DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Theses >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1002

Title: ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการสื่อสารภายในครอบครัว รูปแบบการดำเนินชีวิต รูปแบบความผูกพันภายในครอบครัว กับพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์และการติดเกมของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: The relationships between family communication patterns, lifestyle, family attachment styles, andsocial networking behavior and game addiction behavior amongst Thai teenagers in Bangkok metropolitan
Authors: จุฬาลักษณ์ ประจะเนย์
Keywords: รูปแบบการดำเนินชีวิต
รูปแบบการสื่อสารภายในครอบครัว
รูปแบบความผูกพันภายในครอบครัว
การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์
พฤติกรรมการติดเกม
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภูมิหลังของครอบครัว และรูปแบบความผูกพันกับรูปแบบการสื่อสารภายในครอบครัว (2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างรูปแบบการสื่อสารภายในครอบครัว และรูปแบบความผูกพันภายในครอบครัวกับรูปแบบการดำเนินชีวิต (3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างรูปแบบการสื่อสารภายในครอบครัวกับพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ และพฤติกรรมการติดเกมออนไลน์ และ (4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้สื่อเครือข่ายสังคมออนไลน์และพฤติกรรมการติดเกมออนไลน์โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ซึ่งใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย และการสุ่มตัวอย่างตามความสะดวก การวิเคราะห์ข้อมูลค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานได้จัดทำเป็นตารางและทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติไคสแคว์ การวิเคราะห์ความแปรปรวนตัวแปรพหุนาม การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน ซึ่งกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในการวิเคราะห์ข้อมูล รวมทั้งผู้วิจัยดำเนินการสัมภาษณ์เชิงลึกกับวัยรุ่น จำนวน 16 คน ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. ภูมิหลังของครอบครัวของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร ได้แก่รายได้ของครอบครัว เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับรูปแบบการสื่อสารภายในครอบครัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2. วัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานครที่มีรูปแบบการสื่อสารภายในครอบครัวแตกต่างกัน จะมีรูปแบบการดำเนินชีวิตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีครอบครัวแบบเปิดเสรีทางความคิด และเห็นพ้องต้องกันจะมีรูปแบบการดำเนินชีวิตแบบคนรักกิจกรรม และคนสนใจข่าวสารบ้านเมือง แตกต่างจากแบบปล่อยปละ และปกป้อง รวมทั้งกลุ่มตัวอย่างดังกล่าวจะมีรูปแบบการดำเนินชีวิตแบบคนรุ่นใหม่แตกต่างจากแบบปล่อยปละ ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างที่มีครอบครัวแบบเปิดเสรีทางความคิด จะมีรูปแบบการดำเนินชีวิตแบบคนที่ใส่ใจตัวเองแตกต่างจากแบบปล่อยปละในขณะกลุ่มตัวอย่างที่มีครอบครัวแบบเห็นพ้องต้องกันจะมีรูปแบบการดำเนินชีวิตแบบคนที่ใส่ใจตัวเองแตกต่างจากแบบปล่อยปละ และปกป้องรวมทั้งกลุ่มตัวอย่างที่มีครอบครัวแบบเห็นพ้องต้องกันจะมีรูปแบบการดำเนินชีวิตแบบคนที่มีแบบแผนแตกต่างจากแบบปล่อยปละ และกลุ่มตัวอย่างดังกล่าวจะมีรูปแบบการดำเนินชีวิตแบบคนรักความบันเทิงแตกต่างจากแบบปล่อยปละ และปกป้อง 3. วัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานครที่มีรูปแบบความผูกพันภายในครอบครัวแตกต่างกัน จะมีรูปแบบการดำเนินชีวิตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีความผูกพันแบบมั่นคงและกังวลจะมีรูปแบบการดำเนินชีวิตแบบคนรักกิจกรรม คนสนใจข่าวสารบ้านเมือง และคนเพื่อสังคม แตกต่างจากความผูกพันแบบทะนงตนและหวาดกลัวส่วนกลุ่มตัวอย่างที่มีความผูกพันแบบกังวลจะมีรูปแบบการดำเนินชีวิตแบบคนรุ่นใหม่แตกต่างจากแบบมั่นคง ทะนงตน และหวาดกลัวและกลุ่มตัวอย่างดังกล่าวจะมีรูปแบบการดำเนินชีวิตแบบคนรักความบันเทิงแตกต่างจากแบบทะนงตน ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างที่มีความผูกพันแบบมั่นคงจะมีรูปแบบการดำเนินชีวิตแบบคนที่ใส่ใจตัวเองแตกต่างจากแบบหวาดกลัวส่วนแบบกังวลจะแตกต่างจากแบบทะนงตนและหวาดกลัว 4. รูปแบบการสื่อสารภายในครอบครัวของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร จะมีความสัมพันธ์กับรูปแบบความผูกพันภายในครอบครัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 5. วัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานครที่มีรูปแบบการสื่อสารภายในครอบครัวแตกต่างกัน จะมีพฤติกรรมการติดเกมออนไลน์แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 6. วัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานครที่มีพฤติกรรมการใช้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ จะมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการติดเกมออนไลน์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ จากผลการสัมภาษณ์เชิงลึกทำให้ทราบว่าเพิ่มเติมว่ามีภูมิหลังของครอบครัว ได้แก่ อาชีพของบิดา และอาชีพของมารดา มีความสัมพันธ์กับการสื่อสารภายในครอบครัว และการสื่อสารภายในครอบครัวยังมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ ใน 2 ประเด็น ได้แก่ ระยะเวลาและความถี่ในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์
This research aims to examine the relationship between family characteristics of Thai teenagers in Bangkok Metropolitan and their self-perceived family communication patterns (RFCP), to predict the influence of Thai teenagers’ self-perceived family communication patterns and their self-reported attachment styles on their lifestyles, to predict the influence of Thai teenagers’ self-perceived family communication patterns on their social networking behavior and game addiction behavior, and to explore the relationship between social networking behavior and their game addiction behavior amongst Thai teenagers in Bangkok Metropolitan. The questionnaires were distributed to four hundred Thai teenager participants, who were selected by using multi-stage sampling, including stratified random sampling, random sampling method, and convenience sampling. The means and standard deviation of the data were tabulated and analyzed by using Chi-Square, Multivariate Analysis of Variance, and Spearman Correlation with the statistical significance of 0.05. And, sixteen Thai teenagers participated in the in-depth interview. The results are as follows: 1. Family income of the participants was significantly correlated with their self-perceived family communication patterns. 2. Thai teenagers in Bangkok Metropolitan interacted in different family communication patterns will adopt different lifestyle at the statistical significance, wherein pluralistic participants and consensual participants will adopt activity lover lifestyle and politic lover lifestyle, significantly different from laissez-faire and protective participants and pluralistic and consensual participants will adopt new generation lifestyle significantly different from laissez-faire participants. Pluralistic participants will adopt health lover lifestyle, significantly different from laissez-faire participants. Consensual participants will adopt health lover lifestyle, significantly different from laissez-faire and protective participants. And, consensual participants will adopt custom lifestyle, significantly different laissez-faire participants, and consensual participants will adopt the entertainment lover life, significantly different from laissez-faire and protective teenagers. 3. Thai teenagers with different attachment style will adopt different lifestyle at the statistical significance. Secured participants and preoccupied participants will adopt activity lover, politic lover, and altruistic lover lifestyles, significantly different from dismissing and fearful participants. Preoccupied teenagers will adopt new generation lifestyle, significantly different from secured, dismissing, and fearful participants, and these preoccupied participants will adopt health lover lifestyle, significantly different from dismissing and fearful participants. 4. Thai teenagers’ self-perceived family communication patterns are significantly correlated with their attachment styles. 5. Thai teenagers in Bangkok Metropolitan engaging in different family communication patterns will exhibit significantly different game addition behavior. 6. Thai teenagers’ social networking behavior is positively correlated with their game addition behavior. In addition, the results of in-depth interview also revealed that occupation of father and occupation of mother are influential factor shaping their family communication patterns, and their significant ones or family communication patterns are influential factor shaping their social networking behavior in respect to the time spent and frequency in their social networking.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2556
Advisor(s): พัชราภรณ์ เกษะประกร
ธนวุฒิ นัยโกวิท
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1002
Appears in Collections:Theses
Theses

Files in This Item:

File Description SizeFormat
chulalak.prac.pdf15.72 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback