DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Cluster of New Media & Design >
School of Communication Arts >
Master Degree >
Independent Studies >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/592

Title: การเปิดรับโฆษณา และทัศนคติที่มีต่อการโฆษณาสินค้าผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ของกลุ่มคนทำงานอายุระหว่าง 22-55 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร
Authors: สปันนา สังข์สุวรรณ
Keywords: โฆษณาสินค้า
โทรศัพท์เคลื่อนที่
โทรศัพท์มือถือ
เปิดรับโฆษณา
โฆษณา
SMS
EMS
MMS
Issue Date: 2552
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษา “การเปิดรับโฆษณา และทัศนคติที่มีต่อการโฆษณาสินค้าผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ของกลุ่มคนทำงานอายุระหว่าง 22-55 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร” มีวัตถุประสงค์การศึกษาเพื่อศึกษาพฤติกรรมของกลุ่มคนทำงานในการเปิดรับโฆษณาผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ และเพื่อศึกษาทัศนคติของกลุ่มคนทำงานที่มีต่อการโฆษณาสินค้าผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ใช้การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถาม จำนวน 200 ชุด และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (Depth Interview) กับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 10 คน ซึ่งมีผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผลการทดสอบความแตกต่างระหว่างลักษณะทางประชากรของกลุ่มคนทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร อันได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ กับการเปิดรับโฆษณาผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ในรูปแบบ SMS, EMS และ MMS พบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้ชายและผู้หญิง กลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการศึกษาต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่มีอาชีพต่างกัน และกลุ่มตัวอย่างที่มีรายได้ต่างกัน ได้รับข้อความโฆษณาผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ไม่แตกต่างกัน แต่กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุต่างกันได้รับข้อความโฆษณาสินค้าผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่แตกต่างกัน เมื่อกลุ่มตัวอย่างได้รับข้อความโฆษณาสินค้าผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่แล้ว ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้ชายและหญิง เปิดรับโฆษณาผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่แตกต่างกัน แต่กลุ่มที่มีอายุต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการศึกษาต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่มีอาชีพต่างกัน และกลุ่มตัวอย่างที่มีรายได้ต่างกัน เปิดรับโฆษณาผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ไม่แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างผู้ชายและผู้หญิง กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการศึกษาต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่มีรายได้ต่างกัน เปิดอ่านข้อความโฆษณาผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ในทันที ไม่แตกต่างกัน แต่กลุ่มตัวอย่างที่มีอาชีพต่างกัน มีการเปิดอ่านข้อความโฆษณาผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ในทันที แตกต่างกันกลุ่มตัวอย่างผู้ชายและผู้หญิง กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการศึกษาต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่มีอาชีพต่างกัน และกลุ่มตัวอย่างที่มีรายได้ต่างกัน ได้รับข้อความโฆษณาผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยมีจานวนความถี่ในแต่ละวันไม่แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างผู้ชายและผู้หญิง กลุ่มตัวอย่างที่มีรายได้ต่างกัน ได้รับข้อความโฆษณาผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน แต่กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการศึกษาต่างกัน และกลุ่มตัวอย่างที่มีอาชีพต่างกัน ได้รับข้อความโฆษณาผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ในช่วงเวลาที่ไม่แตกต่างกัน 2. ผลการทดสอบทดสอบความแตกต่างระหว่างลักษณะทางประชากรของกลุ่มคนทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร อันได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้กับทัศนคติต่อการโฆษณาสินค้าผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ในรูปแบบ SMS, EMS และ MMS พบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้ชายและผู้หญิง และกลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีทัศนคติต่อการโฆษณาสินค้าผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่แตกต่างกัน แต่กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุที่ต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่มีอาชีพต่างกัน และกลุ่มตัวอย่างที่มีรายได้ต่างกัน มีทัศนคติต่อการโฆษณาสินค้าผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ไม่แตกต่างกัน
Description: การศึกษาเฉพาะบุคคล (นศ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2552
Subjects: โฆษณาทางโทรศัพท์เคลื่อนที่--ไทย--กรุงเทพฯ--วิจัย
โฆษณาทางโทรศัพท์เคลื่อนที่--ไทย--กรุงเทพฯ--การศึกษาเฉพาะกรณี
บริการส่งข้อความทางโทรศัพท์เคลื่อนที่--ไทย--กรุงเทพฯ--วิจัย
โฆษณา--ไทย--กรุงเทพฯ--วิจัย
Advisor(s): รสชงพร โกมลเสวิน
URI: http://dspace2.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/592
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
spanna_sang.pdf2.35 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback