DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Institute of Research and Innovation Development >
Research Reports >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3468

Title: ประสิทธิผลของนโยบายการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มแก่นักท่องเที่ยวที่มีต่อการกระตุ้นการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติในประเทศไทย
Other Titles: The effectiveness of VAT refund for tourists policy in stimulating expenditure of foreign tourists in Thailand
รายงานการวิจัยเรื่อง ประสิทธิผลของนโยบายการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มแก่นักท่องเที่ยวที่มีต่อการกระตุ้นการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติในประเทศไทย
Authors: ธันยกร จันทร์สาส์น
Keywords: ภาษีมูลค่าเพิ่ม -- ไทย -- วิจัย
การขอคืนภาษีอากร -- วิจัย
นักท่องเที่ยวต่างชาติ -- วิจัย
ธันยกร จันทร์สาส์น -- ผลงานอาจารย์
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ -- ผลงานอาจารย์
Issue Date: 2550
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาประสิทธิผลของนโยบายการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มแก่นักท่องเที่ยวว่าสามารถกระตุ้นการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติในประเทศไทยได้หรือไม่ โดยประสิทธิผลของนโยบายจะวัดจากการที่นักท่องเที่ยวมีค่าใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าเพิ่มมากขึ้นหลังการนำนโยบายมาใช้ สำหรับระเบียบวิธีวิจัยในงานวิจัยเรื่องนี้แบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน ได้แก่ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ซึ่งทำได้โดยการสร้างกราฟเส้นของข้อมูลอนุกรมเวลาจากแหล่งทุติยภูมิที่เกี่ยวข้อง ทั้งข้อมูลรายปี รายไตรมาส และรายเดือนโดยข้อมูลทุกตัวถูกปรับให้อยู่ในรูปของค่าที่แท้จริง ทั้งนี้เพื่อดูแนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงในระยะยาวของตัวแปร รวมทั้งสังเกตการเปลี่ยนแปลงของเส้นกราฟก่อนและหลังการใช้โครงการระบบคืนภาษีมูลค่าเพิ่มแก่นักท่องเที่ยวและการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณซึ่งใช้กับข้อมูลทุติยภูมิรายไตรมาสโดยข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์มีจำนวน 32 ไตรมาส ทั้งนี้ได้นำข้อมูลดังกล่าวมาสร้างเป็นสมการถดถอยพหุคูณเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นจำนวน 2 กลุ่ม จำแนกตามวัตถุประสงค์ของการทดสอบ โดยสมการถดถอยพหุคูณกลุ่มที่ 1 สร้างขึ้นเพื่อศึกษาอิทธิพลของโครงการระบบคืนภาษีมูลค่าเพิ่มแก่นักท่องเที่ยวว่าสามารถทำให้รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทยเพิ่มขึ้นได้หรือไม่ ในขณะที่สมการถดถอยพหุคูณกลุ่มที่ 2 สร้างขึ้นเพื่อศึกษาว่านโยบายระบบการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มแก่นักท่องเที่ยวทำให้อิทธิพลของการเปลี่ยนแปลงของจำนวนนักท่องเที่ยวที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงของรายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าของนักท่องเที่ยวเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ ทั้งนี้ผลการวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนาไม่สามารถสรุปได้แน่ชัดว่านโยบายการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มแก่นักท่องเที่ยวสามารถกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวใช้จ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าในประเทศไทยเพิ่มขึ้นได้หรือไม่ เนื่องจากในช่วงที่ทำการพิจารณานักท่องเที่ยวต่างชาติในประเทศไทยมีการใช้จ่ายโดยรวมลดลงทำให้มูลค่ารายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าลดลงตามไปด้วย ส่งผลให้ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของกราฟเส้นไม่เอื้ออำนวยต่อการสรุปผลที่ต้องการ อย่างไรก็ตามจากการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสมการถดถอยพหุคูณ ทำให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนมากขึ้นสำหรับประสิทธิผลของนโยบายการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มแก่นักท่องเที่ยว โดยจากการศึกษาพบว่านโยบายการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มแก่นักท่องเที่ยวส่งผลให้รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าของนักท่องเที่ยวต่างชาติในประเทศไทยสูงขึ้น รวมทั้งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงจำนวนนักท่องเที่ยวซึ่งทำให้การเปลี่ยนแปลงของรายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าของนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มสูงขึ้นเช่นเดียวกันหรืออีกนัยหนึ่งคือ นโยบายการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มแก่นักท่องเที่ยวส่งผลให้นักท่องเที่ยวต่างชาติในประเทศไทยใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าในมูลค่าที่มากขึ้นนั่นเอง ดังนั้น จึงสามารถสรุปได้ว่านโยบายการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มแก่นักท่องเที่ยวมีประสิทธิผลในการกระตุ้นการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติในประเทศไทย
This study aims to investigate the effectiveness of the VAT Refund for Tourists (VRT) Policy in stimulating expenditure of foreign tourists in Thailand by examining if shopping expenditure of foreign tourists in Thailand significantly increased after this policy was imposed. The methodology for this study may be divided into 2 ways. The first one is the descriptive statistic analysis which utilizes line charts of several secondary time-series data in real term which is related to the VRT policy to see if there is any evidence to support the increase in shopping expenditure after the VRT policy was imposed. The latter is the multiple regression analysis. Two groups of multiple regression models classified by the purpose of the test are carried out. The first group of multiple regression models aims to examine if shopping expenditure of foreign tourists in Thailand significantly increased after the policy was imposed; whereas, the latter aims to investigate if the influence of the change in the number of foreign tourists on the change in shopping expenditure of foreign tourists increased after the policy was imposed. According to the descriptive statistic analysis, there is no evidence to support the conclusion that the VRT is capable of stimulating shopping expenditure of foreign tourists in Thailand. The study indicates that the total expenditure of foreign tourists in Thailand was declining the study period causing the shopping expenditure to decrease as well; therefore, the line charts cannot support the effectiveness of the VRT in stimulating shopping expenditure of foreign tourists. Nevertheless, based on the sample of 32 quarters (quarter 1 of 1998 – quarter 4 of 2005), the results of regression analysis show that after the policy was imposed, the shopping expenditure of foreign tourists in Thailand increased. Moreover, the influence of the change in the number foreign tourists on the change in shopping expenditure of foreign tourists also increased, implying that the VRT is able to make foreign tourists spend more on shopping. Thus, it is reasonable to conclude that the VAT Refund for Tourists policy is effective in stimulating expenditure of foreign tourists in Thailand.
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3468
Appears in Collections:Research Reports

Files in This Item:

File Description SizeFormat
thanyakorn_jant.pdf4.99 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback