DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Cluster of New Media & Design >
School of Communication Arts >
Master Degree >
Independent Studies >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/658

Title: กลยุทธ์การสร้างสรรค์บทละครซิทคอมอันเป็นเอกลักษณ์ของบริษัท ซีนาริโอ จำกัด
Authors: วิสสุดา จิตไตรเลิศ
Keywords: บทละครซิทคอม
ละครซิทคอม
ละครซิทคอมซีนาริโอ
การเขียนบทละคร
Issue Date: 2554
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การศึกษาเรื่อง กลยุทธ์การสร้างสรรค์บทละครซิทคอมอันเป็นเอกลักษณ์ของบริษัท ซีนาริโอ จำกัด ซึ่งละครซิทคอมจัดได้ว่าเป็นละครอีกประเภทหนึ่งที่สร้างความบันเทิงและได้รับความนิยมในการดูละครของสังคมไทย โดยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อศึกษากลยุทธ์ในการสร้างสรรค์บทละครซิทคอม ของบริษัท ซีนาริโอ จำกัด โดยผู้ชมสามารถรับรู้ได้ว่าละครซิทคอมเรื่องใดคือละครของบริษัท ซีนาริโอ จำกัด การศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) กับทีมเขียนบทละครซิทคอมเรื่องผู้กองเจ้าเสน่ห์ เป็นต่อ และบ้านนี้มีรัก จำกัด ผ่านการ สัมภาษณ์แบบเจาะลึก (Depth Interview) ร่วมกับการวิจัยเชิงวิเคราะห์เนื้อหา (Textual Analysis) ผลการวิจัยพบว่า กลยุทธ์ในการสร้างสรรค์บทละครซิทคอมของบริษัท ซีนาริโอ จำกัด ทีมเขียนบทได้กล่าวถึงแนวความคิดเกี่ยวกับละครซิทคอม หรือละครตลกสถานการณ์ เกิดจากการจำลองสถานการณ์มาจากเรื่องราวที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ทั้งจากเรื่องราวใกล้ตัว หรือเหตุการณ์ฉุกเฉินของบ้านเมือง ซึ่งความตลกจากสถานการณ์ หรือเหตุการณ์ความวุ่นวายที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรมของตัวละคร หรือสิ่งแวดล้อมภายนอกส่งผลกระทบหรือจากคนใกล้ตัว ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว กลุ่มเพื่อน เพื่อนร่วมงาน เพื่อนบ้าน เป็นต้น ทำให้ตัวละครได้รับความเดือดร้อนรูปแบบการดำเนินเรื่องของละครซิทคอม จึงมักแบ่งออกเป็นการเล่าเรื่องแบบ 2 สถานการณ์ เป็นโครงเรื่องของสถานการณ์หลัก (Main Plot) กับโครงเรื่องของสถานการณ์รอง (Sub Plot) แต่ทั้งนี้หากการดำเนินเรื่องสามารถกระจายการเล่าเรื่องของตัวละครออกไปในแต่ละสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม ละครซิทคอมบางตอนจึงไม่จำเป็นต้องแบ่งโครงเรื่องเป็น 2 สถานการณ์ การลำดับสถานการณ์ จึงเริ่มต้นจากสาเหตุของสถานการณ์ขัดแย้ง หรือปมปัญหาจากการกระทำของตัวละครขึ้น แล้วขยายความรุนแรงของสถานการณ์จนนำมาสู่จุดสูงสุดของเรื่อง (Climax) ก่อนที่จะคลี่คลายสถานการณ์ลงในตอนท้าย โดยมีการเกริ่นนำ (Prologue) มาสู่จุดขัดแย้ง (Conflict) อันเป็นเหตุให้เกิดการขยายสถานการณ์ไปสู่จุดคับขันของสถานการณ์ หรือจุดสูงสุดของเรื่อง (Climax) แล้วจึงคลี่คลายสถานการณ์ลง ซึ่งโครงเรื่องละครซิทคอมทั้ง 3 เรื่องนั้น มีความแตกต่างกันไปตามรูปแบบของเรื่อง คือ ผู้กองเจ้าเสน่ห์ โครงเรื่องจะเป็นการดำเนินสถานการณ์เกี่ยวกับการทำคดี หรือเรื่องราวการทำงานภายในสถานีตารวจ เป็นต่อจะมีโครงเรื่องหลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นเรื่องการทำงาน เพื่อน ความรัก ครอบครัว ส่วนบ้านนี้มีรัก โครงเรื่องเกี่ยวกับเรื่องราวของสมาชิกภายในครอบครัว ละครซิทคอมของบริษัท ซีนาริโอ จำกัด จะเป็นความตลกอย่างมีเหตุผลกับในการดำเนินเรื่อง สอดคล้องกับพฤติกรรม บุคลิกของตัวละครกับสถานการณ์นั้นๆ โดยละครทั้ง 3 เรื่อง ต่างก็มีประเด็นหรือจุดเน้นในการเล่าเรื่องแตกต่างกัน รูปแบบละครตลอดจนการสื่อสารสามารถบอกถึงกลุ่มเป้าหมายของเรื่องได้ ซึ่งละครแต่ละตอนนั้นจะยังคงโครงเรื่องหลักให้ตรงกับผู้ชม กลุ่มเป้าหมายโครงเรื่องและความสัมพันธ์ของตัวละคร ละครซิทคอมทั้ง 3 เรื่อง มีความแตกต่างกันออกไปอย่างชัดเจน ได้แก่ ผู้กองเจ้าเสน่ห์ เน้นความสัมพันธ์เชิงหน้าที่การงานของตำรวจต่อการปฏิบัติหน้าที่ เป็นต่อ เน้นความสัมพันธ์เชิงหน้าที่การงาน ครอบครัว เพื่อน และความรัก บ้านนี้มีรัก เน้นความสัมพันธ์เชิงครอบครัว เอกลักษณ์ละครซิทคอมของบริษัท ซีนาริโอ การสื่อสารแบบละครตลกสะท้อนสังคม (Social Comedy) เน้นการแฝงข้อคิดให้กับผู้ชม ผู้ชมละครได้ทั้งสาระ ความบันเทิง ความตลก ในคราวเดียวกันอีกทั้งองค์ประกอบในบทละคร ทุกส่วนของรายละเอียดในการเขียนบทจะต้องมีเหตุผลความเป็นมาที่ชัดเจน หรือการอ้างอิงข้อมูลเฉพาะทางได้ ทีมเขียนบทจึงต้องมีการค้นคว้าข้อมูลจริงจากแหล่งต่างๆ เพื่อความถูกต้องของเนื้อหาในบทละคร และป้องกันช่องว่างของบทละครดังกล่าว
Description: การศึกษาเฉพาะบุคคล (นศ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2554
Subjects: บริษัทซีเนริโอ--การศึกษาเฉพาะกรณี
บทละครไทย--การศึกษาเฉพาะกรณี
Advisor(s): อริชัย อรรคอุดม
URI: http://dspace2.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/658
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
wissuda_jitt.pdf4.8 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback