DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Institute of Research and Innovation Development >
Research Reports >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3467

Title: คุณลักษณะและภาระหน้าที่ที่พึงประสงค์ของนักวารสารศาสตร์ในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Required qualifications and responsibilities of journalists in Bangkok metropolitan area
รายงานการวิจัย คุณลักษณะและภาระหน้าที่ที่พึงประสงค์ของนักวารสารศาสตร์ในเขตกรุงเทพมหานคร
Authors: ธารทิพย์ เสรินทวัฒน์
Keywords: วารสารศาสตร์ -- ไทย -- วิจัย
นักหนังสือพิมพ์ -- ไทย -- กรุงเทพฯ -- วิจัย
นักข่าว -- ไทย -- กรุงเทพฯ -- วิจัย
จรรยาบรรณนักหนังสือพิมพ์
ธารทิพย์ เสรินทวัฒน์ -- ผลงานวิจัย
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ -- ผลงานวิจัย
Issue Date: 2546
Publisher: ทบวงมหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจคุณลักษณะและภาระหน้าที่พึงประสงค์ของนักวารสารศาสตร์ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนได้ ตัวอย่างทั้งหมด 284 คน ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม อันได้แก่ นักวารสารศาสตร์อาชีพ 89 คน นักวิชาการทางด้านวารสารศาสตร์ 35 คน นิสิตนักศึกษาวิชาเอกวารสารศาสตร์ 70 คน และประชาชนทั่วไป 90 คน ผลที่ได้จากการศึกษาวิจัยนี้ ในส่วนแรกเกี่ยวกับนักวารสารศาสตร์อาชีพปรากฏคุณลักษณะทางพื้นฐานทางการศึกษาจบปริญญาตรีในสาขาต่างๆ ที่มิใช่วารสารศาสตร์มากกว่าถึงร้อยละ 64.04 ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 26-30 ปี ระยะเวลาทำงาน 1-3 ปี รายได้ 7,001-9,000 บาทต่อเดือน และร้อยละ 56.18 ไม่เคยมีประสบการณ์ในการทำงานอื่นๆ มาก่อน แหล่งค้นคว้าข้อมูลที่ใช้เป็นประจำได้แก่ หนังสือพิมพ์ แฟ้มข่าว วารสาร/นิตยสาร หนังสือ ข่าวแจกจากเอกชน และรูปภาพ/ภาพถ่าย ผลงานเขียนใช้เวลาเกี่ยวกับการค้นคว้ามากที่สุด ส่วนการยอมรับฟังความคิดเห็นเชิงวิพากษ์วิจารณ์จากผู้บังคับบัญชา/ผู้อาวุโส เพื่อนร่วมงาน และผู้อ่านผู้ชม/ผู้ฟังเป็นประจำ การยอมรับว่าแหล่งข่าวมีอิทธิพลที่สำคัญที่สุดในการพิจารณาคุณค่าของข่าวที่จะนำเสนอร้อยละ 40.44 และมีความพึงพอใจต่องานในปัจจุบันร้อยละ 70.78 สำหรับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักวารสารศาสตร์ ปรากฏว่า นักวารสารศาสตร์อาชีพและนิสิตนักศึกษาวิชาเอกวารสารศาสตร์ ให้ความสำคัญกับการเป็นผู้ส่งสารที่มีจริยธรรมมากเป็นอันดับแรกในขณะที่นักวิชาการทางด้านวารสารศาสตร์และประชาชนทั่วไป ให้ความสำคัญกับการมีความรู้และทักษะทางการสื่อสารเป็นอันดับแรก ส่วนภาระหน้าที่ที่พึงประสงค์ของนักวารสารศาสตร์อาชีพ ปรากฏว่า นักวารสารศาสตร์อาชีพนักวิชาการทางด้านวารสารศาสตร์และประชาชนทั่วไป ให้ความสำคัญกับความกล้านำเสนอข้อเท็จจริง กล้านำเสนอในสิ่งที่ถูกต้องเป็นอันดับแรก ในขณะที่นิสิตนักศึกษาวิชาเอกวารสารศาสตร์ให้ความสำคัญกับการกระตุ้นเตือนให้สังคมได้ทราบถึงอันตราย รับผิดชอบต่อสังคมมาเป็นอันดับแรก ในส่วนที่สอง แนวโน้มของคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักวารสารศาสตร์ในอนาคต น่าจะมีเพิ่มมากขึ้นคือ (1) มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ต่อสังคม อดทนเข้มแข็ง มีเหตุผล (2) มีจรรยาบรรณยึดมั่นคุณธรรม มีมารยาท (3) รู้จักทันสถานการณ์ มีความรอบรู้ไม่หยุดนิ่ง ใฝ่หาความรู้ (4) เชื่อมั่นในตนเองกล้าตั้งคำถาม มีประสบการณ์ เป็นนักคิดและช่างสังเกต (5) บุคลิกภาพดี มีมนุษยสัมพันธ์ คล่องตัวกระตือรือร้น (6) ทักษะการสื่อสารด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ สามารถใช้เครื่องมือสื่อสารได้คล่อง และ (7) ความรู้ด้านภาษาต่างประเทศ สำหรับแนวโน้มของภาระหน้าที่ที่พึงประสงค์ของนักวารสารศาสตร์ในอนาคตคือ (1) นำเสนอด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้ละเอียดขึ้น รวดเร็วขึ้นเฉพาะด้านมากขึ้น (2) เป็นปากเป็นเสียงเป็นผู้นำความคิดของประชาชน (3) เป็นแหล่งข้อมูลของประชาชน และ (4) ทำการสำรวจและวิจัย สำหรับจุดอ่อนของนักวารสารศาสตร์ส่วนใหญ่ตอบว่า การขาดจรรยาบรรณโดยไม่รับผิดชอบต่อข่าวที่เสนอมีความคิดเห็นส่วนตัวลงไปในข่าว ขาดอิสรภาพในการทำงาน ไม่ได้รับความคุ้มครองทางด้านทรัพย์สินและสวัสดิภาพ มีความกดดันจากหลายด้าน ขาดความลุ่มลึกทางความคิดและขุดค้นข้อมูลอย่างลึกซึ้ง บางครั้งภาษาเข้าใจยากใช้ภาษาแรงหรือเกินจริง ทำงานหนัก ไม่เป็นเวลา ทำงานแข่งกับเวลาค่าตอบแทนน้อย ไม่มั่นคง ฯลฯ อย่างไรก็ตามแนวโน้มของสังคมในอนาคตยังมีความต้องการนักวารสารศาสตร์เพิ่มขึ้นอีกมาก
The purpose of the study was to examine the required characteristics and responsibilities of the journalists in Bangkok Metropolitan area. Multi-stage sampling included 284 samples in 4 groups: professional journalists (N=89), journalism educators (N=35), journalism students (N=70) and general public (N=90). The results of the study in the first about the professional journalists indicated that 64.04% had non-journalism bachelor degrees. Most of them were 26-30 years old and had been working for 1-3 years. Their average income were 7,001-9,000 baht a month and 56.18% of them had never worked in any other jobs before. They consulted newspaper, journals, magazines, morgue files, text, news releases from companies and organizations, and slides and photographs for facts and information. They always accepted comments from executive editors, colleagues and readers or audiences. 40.44% of them agreed that the values of their work depended on news sources and 70.78% of them were satisfied with their jobs. In the opinions of professional journalists and journalism students, the most important required qualification of professional journalists was to be ethical information sender. But journalism educators and general public put the importance on their knowledge and journalism skills. For most required responsibilities of professional journalists, all groups except journalism students thought they should have the courage to present the truth while journalism students wanted them to play the watchdog role for the society. The second part of the study was about the tr4end of required characteristics of professional journalists in the future. Recommended qualities were (1) reliability (2) morality (3) curiosity (4) skepticism (5) friendliness & flexibility (6) IT usage (7) foreign language ability. Recommendations for the trend of required responsibilities of professional journalists in the future were (a) abilities to report with new technology (b) being public intelligence (c) being public’s information source (d) doing research and fact finding. Weakness of professional journalists were unethical, lack of freedom in performing their work, insecurity in life and property, lots of pressure, low income etc. However, the number of professional journalists in the future would increase.
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3467
Appears in Collections:Research Reports

Files in This Item:

File Description SizeFormat
tantip_sari.pdf5.09 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback