DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Institute of Research and Innovation Development >
Research Reports >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3469

Title: การสื่อสารภายในครอบครัวในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
Other Titles: Family communication in Bangkok and outskirts
รายงานการวิจัย การสื่อสารภายในครอบครัวในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
Authors: ประทุม ฤกษ์กลาง
Keywords: การสื่อสารในครอบครัว -- ไทย -- วิจัย
การสื่อสารในครอบครัว -- วิจัย
ประทุม ฤกษ์กลาง -- ผลงานวิจัย
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ -- ผลงานวิจัย
Issue Date: 2545
Publisher: ทบวงมหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่องการสื่อสารภายในครอบครัวในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาสภาพและรูปแบบการสื่อสารภายในครอบครัว ความพึงพอใจในการครอบครัว ตลอดจนศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับสภาพ รูปแบบการสื่อสารภายในครอบครัวและความพึงพอใจในครอบครัว กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยได้แก่ผู้ปกครองในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลจำนวน 479 คน สุ่มแบบบังเอิญ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยโดยใช้โปรแกรม SPSS ใช้สถิติร้อยละ ไค-สแควร์ t-test และ one-way anova ในการพิสูจน์สมมุติฐานการวิจัย ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. ครอบครัวในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลที่ผู้ปกครองมีเพศ แตกต่างกันมีความบ่อยครั้งในการ สื่อสารแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ครอบครัวที่ผู้ปกครองมีอายุ การศึกษา รายได้ อาชีพ ลักษณะครอบครัว ผู้นำครอบครัวแตกต่างกันไม่ได้มีความบ่อยครั้งในการสื่อสารแตกต่างกัน 2. ครอบครัวในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลมีรูปแบบการสื่อสารภายในครอบครัวที่ต่างกัน โดยมี การสื่อสารภายในครอบครัวแบบเสรีมากที่สุด รองลงมาเป็นแบบแสดงความคิดเห็น แบบเคารพเชื่อฟังและแสดงความคิดเห็น และแบบเคารพเชื่อฟัง 3. ครอบครัวในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลที่ผู้ปกครองมีเพศ การศึกษา รายได้ ความบ่อยครั้งใน การสื่อสารภายในครอบครัว แตกต่างกันมีรูปแบบการสื่อสารภายในครอบครัวแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ครอบครัวที่ผู้ปกครองมีอายุ อาชีพ ลักษณะครอบครัว ผู้นำครอบครัวแตกต่างกันไม่ได้มีความบ่อยครั้งในการสื่อสารภายในครอบครัวแตกต่างกัน 4. ครอบครัวในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลมีความพึงพอใจในครอบครัวที่ต่างกัน โดยมีความพึง พอใจในครอบครัวในระดับปานกลางมากที่สุด รองมาเป็นระดับต่ำและสูง 5. ครอบครัวในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลที่ผู้ปกครองมีการศึกษา ผู้นำครอบครัว ความบ่อยครั้ง ในการสื่อสารภายในครอบครัว รูปแบบการสื่อสารภายในครอบครัวแตกต่างกันมีความพึงพอใจในครอบครัวแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติแต่ครอบครัวที่ผู้ปกครองมีเพศ อายุ รายได้ อาชีพ ลักษณะครอบครัว แตกต่างกันไม่ได้มีความพึงพอใจในครอบครัวแตกต่างกัน
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3469
Appears in Collections:Research Reports

Files in This Item:

File Description SizeFormat
pratum_laek.pdf5.54 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback