DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2146

Title: ปัจจัยที่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความตั้งใจที่จะใช้ผลิตภัณฑ์นาฬิกาอัจฉริยะของแบรนด์ A ของผู้เข้าร่วมงานมหกรรมมือถือ (Mobile Expo) ครั้งที่ 22 ในกรุงเทพมหานคร ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
Other Titles: Factors positively influencing intention to purchase smart watches of visitors attended the 22th Mobile Expo at Queen Sirikit convention center in Thailand
Authors: ชุติพงค์ หิรัญกุล
Keywords: ความตั้งใจที่จะใช้ผลิตภัณฑ์
นาฬิกาอัจฉริยะ
กรุงเทพมหานคร
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: งานวิจัยจัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลเชิงบวกของ ความชื่นชมในคุณภาพ คุณประโยชน์ของการใช้งาน ความพร้อมสําหรับการใช้งาน การปรากฏของกลุ่มวัฒนธรรมย่อย การรับรู้ถึงประโยชน์ การรับรู้ถึงความสะดวกในการใช้งาน การใช้โฆษณาผ่านเฟสบุ๊ค ความจงรักภักดีต่อแบรนด์ ที่มีต่อความตั้งใจที่จะใช้ผลิตภัณฑ์นาฬิกาอัจฉริยะแบรนด์ A โดยเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 250 คน จากผู้เข้าร่วมงานมหกรรมมือถือ (Mobile Expo) ครั้งที่ 22 ในกรุงเทพมหานคร ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ช่วงเดือนกันยายน ถึงตุลาคม 2558 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยความถดถอยเชิงพหุคูณ พบว่าผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 20-25 ปี สถานะโสด ส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาปริญญาตรี รายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่าหรือเท่ากับ 20,000 บาท ประกอบอาขีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน/รับจ้าง ส่วนมากจะใช้สินค้าแบรนด์ A 2 ชิ้นโดยมีงบประมาณในการซื้อสินค้า ในราคา 10,001-30,000 บาท ซึ่งจะเลือกซื้อสินค้าจากตัวแทนจัดจำหน่ายได้แก่ AIS, True, Dtac และส่วนใหญ่มีสินค้า iPhone ไว้ครอบครอง ทำให้พบว่า ปัจจัยความชื่นชมในคุณภาพ โดยมีค่า β= 0.431 และปัจจัยความจงรักภักดีต่อแบรนด์โดยมีค่า β= 0.178 มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความตั้งใจที่จะใช้ผลิตภัณฑ์นาฬิกาอัจฉริยะแบรนด์ A ของผู้บริโภคกลุ่มดังกล่าว อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 โดยปัจจัยเหล่านี้สามารถอธิบายความแปรปรวนของความตั้งใจที่จะใช้ผลิตภัณฑ์นาฬิกาอัจฉริยะแบรนด์ A ของผู้บริโภคดังกล่าว ได้ร้อยละ 43.80 ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์สินค้าแบรนด์ A ควรเน้นการนำเสนอสินค้า ให้รับรู้ถึงการได้ครอบครองผลิตภัณฑ์นาฬิกาอัจฉริยะแบรนด์ A ตลอดจนการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ใช้ผลิตภัณฑ์แบรนด์ A เพื่อที่จะรักษาความเป็นลูกค้าให้อยู่ต่อไปได้
The objective of this research is to study the positive influence of affective quality media, relative advantage, availability, subcultural appeal, perceived usefulness, perceived ease of use, facebook advertising and brand loyalty, affecting consumers’ intention to use smart watches brand A with survey questionnaire from 250 respondents who attended 22th Mobile Expo in Thailand at Queen Sirikit Convention Center from September to October 2015. The research result find the most of the samples responded to the questionnaires are female in the ages 20-25 years old, single status who graduated in the Bachelor degree level, having the average income less than or equal 20,000 baht/month. Majority of them use brand A 2 pieces with a budget to purchase of 10,001-30,000 baht, which bought from dealers include AIS, True, Dtac and most of the respondents are iPhone possession. The data analyzed using Multiple Regression Analysis. The researchers found that affective quality (β = 0.431) and brand loyalty (β = 0.178) were tested to be positively affected potential consumers’ intention to use smart watches brand A at .01 level of significance, explaining 43.80% of the influence toward potential consumers’ intention to use smart watch brand A. Hence, producers of brand product A should focus on product presentation. The recognition of products have occupied smart watch brand A, as well as build trust with users brand A in order to maintain the customer loyalty.
Description: การค้นคว้าอิสระ (บธ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2558
Advisor(s): เพ็ญจิรา คันธวงศ์
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2146
Appears in Collections:Independent Studies - Master
Independent Studies

Files in This Item:

File Description SizeFormat
chutipong_hiru.pdf4.39 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback