DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Cluster of New Media & Design >
School of Communication Arts >
Master Degree >
Independent Studies >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/698

Title: ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้และต่อยอดความคิคสร้างสรรค์ด้านสื่อบันเทิงไทย
Authors: อิทธิพงษ์ ตันติยาภรณ์
Keywords: ธุรกิจบันเทิง
Issue Date: 2553
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างก้าวกระโดดในปัจจุบันได้ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของคนในสังคมเป็นอย่างมาก อุตสาหกรรรมบันเทิงก็ได้รับผลอันเกิดจากการพัฒนาของเทคโนโลยีเช่นกัน ซึ่งมีทั้งผลบวกและผลลบ ผลบวกคือต้นทุนในด้านการสร้างสรรค์ผลงานสื่อบันเทิงลดลง ทำให้คนทั่วไปสามารถสร้างสรรค์สื่อบันเทิงโดยใช้งบประมาณที่ไม่สูงนัก ส่วนผลเสียคือการล้ำหน้าของเทคโนโลยีทำให้เกิดการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้ผลิตผลงานสูญเสียรายได้จากการสร้างสรรค์งานไปเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้นักสร้างสรรค์ขาดกำลังในการสร้างสรรค์งานที่มีคุณภาพออกสู่สาธารณะ ด้วยเหตุข้างต้นจำทำให้สื่อบันเทิงในอุตสาหกรรมเกิดการชะงักงัน ขณะที่อุตสาหกรรมบันเทิงของไทยคงอยู่กับที่ ประเทศเกาหลีใต้ได้ให้ความสำคัญในการใช้สื่อบันเทิงในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ด้วยการจัดตั้งองค์กรที่เข้ามาบริหารด้านการส่งเสริมการพัฒนาสื่อบันเทิงเกาหลีที่มีชื่อว่า Korean Creative Contents Agency หรือ KOCCA หลังจากที่ KOCCA ก่อตั้งขึ้นโดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล ผู้ประกอบวิชาชีพในอุตสาหกรรมบันเทิงภายใน 5 ปี ประเทศเกาหลีใต้สามารถนำเม็ดเงินเข้าสู่ประเทศด้วยการขายสื่อบันเทิง ภาคการท่องเที่ยวถือว่าสร้างประเทศเกาหลีใต้ให้เป็นมหาอำนาจด้านสื่อบันเทิงแห่งหนึ่งของโลก ขณะที่อุตสาหกรรมบันเทิงไทยผลิตสื่อบันเทิงเพื่อบริโภคในประเทศ ทั้งที่ประเทศไทยมีวัฒนธรรม ประเพณี และเอกลักษณ์ที่ชื่นชมของชาวต่างชาติหลายอย่าง อาทิ อาหารไทย รอยยิ้มของคนไทย กีฬามวยไทย สถานที่ท่องเที่ยว เป็นต้น สาเหตุที่สื่อบันเทิงไทยไม่สามารถแข่งขันในระดับสากลได้มีสาเหตุมาจากอุตสาหกรรมบันเทิงไทยขาดองค์การที่ทำการบริหารจัดการสิ่งที่มีคุณค่าเหล่านี้ ดังนั้นการจัดตั้งโครงการศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ต่อยอดความคิดสร้างสรรค์ด้านสื่อบันเทิงไทย (Thailand Entertainment Creative Space and Agency หรือ TECSA) ขึ้นเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ เป็นพื้นที่ต่อยอดความคิดสร้างสรรค์ เป็นสถานที่พบปะแลกเปลี่ยนบุคลากรในสายงานบันเทิง เพื่อให้เกิดผลงานสื่อบันเทิงในอุตสาหกรรมบันเทิงไทยให้มีเอกลักษณ์และเป็นที่ต้องการของตลาดโลก เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศไทยโดยใช้สื่อบันเทิงเป็นเครื่องมือนำร่อง เพื่อพัฒนาชื่อเสียงของประเทศไทยที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคต
Description: การศึกษาเฉพาะบุคคล (นศ.ม.)--สาขาวิชาการบริหารธุรกิจบันเทิงและการผลิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2553
Subjects: ธุรกิจบันเทิง--การจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
Advisor(s): พิเศษ จียาศักดิ์
URI: http://dspace2.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/698
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
ittipong_tunt.pdf4.86 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback