DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/988

Title: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้ออาหารฟาสต์ฟู้ดของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Factors Influencing Fast Food’s Purchase Intention of Consumers in Bangkok
Authors: กนกวรรณ แสงรัตนชัยกุล
Keywords: การบริโภคอาหารฟาสต์ฟู้ดตามความพึงพอใจ
ความพึงพอใจต่อการบริโภคอาหารฟาสต์ฟู้ด
ความไม่เข้มงวดในการบริโภคอาหารฟาสต์ฟู้ด
ความตั้งใจซื้ออาหารฟาสต์ฟู้ด
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และอิทธิพลของด้านความสะดวกสบาย ด้านความสำนึกทางสังคม ด้านพฤติกรรมความจงรักภักดี ด้านความพึงพอใจด้านสินค้า ด้านความพึงพอใจด้านการทำรายการ ด้านความไม่ฝืนใจในการบริโภค ที่มีต่อความตั้งใจซื้ออาหารฟาสต์ฟู้ด ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้เป็น การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม จำนวน 300 ชุด จากผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครที่บริโภคอาหารฟาสต์ฟู้ด และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ซึ่งประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product-moment Correlation Coefficient) และวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis: MRA) ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้ออาหารฟาสต์ฟู้ดของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร คือ ด้านความพึงพอใจด้านสินค้า (β = 0.396**) ด้านความสะดวกสบาย (β= 0.263**) ด้านพฤติกรรมความจงรักภักดี (β = 0.221**) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 ส่วนด้านความสำนึกทางสังคม ด้านความพึงพอใจด้านการทำรายการ และด้านความไม่ฝืนใจในการบริโภค ไม่มีอำนาจพยากรณ์ต่อความตั้งใจซื้ออาหารฟาสต์ฟู้ด (Purchase Intention)
The researcher attempted to formulate an analytical model for studying the relationships and the influence of factors affecting purchase intention of fast-food consumers in Bangkok. The author surveyed 300 fast-food consumers in Bangkok. The data analyzed using descriptive statistical tools such as means, modes, percentiles, and standard deviations. Testing of the hypothesis were done through Pearson Product-moment Correlation Coefficient and Multiple Regression Analysis: MRA. The researcher also found that the following factors were tested to be related to fast-food’s purchase intention at .01 level of significance: Product-Based Satisfaction (β = 0.396**), Convenience (β= 0.263**) and Behavioral Loyalty (β = 0.221**). The remaining factors engaged in this research, Social Conscience, Transaction-Based Satisfaction and Unconstrained Eating, were not found to be significant related to fast-food’s purchase intention.
Description: การค้นคว้าอิสระ (บธ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2556
Advisor(s): เพ็ญจิรา คันธวงศ์
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/988
Appears in Collections:Independent Studies - Master
Independent Studies

Files in This Item:

File Description SizeFormat
kanokwan_saen.pdf2.01 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback