DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2872

Title: ปัจจัยที่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อการรับรู้ของผู้บริโภคในเขตธนบุรี และเขตบางพลัด ในกรุงเทพมหานครต่อระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์
Other Titles: Factors Positively Influencing Consumer Perceptions in Thonburi District and Bang Phlat District in Bangkok towards Electronic Payment Systems
Authors: พีรันธร ฉัตราภรณ์วิเชียร
Keywords: เงินอิเล็กทรอนิกส์
ความไว้วางใจ
ความเชื่อมั่นตนเอง
อิทธิพลทางสังคม
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: งานวิจัยนี้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อการรับรู้ของผู้บริโภคต่อระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งได้แก่ปัจจัยด้านความเชื่อมั่นตนเอง ปัจจัยด้านความปลอดภัย ปัจจัยด้านอิทธิพลทางสังคม ปัจจัยด้านความสะดวกสบาย ปัจจัยด้านอุปกรณ์ ปัจจัยด้านความเสี่ยง ปัจจัยด้านความไว้วางใจ และปัจจัยด้านควบคุม ด้วยแบบสอบถาม จำนวน 250 ชุด จากผู้ใช้ระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ในเขตธนบุรีและเขตบางพลัด ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร ในช่วงเดือนสิงหาคม ถึง เดือนตุลาคม 2560 จากผู้ใช้ระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์กรุงเทพมหานคร และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถดถอยเชิงพหุคูณ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 21-30 ปี สถานภาพโสด การศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพพนักงานองค์กรเอกชน รายได้ 10,000 – 20,000 บาท เคยใช้การชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ของทรูมันนี่ วอเลท (true money wallet) ส่วนใหญ่รู้จักหรือเคยได้ยินเกี่ยวกับการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ของของทรูมันนี่ วอเลท (true money wallet) มีการชำระเงินในรูปแบบเงินสดมากที่สุด ใช้ระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ในการบริการทางด้านซื้อสินค้าออนไลน์ และใช้ระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์โดยประมาณ 0-1,000 บาทต่อครั้ง และพบว่า มีเพียง ปัจจัยด้านความไว้วางใจ (β = 0.355) ปัจจัยด้านความเชื่อมั่นตนเอง (β = 0.225) ปัจจัยด้านความสะดวกสบาย (β = 0.204) ปัจจัยด้านอุปกรณ์ (β = 0.150) และปัจจัยด้านการควบคุม (β = 0.134) ที่มีอิทธิพลผลเชิงบวกต่อการรับรู้ของผู้บริโภคต่อระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ได้ร้อยละ 63.9 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ดังนั้นนักการตลาด หรือ ผู้ประกอบการให้บริการระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ หรือ รัฐบาลพัฒนากลยุทธ์ที่จะส่งผลให้ต่อระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ โดยพิจารณาจากปัจจัยด้านความไว้วางใจ ปัจจัยด้านความเชื่อมั่นตนเอง ปัจจัยด้านความสะดวกสบาย ปัจจัยด้านอุปกรณ์และปัจจัยด้านควบคม เพื่อก่อให้เกิดการรับรู้ต่อระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคได้
The research was designed to study the positive impact of factors influencing consumer perception on electronic payment systems, which were self–efficacy, security, social influence, convenience, equipment, risk, trust, and control. The total of 250 survey questionnaire were collected during August to October 2017 from e-payment systems’ users in Thonburi District and Bang Phlat District in Bangkok. The researcher found that majority of sample respondents who answered the questionnaire were females aged 21 – 30 years old, single, with education in bachelor degree and average income from 10,000 – 20,000 baht per month. They used the electronic payment of true money wallet because they knew about it and heard about it but the way of payments that they used most often was cash. Also, the consumers used e-money for online shopping and paid using e-money at around 0-1,000 baht per time. The data were analyzed using multiple regression analysis. The finding were revealed that only trust (β = 0.355), self- efficacy (β = 0.225), convenience (β = 0.204), equipment (β = 0.150), and control (β = 0.134) explaining 63.9% of the positive influence towards consumer perception on electronic payment systems at the significant level of .01. So, marketers and entrepreneurs of service electronic payment or government that develop strategies for electronic payment should consider the factors of self–efficacy, security, social influence, convenience, equipment, risk, trust, and control. to generate awareness of consumer electronic payment systems.
Description: การค้นคว้าอิสระ (บธ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2559
Subjects: การชำระเงิน
การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
ธนาคารและการธนาคาร -- บริการลูกค้า
พฤติกรรมผู้บริโภค
การวางแผนธุรกิจ
Advisor(s): เพ็ญจิรา คันธวงศ์
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2872
Appears in Collections:Independent Studies - Master
Independent Studies

Files in This Item:

File Description SizeFormat
phiranthon.chat.pdf2.78 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback