DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Institute of Research and Innovation Development >
Research Reports >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3537

Title: ความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกับพฤติกรรมการสื่อสารของนักศึกษา สาขานิเทศศาสตร์ในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: The relationship between learning achievement and communication behavior of communication arts students in Bangkok
รายงานการวิจัยเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกับพฤติกรรมการสื่อสารของนักศึกษา สาขานิเทศศาสตร์ในเขตกรุงเทพมหานคร
Authors: ประทุม ฤกษ์กลาง
ลักษณา สตะเวทิน
Keywords: การสื่อสาร--วิจัย
นักศึกษาปริญญาตรี--วิจัย
ประทุม ฤกษ์กลาง -- ผลงานวิจัย
ลักษณา สตะเวทิน--ผลงานวิจัย
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ -- ผลงานอาจารย์
Issue Date: 2531
Publisher: ทบวงมหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญ 6 ประการ คือ (1) เพื่อทราบพฤติกรรมการสื่อสารของนักศึกษาสาขานิเทศศาสตร์ในเขตกรุงเทพในด้านต่างๆ คือ พฤติกรรมการเปิดรับสื่อมวลชน พฤติกรรมการสื่อสารกับอาจารย์ พฤติกรรมการสื่อสารกับเพื่อนนักศึกษา (2) เพื่อทราบความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาสาขานิเทศศาสตร์ในเขตกรุงเทพกับพฤติกรรมการเปิดรับสื่อมวลชน (3) เพื่อทราบความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาสาขานิเทศศาสตร์ในเขตกรุงเทพกับพฤติกรรมการสื่อสารกับอาจารย์ (4) เพื่อทราบความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาสาขานิเทศศาสตร์ในเขตกรุงเทพกับพฤติกรรมการสื่อสารกับเพื่อนนักศึกษา (5) เพื่อทราบความสัมพันธ์ระหว่าง เพศ อายุ รายได้ ชั้นปี ของนักศึกษาสาขานิเทศศาสตร์ในเขตกรุงเทพกับพฤติกรรมการเปิดรับสื่อมวลชน (6) เพื่อศึกษาอิทธิพลของตัวแปรความคล้ายคลึงกันในด้านเพศ อายุ ภาควิชา ชั้นปี ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกสื่อสารกับเพื่อนนักศึกษาสาขานิเทศศาสตร์ในเขตกรุงเทพ ผู้วิจัยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบโควต้า จากนักศึกษาสาขานิเทศศาสตร์ชั้นปีที่ 3 และ 4 ของคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะวารสารศาสตร์และการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 433 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล และใช้สถิติจำนวนร้อยละ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียรสัน โพรดักโมเม้นต์ ไคสแควร์ เพื่อพิสูจน์สมมติฐานซึ่งปรากฎผลการวิจัยดังต่อไปนี้ 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาสาขานิเทศศาสตร์ในเขตกรุงเทพ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเปิดตัวรับสื่อมวลชน สมมติฐานข้อนี้ไม่ได้รับการยืนยัน 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาสาขานิเทศศาสตร์ในเขตกรุงเทพ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสื่อสารกับอาจารย์ สมมติฐานข้อนี้ได้รับการยืนยัน 3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาสาขานิเทศศาสตร์ในเขตกรุงเทพ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสื่อสารกับเพื่อนนักศึกษา สมมติฐานข้อนี้ไม่ได้รับการยืนยัน 4. เพศ อายุ รายได้ ชั้นปี ของนักศึกษาสาขานิเทศศาสตร์ในเขตกรุงเทพ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเปิดรับสื่อมวลชน สมมติฐานข้อนี้ได้รับการยืนยันเพียงบางส่วน กล่าวคือ รายได้ของนักศึกษาสาขานิเทศศาสตร์ในเขตกรุงเทพ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเปิดรับสื่อมวลชน แต่ เพศ อายุ ชั้นปี ของนักศึกษาไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเปิดรับสื่อมวลชน 5. นักศึกษาสาขานิเทศศาสตร์ในเขตกรุงเทพ เลือกสื่อสารบ่อยครั้งที่สุดกับเพื่อนที่มีเพศ อายุ ภาควิชา ชั้นปี และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคล้ายคลึงกัน สมมติฐานข้อนี้ได้รับการยืนยันเพียงบางส่วน กล่าวคือนักศึกษาสาขานิเทศศาสตร์ในเขตกรุงเทพ เลือกสื่อสารบ่อยครั้งที่สุด กับเพื่อนที่มีเพศ อายุ ชั้นปี คล้ายคลึงกัน แต่แตกต่างกันในผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
The research is aimed at 1) understanding dimensions of communication behavior of the students in the field of communication in Bangkok: mass media exposure behavior, students’ communication behavior to their instructors, and students’ communication behavior to their colleague; 2) understanding the relationship between learning achievement of students in the field of communication in Bangkok and their mass media exposure behavior; 3) understanding the relationship between learning achievement of students in the field of communication in Bangkok and communication behavior to their instructors; 4) understanding the relationship between learning achievement of students in the field of communication in Bangkok and communication behavior of their colleagues; 5) finding the relationship of sex, age, major field of study, year in college, and learning achievement on the selective communication behavior to colleagues of the communication students in Bangkok. “Quota” sampling was chosen for this research from 433 third and fourth-year students of the Faculty of Communication Arts, Chulalongkorn University, Faculty of Journalism and Mass Communication, Thammasat University, and School of Communication Arts, Bangkok o University. Questionnaires were distributed to collect the research data. These were analyzed by percentage, Pearson Product Moment Coefficient and Chi-Square statistical procedure were used to verify the hypothesis. The results were as follows: 1. The hypothesis that the students’ learning achievement is related to their mass media exposure behavior is not confirmed. 2. The hypothesis that the students’ learning achievement is related to their communication behavior to the instructors is significantly confirmed. 3. The hypothesis that the students’ learning achievement is related to their communication behavior to their colleagues is not confirmed. 4. The hypothesis that the students’ sex, age, income, and year in college is related to their mass media exposure is partially confirmed. Namely, the students’ income is related to their mass media exposure behavior while their sex, age, and year in college are not. 5. The hypothesis that the students select to communicate most often with their colleagues with similar sex, age, major field of study, year in college and learning achievement is partially confirmed. It was found that the students in the field of communication in Bangkok choose to communicate most often with their colleagues with similar sex, age, major field of study and year in college, but not with the same level of learning achievement.
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3537
Appears in Collections:Research Reports

Files in This Item:

File Description SizeFormat
pratum_leak.pdf70.51 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback