DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Cluster of New Media & Design >
School of Communication Arts >
Master Degree >
Independent Studies >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/618

Title: ลำดับการเกิดของเด็กและการยอมรับการสื่อสารเพื่อโน้มน้าวใจ
Authors: ณัฎฐา อุ่ยมานะชัย
Keywords: การเกิดของเด็ก
การโน้มน้าวใจ
ลำดับการเกิด
บุคลิกภาพ
Issue Date: 2552
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยเรื่อง “ลำดับการเกิดของเด็กและการยอมรับการสื่อสารเพื่อโน้มน้าวใจ” มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลำดับการเกิดกับลักษณะบุคลิกภาพของเด็กในเขต กรุงเทพมหานคร ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลำดับการเกิดของเด็กกับการยอมรับการสื่อสารเพื่อการ โน้มน้าวใจ รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะบุคลิกภาพแบบต่างๆ กับการยอมรับการสื่อสารเพื่อ การโน้มน้าวใจของเด็ก การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) สุ่มตัวอย่างจากเด็กที่ มีอายุ 13 – 18 ปี ที่มีลำดับการเกิดใดลำดับการเกิดหนึ่ง อันได้แก่ ลูกคนโต ลูกคนกลาง หรือลูกคนเล็ก ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 405 คน ด้วยการใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็น เครื่องมือในการเก็บรวมรวมข้อมูล และดำเนินการสุ่มตัวอย่างแบบอาศัยความน่าจะเป็น (Probability Sampling) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และนำเสนอด้วยตารางประกอบการแปลความหมาย เชิงอธิบาย และใช้สถิติเชิงอนุมานเพื่อทดสอบสมมติฐานด้วย เปรียบเทียบวิธีแสดงตารางการณ์จร (Contingency table) และทำการทดสอบไคกำลังสอง (Chi-Square Tests) ซึ่งในกรณีที่ผู้วิจัยพบว่ามี ความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญ โดยประมวลผลโดยใช้โปรแกรม SPSS / PC+ เพื่อคำนวณหา ค่าสถิติต่างๆ ที่ใช้ในการทำวิจัยครั้งนี้ โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 จากการผลการวิจัยพบว่า ลำดับการเกิดมีความสัมพันธ์กับลักษณะบุคลิกภาพของเด็ก ซึ่งอาจ กล่าวได้ว่าตัวแปรลำดับการเกิด และบุคลิกภาพมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญ โดยลูกคนโต มี ความสัมพันธ์กับโครงสร้างบุคลิกภาพแบบยกย่องในตนเอง (Self-Esteem) ส่วนลูกคนกลางมี ความสัมพันธ์กับบุคลิกภาพแบบกังวลใจ (Anxiety) บุคลิกภาพแบบยึดมั่นในความเห็นตนเอง (Dogmatism) บุคลิกภาพแบบต้องการสัมฤทธิผล (The need for achievement) และลูกคนเล็ก ความสัมพันธ์กับโครงสร้างบุคลิกภาพแบบเชื่อฟังผู้มีอำนาจ (Authoritarianism)จากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลำดับการเกิดของเด็กกับการสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ พบว่า ลำดับการเกิดไม่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับการสื่อสารเพื่อโน้มน้าวใจ และจากการศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะบุคลิกภาพของเด็กกับการสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ พบว่า ลักษณะ บุคลิกภาพไม่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับต่อการสื่อสารเพื่อโน้มน้าวใจ
Description: การศึกษาเฉพาะบุคคล (นศ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2552
Subjects: บุคลิกภาพในเด็ก--วิจัย
การรับรู้ในเด็ก--ไทย--กรุงเทพฯ--วิจัย
ความสามารถในการสื่อสาร--ไทย--กรุงเทพฯ--วิจัย
Advisor(s): พงษ์ วิเศษสังข์
URI: http://dspace2.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/618
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
nattha_auim.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback