DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3087

Title: รูปแบบเนื้อหาการสื่อสาร และการตอบสนองในเฟซบุ๊กแฟนเพจของธุรกิจค้าปลีกเฟอร์นิเจอร์ : กรณีศึกษา เฟซบุ๊กแฟนเพจ IKEA Thailand
Other Titles: The Type of Contents and Users Engagement Analysis To Contents Publishing On Facebook Fanpage in Retail Furniture Business : A Case Study of IKEA Thailand Facebook Fanpage
Authors: นภมณฑ์ วังตระกูล
Keywords: รูปแบบเนื้อหา
ปฏิกิริยาตอบกลับ
เฟซบุ๊กแฟนเพจ
IKEA Thailand
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การศึกษาเรื่อง “รูปแบบเนื้อหาการสื่อสาร และการตอบสนองในเฟซบุ๊กแฟนเพจของธุรกิจค้าปลีกเฟอร์นิเจอร์ : กรณีศึกษา เฟซบุ๊กแฟนเพจ IKEA Thailand” ผู้วิจัยแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ส่วนตามวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการนำเสนอเนื้อหาการสื่อสาร บนเฟซบุ๊กแฟนเพจ : IKEA Thailand 2) เพื่อศึกษาปฏิกิริยาตอบกลับของผู้รับสารต่อการนําเสนอเนื้อหาในแต่ละรูปแบบบนเฟซบุ๊กแฟนเพจ : IKEA Thailand ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) โดยใช้เครื่องมือลงรหัสสำหรับการวิเคราะห์เนื้อหา (Coding Sheet) โดยมีระยะเวลาในการศึกษาเป็นเวลา 6 เดือน ซึ่งจะเก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2560 ถึงวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2561 จำนวนทั้งสิ้น 55 โพสต์ ซึ่งในวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 ผู้วิจัยจะแสดงจำนวนแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องซึ่งปรากฏในรูปแบบจำนวนครั้งและร้อยละ ส่วนวัตถุประสงค์การวิจัยในข้อที่ 2 ผู้วิจัยจะแสดงค่าปฏิกิริยาตอบกลับ (Engagement) เฉลี่ยต่อโพสต์ของแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องต่างๆ ผลการศึกษาพบว่า ประเภทเนื้อหาตามวัตถุประสงค์ที่พบมากที่สุด คือ ส่งเสริมและกระตุ้นการซื้อด้วยการแนะนำไอเดียตกแต่งบ้าน ซึ่งเนื้อหาดังกล่าวเป็นไปในทางเดียวกับปฏิกิริยาตอบกลับของผู้รับสาร ซึ่งเป็นปฏิกิริยาตอบกลับแบบ Like , Love , Wow ส่วนรูปแบบเนื้อหาตามแนวคิดเกี่ยวกับการตลาดเชิงเนื้อหา (เทคนิคในการเขียนสร้างเนื้อหา) พบว่ามีความสอดคล้องกันทั้งเรื่องจำนวนและจำนวนค่าเฉลี่ยของปฏิกิริยาตอบกลับ คือ เนื้อหาที่ใช้เทคนิคในการเขียนสร้างเนื้อหาแบบการเขียนนำด้วยลักษณะหรือข้อดีของสินค้า (Feature – Advantage – Benefit) มากที่สุด โดยได้รับปฏิกิริยาตอบกลับแบบ Like , Love ส่วนรูปแบบเนื้อหาประเภทที่เป็น Album content หรือเป็นรูปที่เรียงต่อกันนั้น เป็นรูปแบบเนื้อหาที่ช่วยดึง engagement เป็นเนื้อหาที่มีจำนวนมากที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับจำนวนค่าเฉลี่ย ปฏิกิริยาตอบกลับ เช่นเดียวกัน ซึ่งได้รับปฏิกิริยาตอบกลับประเภท Like , Love , Wow และ Share นอกจากนี้จากผลการศึกษากลยุทธ์การสร้างเนื้อหาตามพฤติกรรมการรับเนื้อหาของกลุ่มเป้าหมาย พบว่ากลยุทธ์การสร้างเนื้อหาตามพฤติกรรมการรับเนื้อหาในช่วงขั้นตอนการค้นพบ (Discovery) ของกลุ่มเป้าหมายมีจำนวนมากที่สุด แต่จำนวนค่าเฉลี่ยของปฏิกิริยาตอบกลับของผู้รับสารต่อกลยุทธ์การสร้างเนื้อหาในขั้นตอนการพิจารณา (Consideration) ของกลุ่มเป้าหมายด้วยการกด Like มากที่สุด เพราะฉะนั้น จากผลการวิจัยทำให้ทราบว่า การสร้างเนื้อหาในเฟซบุ๊กแฟนเพจสำหรับธุรกิจค้าปลีกเฟอร์นิเจอร์นั้น ควรคำนึงถึงการสร้างรูปแบบเนื้อหาที่ผู้บริโภคมีปฏิกิริยาตอบกลับจำนวนสูงสุดเป็นสำคัญ นั่นคือ เน้นเนื้อหาที่ส่งเสริมและกระตุ้นการซื้อด้วยการแนะนำไอเดียตกแต่งบ้าน โดยเป็นเนื้อหาที่ใช้เทคนิคในการเขียนสร้างเนื้อหาแบบการเขียนนำด้วยลักษณะหรือข้อดีของสินค้า (Feature – Advantage – Benefit) ซึ่งรูปแบบการนำเสนอเนื้อหาดังกล่าว ควรเป็นรูปแบบเนื้อหาประเภทที่เป็น Album content หรือรูปภาพที่เรียงต่อกัน และควรใช้กลยุทธ์การสร้างเนื้อหาที่อยู่ในขั้นตอนการพิจารณา (Consideration) ของกลุ่มเป้าหมาย
This research has two principle objectives: 1) To examine the type of contents publishing on IKEA Thailand Facebook Fanpage. 2) To investigate engagement to the contents publishing on IKEA Thailand Facebook Fanpage. The study methodology was quantitative research using coding sheet as a tool for contents analysis. The research data were collected from 55 content posts which were published on IKEA Thailand Facebook Fanpage during September 1, 2017 to March 12, 2018. The study was divided in two parts as per research objectives. In the first part, the quantity of concepts and theories concerned with this study were presented through frequency and percentage. The Facebook Engagement Rate per post were presented in the second part. The results of the study showed that the most publishing contents on IKEA Thailand Facebook page is encourage and motivate purchases by introducing home decor ideas. Regarding the Facebook Engagement Rate, the result found that quotes contents can get the highest average engagement rate, by click Like, Love and Wow engagement reaction signal. In the aspect of using contents creation techniques content quantity and engagement are consistent in creation through Feature – Advantage – Benefit sequenced contents, by click Like and Love engagement reaction signal. Considering about appeared content style emphasizes in photo album, which can encourage the audience to give engagement to the contents, by click Like, Love, Wow and Share engagement reaction signal. Strategy for creating contents by catch on stage of audience purchasing funnel that Facebook page the most applied for, is Discovery stage, in spite of the contents that catch on audience consideration funnel are the most encourage the audience to give engagement to, by click Like. Therefore, to create successful content on Facebook page of furniture retail business, content creator should mainly consider contents that attract positive engagement from audience. Photo album that encourage or motivate purchases by introducing home decor ideas, creation the storytelling by going through Feature – Advantage – Benefit sequenced to catch intention the audience in Discovery stage of their purchasing funnel should be applied more in this business Facebook Fanpage contents.
Description: การค้นคว้าอิสระ (นศ.ม.) -- สาขาวิชาการสื่อสารการตลาดดิจิทัล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2560
Subjects: เครือข่ายสังคมออนไลน์ในธุรกิจ
สื่อสังคมออนไลน์
การสื่อสารทางธุรกิจ
การจัดการธุรกิจ
การสื่อสารในการจัดการ
เครื่องเรือน
อุตสาหกรรมเครื่องเรือน
Advisor(s): ชุติมา เกศดายุรัตน์
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3087
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
napamon_wang.pdf6.33 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback