DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3177

Title: ลักษณะของข่าวปลอมในประเทศไทยและระดับความรู้เท่าทันข่าวปลอมบนเฟซบุ๊กของผู้รับสารในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: The Analysis of Fake News and The Level of Media Literacy of Users in Bangkok
Authors: นันทิกา หนูสม
Keywords: เฟซบุ๊ก
ข่าวปลอม
ความรู้เท่าทันสื่อ
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของข่าวปลอมในประเทศไทยและระดับความรู้เท่าทันข่าวปลอมบนเฟซบุ๊กของผู้รับสารในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ เริ่มด้วยวิธีการเก็บข้อมูลจำนวนข่าวปลอมที่พบบนเฟซบุ๊ก แล้วมาจำแนกประเภทและรูปแบบเนื้อหาของข่าวปลอม จากนั้นนำข่าวปลอมที่ได้มาวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยละเอียด และการสํารวจระดับความรู้เท่าทันข่าวปลอมของผู้รับสารในเขตกรุงเทพมหานคร และสิ่งที่ทำให้ผู้รับสารหลงเชื่อข่าวปลอมบนเฟซบุ๊ก ด้วยแบบสอบถามออนไลน์จำนวน 400 ชุด ผลการวิจัยพบว่า 1) ประเภทของข่าวปลอมที่พบมากที่สุดในระหว่างการเก็บข้อมูลคือ ข่าวปลอมที่ถูกสร้างขึ้นอย่างสมบูรณ์ (Bogus) และรูปแบบเนื้อหาของข่าวปลอมที่พบมากที่สุดคือ เนื้อหาที่ประดิษฐ์ขึ้น (Fabricated Content) โดยมีเจตนาในการสร้างขึ้นมาเพื่อให้เป็นข่าวปลอมที่สมบูรณ์ แนบเนียนที่สุด มีเนื้อหาที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ทั้งหมด ทั้งภาพ พาดหัวข่าว เนื้อหา และข้อมูลที่ปรากฏในข่าว สร้างขึ้นมาเป็นข่าวปลอมทั้งสิ้น วิธีการสร้างข่าวปลอมแบบสมบูรณ์เหล่านี้เป็นวิธีที่พัฒนามาจากเว็บข่าวปลอมแบบคลิกเบท เนื่องจากผู้อ่านเริ่มที่จะรู้เท่าทันข่าวแบบคลิกเบท ผู้นำเสนอข่าวปลอมจึงมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการนำเสนอเพื่อให้ผู้อ่านไม่สามารถรู้เท่าทันได้ 2) ระดับความรู้เท่าทันข่าวปลอมของผู้รับสารในเขตกรุงเทพมหานครมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง โดยกลุ่มตัวอย่างมีความรู้เท่าทันสื่อในระดับการเข้าถึงสื่อ การวิเคราะห์สื่อ และการประเมินสื่อในระดับมาก ส่วนในระดับการสร้างสรรค์สื่อนั้นมีความรู้เท่าทันสื่อในระดับน้อยที่สุด 3) ส่วนประกอบของข่าวที่ทำให้กลุ่มตัวอย่างที่เชื่อถือในระดับมาก คือข่าวที่มีแหล่งข่าวเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง ส่วนองค์ประกอบอื่นๆ บนสื่อสังคมออนไลน์ที่ทำให้เชื่อถือข่าวนั้นในระดับมาก เพราะเป็นข่าวที่ถูกนำเสนอบนหน้านิวส์ฟีดของเฟซบุ๊กบ่อยๆ และผู้รับสารเชื่อข่าวที่สามารถหาเหตุผลมาสนับสนุนความเชื่อของตนเองได้เสมอ
This study aimed to study fake news and the level of media literacy of fake news on facebook of the receiver in Bangkok. It started with quanitative research by analyzing the content of fake news found on the social network of 30 stories then the classification and content of the fake news. The quantitative research was to survey the level of seeing through a trick of the recipient in Bangkok and factors that made the audience believe in fake news with 400 online questionnaires. The results of the research were as follows: 1) fake news which was mostly found was bogus, the most found of content was fabricate content. The intent was to create a complete fake news all content was freshly invented, including images, headlines, content and information appearing in the news. This method of creating complete fake news was a method developed from a click bait because the recipients were seeing through a trick of click bait. Fake news presenter has changed the presentation format in order to make readers cannot know the trick. 2) The level of media literacy of the receiver in Bangkok was at middle level considering each level, Access, Analyze, and Evaluate were at a high level. All three skills were essential skills for the media consumers, at the level of creativity; the media had the lowest level of creativity in the media. 3) It was found that the composition of the news that made the sample very trustworthy was the news that celebrity sources were famous. The other factors that made the news reliable, for high level was the news often presented on the facebook’s news feed and news that readers could always find reasons to support their beliefs.
Description: การค้นคว้าอิสระ (นศ.ม.) -- สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2560
Subjects: ข่าวปลอม
สื่อสังคมออนไลน์
เครือข่ายสังคมออนไลน์
การรู้เท่าทันสื่อ
การรู้เท่าทันสื่ออินเทอร์เน็ต
Advisor(s): วิโรจน์ สุทธิสีมา
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3177
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
nuntika_noos.pdf6.09 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback