DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Cluster of New Media & Design >
School of Communication Arts >
Master Degree >
Independent Studies >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/4545

Title: โครงการจัดตั้งสื่อการศึกษาด้านนาฏยศิลป์และศิลปะการแสดง บริษัท นาฏย นวัตการ จำกัด
Other Titles: A project to establish a company for Thai performing-arts innovative media: Nataya Nawatakarn Co. Ltd.
Authors: จรูญศักดิ์ สุขวัฒโน
Keywords: สื่อการศึกษาด้านนาฏยศิลป์
นาฏยธุรกิจ
นาฏยภัณฑ์
ศิลปะการแสดง -- การสอนด้วยสื่อ -- วิจัย
นาฏศิลป์ -- การสอนด้วยสื่อ -- วิจัย
การวางแผนธุรกิจ -- วิจัย
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ -- สารนิพนธ์
Issue Date: 2552
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: บทบาทของสื่อการศึกษาด้านนาฏยศิลป์ มีความสำคัญต่อการพัฒนาความสามารถ ของครูผู้สอนในสถานศึกษา โดยเฉพาะระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ยังขาดแคลนครูผู้สอนที่มี ความสามารถทางนาฏยศิลป์โดยตรงมาทำการสอน หรือแม้แต่ผู้สอนที่มีความสามารถทาง นาฏยศิลป์ ก็อาจจะยังคงมีความต้องการใช้สื่อเพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ และสร้างความน่าสนใจ ให้กับผู้เรียน อุปสรรคอีกประการหนึ่งของการสอนนาฏยศิลป์ในโรงเรียน คือการขาดแคลนเครื่อง แต่งกาย อุปกรณ์การแสดง และโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงออก เพื่อเป็นแรงจูงใจ ปัญหาภาระของ ครูผู้สอนนาฏยศิลป์จึงเป็นโอกาสทางธุรกิจที่น่าสนใจศึกษา ในด้านความเป็นไปได้ในการ ประกอบธุรกิจ ได้แก่ 1) การผลิตและจำหน่ายสื่อการศึกษาด้านนาฏยศิลป์ และศิลปะการแสดง 2) การขายลิขสิทธิ์รายการนาฏยบันเทิง สำหรับการส่งกระจายเสียงและภาพ 3) การรับจัดแสดง นาฎยศิลป์ 4) การจำหน่าย นาฏยภัณฑ์และอุปกรณ์การแสดง 5) การให้บริการนาฏยธุรกิจ โดยผ่าน ระบบอินเตอร์เน็ต ดังนั้นในการศึกษาครั้งนี้ จึงเริ่มต้นด้วยการศึกษาความเป็นไปได้เชิงธุรกิจและความ ต้องการของผู้ใช้ก่อนการออกแบบองค์กรโดยใช้การเก็บข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง จากการสัมภาษณ์ ผู้เชี่ยวชาญในด้านวิชาการนาฏยศิลป์และผู้ที่เกี่ยวข้องกับสื่อการศึกษา จำนวน 4 คน และการเก็บ ข้อมูลจากครูผู้สอนนาฏยศิลป์ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสถานศึกษาเอกชนประเภทสามัญศึกษา จำนวน 400 คน โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่าง (Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) โดยส่งทางไปรษณีย์ จำนวน 400 ชุด มีผู้ตอบแบบสอบถามกลับมา 111 ชุด คิดเป็นร้อยละ 27.75 ข้อมูลจาก แบบสอบถามใช้การวิเคราะห์เชิงปริมาณ (Quantitative Research) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย เพื่อหาตัวแปรต่างๆ ส่วนการเก็บข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญใช้วิธีการสัมภาษณ์ โดยใช้ การวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ผู้เชี่ยวชาญด้านนาฏยศิลป์ไทยและครูผู้สอนนาฏยศิลป์ใน สถานศึกษา ต่างเห็นพ้องกันว่ามีความเป็นไปได้ในการประกอบธุรกิจ การผลิตและจำหน่าย สื่อการศึกษาด้านนาฏยศิลป์ และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง อันเป็นผลมาจากการวิเคราะห์ประเด็นหลัก 4 ประการ คือ 1) จากความเป็นไปได้ทางด้านการตลาด ที่ยังมีอุปสงค์ในปริมาณสูง ขนาดของตลาดมี ปริมาณมากพอและชัดเจน 2) มีความเป็นไปได้ทางด้านเทคนิคในการผลิต จากศักยภาพขององค์กร ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน 3) มีความเป็นไปได้ทางด้านการบริหารจัดการองค์กรภายใน และการ จัดการกับปัจจัยภายนอก และ 4) จากความเป็นไปได้ทางด้านการเงิน และความคุ้มค่าในการลงทุน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ
Instructional materials play an important role in teaching performing arts and in enhancing teachers’ abilities. Many schools under the National Basic Education Committee still lack professional performing arts instructors. In addition, even professional ones still need some teaching media to broaden their teaching experiences and to help attract their students. The other problem in teaching performing arts in educational institutions is the lack of proper costumes, accessories and stage properties. The above-mentioned problems of performing arts instructors bring about business opportunities of which feasibility studies needed to be performed. The purpose of this individual study project is to design a company to serve educational institutions. The project begins with a feasibility study to investigate the way this company can best serve them. The aims of the company are to 1) produce and distribute instructional materials for teaching various kinds of Thai performing arts; 2) sell the rights for broadcasting images and sounds of various performing arts programs; 3) organize several kinds of stage performances; 4) provide costumes, accessories, and other stage properties and instruments necessary for stage performances; and, 5) provide other related services needed in performing arts business via the Internet. Two data collection methods were implemented. A set of questions were used to interview four academic experts involved in Thai performing arts; and, a set of quantitative questionnaires were posted to 400 performing arts instructors in government and private schools under the National Basic Education Committee. The respondents were selected with the random sampling method. 111 questionnaires or 27.75% were returned. The data from the two sets of samples were collected, analyzed, and interpreted mathematically and descriptively. The results of the data collection showed that: The opportunity in establishing a company specializing in providing performing arts services as planned is highly promising. This resulted from the analyses of four main components. First, considerable marketing demand both in terms of the market size and demand clarity does exist. Second, from the existing production technology, the company is in a position to create and produce demanded instructional materials. Third, it is likely that the company is capable of managing and orchestrating both internal and external factors. Lastly, there is high financial return possibility, and it is worth investing in this project to attain the project goals as planned.
Description: การศึกษาเฉพาะบุคคล (นศ.ม.)--สาขาวิชาการบริหารธุรกิจบันเทิงและการผลิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2552
Advisor(s): เฉลิมศรี จันทสิงห์
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/4545
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
charoonsak_suka.pdf13.81 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback