DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Theses >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1113

Title: การศึกษาความตระหนักในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วม กรณีศึกษา: หมู่บ้านศาลาแดงเหนือ เชียงรากน้อย
Other Titles: The awareness of cultural heritage conservation through the participatory process a case study of Saladaeng Nua village, Chaiang Rak Noi
Authors: พลอยภัทรา ตระกูลทองเจริญ
Keywords: มรดกทางวัฒนธรรม
การมีส่วนร่วม
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: วิจัยหัวข้อการศึกษาความตระหนักในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วม กรณีศึกษา: หมู่บ้านศาลาแดงเหนือ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความตระหนักของชาวบ้านศาลาแดงเหนือถึงมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้และมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้โดยแบ่งผู้ให้ข้อมูลออกเป็น 5 กลุ่มใหญ่ตามช่วงอายุ ได้แก่ กลุ่มวัยเด็ก กลุ่มวัยรุ่น กลุ่มวัยหนุ่มสาว กลุ่มวัยผู้ใหญ่ และกลุ่มวัยสูงอายุ การศึกษาทำการเก็บข้อมูล 2 ประเภท คือ การเก็บข้อมูลภาคเอกสารและการลงเก็บข้อมูลภาคสนาม โดยมีเก็บข้อมูลภาคสนามทั้งหมด 3 ขั้นตอน ได้แก่ การดึงข้อมูลจากภาพถ่าย การวาดแผนที่เดินดิน และกิจกรรมการประเมินความตระหนักต่อมรดกทางวัฒนธรรม ผลการศึกษาพบว่า มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้ที่ชาวบ้านศาลาแดงเหนือให้ความตระหนักในการอนุรักษ์ส่วนใหญ่เป็นศาสนสถาน ส่วนมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ชาวบ้านศาลาแดงเหนือให้ความสำคัญกับวัฒนธรรม ประเพณีเก่าแก่ที่สืบต่อกันมา เช่น การสวดมนต์ตอนบ่าย 3 โมง โดยอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยเพื่อความสะดวกในการเข้าร่วมของคนในหมู่บ้านแต่ยังคงปฏิบัติอยู่ เรื่องภาษามอญยังคงมีการอนุรักษ์อยู่แต่มีเฉพาะกลุ่มวัยสูงอายุที่สามารถฟัง พูด อ่าน เขียนได้ครบถ้วน ส่วนในกลุ่มอื่น ๆ สามารถพูดและฟังเท่านั้น โดยความสัมพันธ์ระหว่างมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้มีศาสนาเป็นสิ่งเชื่อมโยงให้ทั้งสองอยู่คู่กันไป อย่างไรก็ตามความตระหนักในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมนั้น มีผลมาจากช่วงอายุซึ่งอาจแบ่งได้เป็นกลุ่มคนรุ่นเก่า และกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่อาจจะให้คุณค่ามรดกทางวัฒนธรรมของแตกต่างกันออกไป จากการเก็บข้อมูลทำให้ได้ทราบถึงกระบวนการการมีส่วนร่วมของชาวบ้านศาลาแดงเหนือว่า อยู่ในระดับที่ผู้ออกแบบและชุมชนออกแบบร่วมกันในทุกขั้นตอนการออกแบบตั้งแต่ต้นจนจบโครงการ โดยเน้นไปทางชุมชนเป็นหลักในการตัดสินใน และลงมือปฏิบัติ โดยผู้ออกแบบทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกในการทำกิจกรรมให้ราบรื่นเท่านั้น
This research studies on the awareness of cultural heritage conservation through the participation process a case study of Saladaeng Nua Village. This study aimed to search for Mon’s tangible and intangible cultural heritage from villager’s perspectives. The informants were separated into 5 groups which are children, teenagers, young, middle – aged and elderly. Literature about Mon’s culture, cultural heritage and participatory design were reviewed. Moreover additional information were collected during fieldwork. The research process consists 3 steps of 1. Photo elicitation 2. Mapping and 3. Assessment. The study shows that tangible and intangible cultural heritage on villager’s perspectives relate mainly on religion. The intangible cultural heritage such as afternoon praying, have been practice, although they are modified responding to everyday life. Mon language is still used through reading, writing, listening and speaking. Most elderly have all these skills but the rest can only listening and speaking. Age is a vital factor the influence to the value giving and awareness. Two different generations was different ideas of cultural heritage conservation. On concept of community participation, the villager acted as co-design in every stage. They join the project from start to finish. Importantly every decision was made by their own. The researcher acted as a facilitator.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2557
Advisor(s): ฤทธิรงค์ จุฑาพฤฒิกร
ธนธร กิตติกานต์
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1113
Appears in Collections:Theses

Files in This Item:

File Description SizeFormat
ploypattra_taku.pdf16.7 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback