้านการ ออกแบบ อย่างไรก็ตามปัจจัยเรื่องเพศในแต่ละช่วงอายุไม่ได้ส่งผลต่อการเลือกสีของกลิ่นหลังจากที่ได้ ดม ผลการวิจัยช่วยยืนยันได้อีกว่า กลิ่นของกาแฟมีสีที่เป็นเฉพาะเจาะจง แม้ในเด็กเล็กอย่างกลุ่ม ตัวอย่างช่วงอายุ 6-8 ปี ซึ่งยังไม่มีอิทธิพลด้ามวัฒนธรรมเข้ามาเกี่ยวข้องในชีวิตประจาวันมากนัก ก็ยัง สามารถระบุสีของกลิ่นกาแฟที่ตรงกับสีของตัวกาแฟเป็นสีร้อนได้ นักออกแบบควรนาความรู้ที่ได้จากผลการศึกษาครั้งนี้ไปประยุกต์ใช้เพื่อตอบโจทย์การ ออกแบบเพื่อประสบการณ์ผู้ใช้ ตอบสนองประสาทสัมผัสด้านการมองเห็นในเรื่องของสี และการได้ กลิ่นได้อย่างสมบูรณ์แบบ ทั้ง 2 การรับรู้นี้มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด รูปแบบการประมวลผลของ สมอง การจดจา และการเรียนรู้จึงมีความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกัน ธุรกิจร้านกาแฟ ร้านอาหาร หรือ สถานที่ที่มีเรื่องของกลิ่นเข้ามาเกี่ยวข้องอาศัยการรับรู้เหล่านี้ในการสื่อสารความหมาย และสร้างความ ประทับใจให้ผู้บริโภคเป็นหลัก การพิจารณาออกแบบควรเลือกสีที่เกี่ยวข้องกับกลิ่นนั้น ๆ เพื่อการรับรู้ สภาพแวดล้อมที่ถูกต้อง สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ การศึกษานี้ยังคงมีข้อจากัดเกี่ยวกับวิธีในการกาหนดสีตัวอย่างในการทดลอง และวิธีการเก็บ ข้อมูลกับประชากรกลุ่มตัวอย่างอายุ 6-8 ปี ซึ่งถือเป็นเรื่องค่อนข้างยุ่งยาก เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างยังคง ไม่มีวุฒิภาวะเพียงพอในการควบคุมสมาธิในช่วงเวลาที่ทาการทดลอง การศึกษาในขั้นต่อไปอาจนา ผลลัพธ์ของสีที่ได้จากการศึกษานี้ ไปจาลองสภาพแวดล้อมเสมือนจริง ทาแบบสอบถามเกี่ยวกับการ พิจารณาเลือกเข้าร้านกาแฟ หรือลงรายละเอียดศึกษาในเรื่องของประชากรตัวอย่างให้ลึกขึ้น เช่น การ เปรียบเทียบในกลุ่มผู้เข้าร่วมการทดลองที่มีเพศต่างกัน หรือกลุ่มผู้เข้าร่วมการทดลองที่มีพื้นฐานด้าน การออกแบบต่างกันระหว่างคนที่เรียนศาสตร์ด้านการออกแบบกับคนทั่วไปที่เรียนศาสตร์อื่น เป็นต้น
Color is one of the most important elements of architectural design especially for retail space. Many design aspects involved in marketing and gaining customer loyalty, but one of the most important is your visual presentation with color. Color greatly influences human emotion and behavior. By the right using color, entrepreneur can increase the chance of reaching business goal as well as understanding the basics of color-scent association can help designer to design a space. Such as the understanding of crossmodal correspondence between color and scent is crucial for designing of a built environment, and marketing of a product. Previous studies suggested that the perceived congruence between scent and color lead to higher accuracy in scent recognition as well as higher level of pleasant rating. This present study examines the extent to which previous experience plays role in the crossmodal correspondence of the scent and color of coffee. To fully understand the impact of previous experience on coffee’s color-scent association, we decided to conduct the study in two different samples. First, young children who are less likely to be socially influenced by coffee, 52 children aged 6-8 years old. Second, 192 adults aged 20-50 years old. All population were pre-screened for color deficiency are recruited to complete the same task of selecting 3 most congruent colors the after smelling scent from the concealed container with no limit time. This study is a quantitative research. Chi-square and Fisher’s exacts test were used to analyze and measure value of the relationship between variables and to verify whether the variables are related. Those variables were divided by color categories which are warm, cool, and mixed. The results support existing crossmodal correspondence theories. Even in young children, the group could identify the scent as coffee shows strong association between perceived congruence between the scent of coffee and warm colors schemes. Children chose dark yellow, dark orange, dark red for their top three colors and adults for dark orange, dark yellow and dark red. These color codes are all related to muted and dark level (primary color mixed with black). The evidence from this research suggested that scents are nonrandom and characterize by color. The color-scent matching of a coffee produced a statistically significant result. The fisher exact test statistic for the relationship between scent identification and color matching is significant. Therefore, a causal relation between the perceptions of scent and color association in people’s mind can be inferred. Design and non-design background also influence color selection in adults. On the contrary, Chi-square analysis shows no significant relationship among gender and color which is not significant. In conclusion, the results from this study support previous color-scent perception research. People previous experience do play important role in creating this bias. It confirms that what people smell can actually shape what they see. Even in young children, those who can identify the scent as coffee often match the smell with warm color tone, which is the color of coffee bean or coffee’s by products. Armed with this knowledge, designer should choose the colors naturally associated with the scent produced by the object facilities they are required to design for. Since a smell able to make a space more favorable, our finding from this study may be applied in interior design practice by using odor and color in a strategic manner competitive environment which benefits designers as well as restaurant establishment. However, choosing color sample and collecting data with children are considered as limitation in this study. Population age 6-8 years old is not mature enough to control their concentration during the experiment. Future study may warrant a replication of this study with a larger sample size to further validate the generalizability of the data. Comparison of color-scent association across different participant groups such as young children with adults, group with different cultural background, different gender, or participants with design and non-design background are also worth exploring as the color-scent association might be different among various demographic background.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2558
Advisor(s): พิยะรัตน์ นันทะ
ชุมพร มูรพันธุ์
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1717
Appears in Collections:Theses

Files in This Item:

File Description SizeFormat
panida_silp.pdf7.92 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback