DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1008

Title: รูปแบบการดำเนินชีวิต และลักษณะบุคลิกภาพในกลุ่มผู้บริโภคเจเนอร์เรชั่น X และเจนเนอร์รชั่น Y ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าแฟชั่นผ่านทางออนไลน์
Other Titles: Lifestyle and Personality of Generation X and Generation Y Consumer in Decision Making on Online Fashion Product
Authors: กมลวรรณ วนิชพันธุ์
Keywords: รูปแบบการดำเนินชีวิต
ลักษณะบุคลิกภาพ
การตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าแฟชั่น
กลุ่มผู้บริโภคเจเนอร์เรชั่น X และ Y
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อความแตกต่างรูปแบบการดำเนินชีวิต ลักษณะบุคลิกภาพ ของกลุ่มผู้บริโภคเจเนอร์เรชั่น X และผู้บริโภคเจเนอร์เรชั่น Y ในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าแฟชั่นผ่านทางออนไลน์ โดยตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษามาจากประชากรที่เป็นผู้บริโภคกลุ่มเจเนอร์เรชั่น X และผู้บริโภคกลุ่มเจเนอร์เรชั่น Y ในเพศหญิงและเพศชายที่เคยซื้อสินค้าแฟชั่นซึ่งใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างตามสะดวก จำนวน400 คนและ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อถือได้เท่ากับ 0.970 และมีการตรวจสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น คือ สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอ้างอิง ที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐาน คือ การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression) ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มเจเนอร์เรชั่น X และ Y ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีระดับการศึกษาปริญญาตรี มีอาชีพลูกจ้าง / พนักงานบริษัท มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนตั้งแต่ 15,001 - 35,000 บาท โดยกลุ่มเจเนอร์เรชั่น Y มีรูปแบบการดำเนินชีวิตด้านความคิดเห็น (Opinion) และมีลักษณะบุคลิกภาพการเปิดเผยตนเอง (Extroversion) มากที่สุด ส่วนกลุ่มเจเนอร์เรชั่น X มีรูปแบบการดำเนินชีวิตด้านกิจกรรม (Activities) และมีลักษณะบุคลิกภาพความมั่นคงทางอารมณ์ (Emotional Stability) มากที่สุด สรุปผลการทดสอบสมมติฐานพบว่ารูปแบบการดำเนินชีวิตและลักษณะบุคลิกภาพในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าแฟชั่นผ่านทางออนไลน์ในกลุ่มผู้บริโภคเจเนอร์เรชั่น X และ Y อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และรูปแบบการดำเนินชีวิตและลักษณะบุคลิกภาพของกลุ่มผู้บริโภคเจเนอร์เรชั่น X และ Y ในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าแฟชั่นผ่านทางออนไลน์แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
This purpose of this research is for studying different Lifestyle and Personality of Generation X and Generation Y Consumer in Decision Making on Online. The samples used in this research was the customers male or female who purchase online product from Generation X and Generation Y, approximately 400 people. The issue is on research could be reliability around 0.970 and investigated by authority. The statistics which used to analyze basic data was descriptive statistics e.g. percentage, average, standard deviation and statistics of reference which used to test hypothesis is multiple regression. The research revealed that: The majority of customers from Generation X and Generation Y were female which graduated with Bachelor's Degree, being private company employee, having average monthly income between 15,001 - 35,000 Baht. Generation Y have the most lifestyle in opinion and personality in extraversion, and Generation X have the most lifestyle in activities and personality in emotional stability. Summary of hypothesis test result reveal that: The lifestyle and personality in decision making on online fashion product of Generation X and Generation Y consumer at statistically significant level of 0.05, and the different lifestyle and personality of Generation X and Generation Y consumer in decision making on online fashion product at the statistically significant level of 0.05
Description: การค้นคว้าอิสระ (บธ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2557
Advisor(s): สุคนธ์ทิพย์ รัตนภูพันธ์
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1008
Appears in Collections:Independent Studies - Master
Independent Studies

Files in This Item:

File Description SizeFormat
kamonwan_vani.pdf1.96 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback