DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Institute of Research and Innovation Development >
Research Reports >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3546

Title: การสนองสินค้ารำข้าว และถั่วเหลืองต่ออุตสาหกรรมน้ำมันพืช
Other Titles: The supply of rice barn and soybean to the vegetable oil industry
รายงานการวิจัยเรื่อง การสนองสินค้ารำข้าว และถั่วเหลืองต่ออุตสาหกรรมน้ำมันพืช
Authors: จารุภา หิรัญเมฆาวนิช
พิจิตรลักษณ์ ภู่ศิริ
บุปผา ยงชัยชาญ
Keywords: อุตสาหกรรมน้ำมันพืช -- ไทย -- วิจัย
พิจิตรลักษณ์ ภู่ศิริ -- ผลงานวิจัย
จารุภา หิรัญเมฆาวานิช--ผลงานวิจัย
พิจิตรลักษณ์ ภู่ศิริ--ผลงานวิจัย
บุปผา ยงชัยชาญ--ผลงานวิจัย
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ -- ผลงานอาจารย์
Issue Date: 2529
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: ในการวิจัยเรื่อง “การสนองสินค้ารำข้าว และถั่วเหลือง ต่ออุตสาหกรรมน้ำมันพืช” จากผู้ประกอบการผลิตน้ำมันรำข้าว และถั่วเหลือง ซึ่งได้ทำการสำรวจจากผู้ประกอบการผลิตน้ำมันพืชจากรำข้าวและถั่วเหลือง ซึ่งมีทุนจดทะเบียนสิบล้านบาทขึ้นไปโดยทำการสำรวจในเขตกรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และฉะเชิงเทรา ในการสำรวจได้แยกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่หนึ่ง สำรวจโดยใช้แบบสอบถามและสัมภาษณ์ในกลุ่มผู้ประกอบการผลิตน้ำมันพืชจากรำข้าวโดยสุ่มตัวอย่างมา 5 บริษัท จากทั้งสิ้น 6 บริษัท รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับราคารำข้าว ปริมาณความต้องการ ปริมาณผลผลิต และราคากากรำข้าว โดยเก็บข้อมูลเป็นรายเดือนระหว่างปี พ.ศ. 2526 - 2527 และได้นำเสนอไว้แล้วในตารางที่ 3 - 6 ในเรื่องของรำข้าว กลุ่มที่สอง สำรวจโดยใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ในกลุ่มผู้ประกอบการผลิตน้ำมันพืชจากถั่วเหลืองโดยสุ่มตัวอย่างมา 2 บริษัท จากทั้งสิ้น 3 บริษัท รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับราคาถั่วเหลือง โดยเก็บข้อมูลในฤดูการผลิตคือ ฤดูฝน และฤดูแล้ง ระหว่างปี พ.ศ. 2521 - 2527 และได้นำเสนอไว้แล้วในตารางที่ 7 - 10 ในเรื่องของถั่วเหลือง ข้อมูลที่รวบรวมได้จากทั้งสองกลุ่มที่กล่าวมาข้างต้นอาจนำไปใช้ประกอบในการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ซึ่งการนำไปใช้นี้ต้องศึกษาประกอบกับสภาวะเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นด้วยจึงให้ความถูกต้องเชื่อถือได้สูงขึ้น นอกจากการเก็บรวบรวมแล้ว ผู้วิจัยได้ศึกษาเพิ่มเติมโดยพยายามที่จะสร้างรูปแบบ (Model) เพื่อประโยชน์ในการพยากรณ์ จึงได้สร้างรูปแบบ (Model) ของปริมาณผลผลิตของรำข้าว และปริมาณผลผลิตของถั่วเหลืองซึ่งได้ผล 1. ปริมาณผลผลิตของรำข้าวมีความสัมพันธ์กับปริมาณความต้องการรำข้าวซึ่งสามารถสร้างเป็นรูปแบบได้ดังนี้ Y = - 0.5196 +1.2971X และรูปแบบที่สร้างได้นี้ให้ความถูกต้องเชื่อถือได้ประมาณร้อยละ 97.11 โดยวิธีของ Stepwise Regression 2. ปริมาณผลผลิตของถั่วเหลืองมีความสัมพันธ์กับปริมาณความต้องการถั่วเหลืองซึ่งสามารถสร้างเป็นรูปแบบได้ดังนี้ Y = 2.8273 + 0.1999X และรูปแบบที่สร้างได้นี้ให้ความถูกต้องเชื่อถือได้ประมาณร้อยละ 73.77 โดยวิธีของ Stepwise Regression สำหรับผู้ที่สนใจจะนำผลการวิจัยนี้ไปใช้จะต้องศึกษาสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันและอนาคต ประกอบการพิจารณาด้วย จึงจะให้ประโยชน์อย่างเต็มที่
In the research entitled “The supply of Rice Bran and Soybean toward the Oil Industry”, the researchers selected the group of rice bran oil and soybean oil companies, which their capital of investment exceeded ten million bath, from the area of Bangkok, Nonthaburi, Pathumthani, Samutprakan and Cha-choengsao and classified them into two groups. Group I By sampling the five from six rice bran oil companies, the researchers gathered the information from the interviews and questionnaire answered by the Purchasing Managers of these selected companies which were on the topic of supply of rice bran, demand of rice bran, buying price of rice bran and selling price of rice bran meal, monthly during 1983 through 1684. (Table 3 - 6) Group II By sampling the two from three soybean oil companies, the researchers gathered the information from interviews and questionnaire answered by the Purchasing Managers of these selected companies which were on the topic of supply of soybean, demand of soybean, buying price of rice barn and selling price of soybean meal during the crop year of 1978 through 1984. (Table 7 - 10) By modeling the supply of rice bran and supply of soybean, the researchers forecast the information which its result will be useful for the interested persons who want to study, to compare and to forecast the trend of the two products in the future, The models are: 1. By Stepwise Regression method, there is the equation. Y = - 0.5196 +1.2971X that correlates between the supply of rice bran and demand of rice bran and can forecast effectively by 97.11% 2. By Stepwise Regression method, there is the equation. Y = 2.8273 + 0.1999X that correlates between the supply of soybean and demand of soybean and can forecast effectively by 73.77%
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3546
Appears in Collections:Research Reports

Files in This Item:

File Description SizeFormat
jarupa_hiru.pdf2.9 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback