DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3128

Title: การเลือกประเด็นบทบาทหน้าที่และจริยธรรมของสื่อมวลชน ในยุคดิจิทัลประเภทรายการข่าวโทรทัศน์
Other Titles: News selection, media roles, and media ethics in the light of digital television news in Thailand
Authors: สุภาวดี หมื่นเจริญ
Keywords: บทบาทสื่อ
จริยธรรมของสื่อมวลชน
ยุคดิจิทัล
ข่าวโทรทัศน์
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเลือกประเด็น บทบาทหน้าที่และจริยธรรมของสื่อมวลชนในยุคดิจิทัลประเภทรายการข่าวโทรทัศน์ ผู้วิจัยได้ศึกษาจากผู้ให้ข้อมูล โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้บริหาร ผู้กำหนดนโยบาย ผู้ปฏิบัติงาน รวมถึงผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมโทรทัศน์ จำนวน 3 องค์กร ประกอบด้วย องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 และไทยรัฐทีวี โดยการศึกษา พบว่า สื่อมวลชนต้องคำนึงถึงความต้องการของผู้บริโภคเป็นหลัก และต้องให้ความสำคัญกับประเด็นที่เกิดขึ้นบนสื่อสังคมออนไลน์ เพราะในยุคดิจิทัลประชาชนสามารถใช้ช่องทางโซเชียลมีเดีย ในการจุดกระแสให้เกิดขึ้นโดยไม่ได้จำกัดแค่สื่อกระแสหลักอีกต่อไป ซึ่งแต่ละองค์กรมีความเหมือนและความแตกต่างกัน ความเหมือนกันคือกระบวนการคัดเลือกประเด็นข่าว แต่จะมีความแตกต่างกัน ในเรื่องของสัดส่วนการนำเสนอประเด็นข่าวที่เกิดขึ้นบนสื่อสังคมออนไลน์ และทั้งสามองค์กรมีความเหมือนกันในเรื่องบทบาทหน้าที่สื่อมวลชนในยุคดิจิทัล ที่ต้องยึดหลักการตรวจสอบข้อเท็จจริงในทุก ๆ มิติอย่างรอบด้าน พิจารณาข้อมูลที่ได้จาก สื่อสังคมออนไลน์ด้วยความรอบคอบ โดยสื่อมวลชนจะต้องปรับตัวให้เหมาะสมกับยุคดิจิทัลต้องพัฒนาศักยภาพบุคคลากรให้มีความรู้ความสามารถ และทักษะเกี่ยวกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์ เพื่อนำประโยชน์ของดิจิทัลมาช่วยในการนำเสนอข่าวสารไปยังผู้บริโภค ให้สอดรับกับพฤติกรรมผู้บริโภค ผลการศึกษายังพบว่า ทั้งสามองค์กรมีความแตกต่างกัน คือข้อบังคับหลักจริยธรรม ซึ่งองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย ยึดหลักพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551 ส่วนสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 และไทยรัฐทีวี ได้ยึดกรอบจริยธรรมสื่อมวลชน ของสมาคมวิชาชีพสื่อมวลชน ที่กำหนดข้อควรปฏิบัติและไม่ควรปฏิบัติ ไว้กว้าง ๆ แต่ต้องคำนึกถึงกฎหมายอาญา กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และกฎหมายเกี่ยวกับสื่อมวลชน ทุกฉบับ
Digitalisation influences media industry and business including news selection, media roles, and media ethics. Shifts in consumer behaviour can be one of the most vital factors. The study, therefore, targeted to examine news selection, media roles, and media ethics in the light of digital television news in Thailand. Semi-structured in-depth interviews were conducted with three key informants from Thai Public Broadcasting Service (Thai PBS),Bangkok Broadcasting Television Channel (Channel 7), and Thairath TV. The results revealed that these three media organisations shared their similarities in news selection by listening more on audience’s voices, media roles by training and skilling mass media persons to be responsible professionals, and media ethics. A few differences were, nonetheless, found, especially in rule and regulations practiced. In other words, whereas Thai PBS took into practice the Act of Thai Public Broadcasting Service, the rest of the digital television channels applied the professional code of ethics and standards of professional conduct into consideration. The ultimate goal of this paper is to encourage media persons to profoundly re-think their professional practices and professional codes of ethics while they are living and transforming themselves into the digital age.
Description: การค้นคว้าอิสระ (นศ.ม.)--สาขาวิชาการสื่อสารการตลาดดิจิทัล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2560
Advisor(s): ปฐมา สตะเวทิน
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3128
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
supavadee.muin.pdf1.17 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback