DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Institute of Research and Innovation Development >
Research Reports >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3456

Title: ปัญหาพื้นฐานทางการตลาดที่มีผลกระทบต่อการขยายตลาดของผู้ผลิตเครื่องจักสานไม้ไผ่และหวายในเขตพื้นที่ทั่วภูมิภาคของประเทศไทย
Other Titles: The fundamental marketing problems affecting market growth of bamboo and ratten handicraft manufacturers in Thailand
รายงานการวิจัยเรื่อง ปัญหาพื้นฐานทางการตลาดที่มีผลกระทบต่อการขยายตลาดของผู้ผลิตเครื่องจักสานไม้ไผ่และหวายในเขตพื้นที่ทั่วภูมิภาคของประเทศไทย
Authors: วิเชียร วงศ์ณิชชากุล
Keywords: เครื่องจักสาน -- ไทย -- การตลาด -- วิจัย
อุตสาหกรรมพื้นบ้าน -- การตลาด -- วิจัย
วิเชียร วงศ์ณิชชากุล -- ผลงานวิจัย
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ -- ผลงานวิจัย
Issue Date: 2546
Publisher: ทบวงมหาวิทยาลัย
Abstract: ความเป็นมาของการวิจัย ผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานของไทย นับว่ามีคุณค่าทางศิลปะหัตถกรมสะท้อนให้เห็นความเป็นอยู่ในท้องถิ่น ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และยังเป็นเอกลักษณ์ที่บ่งบอกถึงความเป็นไทยได้เป็นอย่างดีอุปสรรคที่เกิดขึ้นกับผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานของไทยโดยเฉพาะเครื่องจักสานที่ทำจากไม้ไผ่และหวายก็มีมากมาย อาทิ วัตถุดิบเริ่มขาดแคลน ผลิตภัณฑ์บางชนิดที่ประณีตและสวยงามยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างเต็มที่และที่สำคัญคือปัญหาพื้นฐานทางการตลาดที่ยังเป็นปัญหาที่ดูเหมือนว่าตลาดเครื่องจักสานไม้ไผ่และหวายยังไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร การขยายตลาดยังเป็นไปอย่างเชื่องช้า ดังนั้น ถ้างานวิจัยสามารถศึกษาถึงส่วนผสมทางการตลาด ที่อาจเป็นสาเหตุของปัญหา ก็จะทำให้ผู้ผลิตเครื่องจักสาน หน่วยงานของรัฐบาล และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง สามารถนำเอาความรู้ทางการตลาดที่ได้ ไปพัฒนาตลาดให้ขยายตัวต่อไปได้ในอนาคต ระเบียบวิธีการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาถึงปัญหาพื้นฐานทางการตลาด โดยการใช้แบบสอบถามสำรวจความคิดเห็นของผู้ผลิตเครื่องจักสานไม้ไผ่และหวาย จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 500 รายซึ่งแบ่งเป็นการส่งแบบสอบถามไปทางไปรษณีย์ จำนวน 445 ราย และจากการสัมภาษณ์ จำนวน 55 ราย ส่วนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลและการสรุป ผลการวิจัย คือ การหาค่าอัตราร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการวิจัย ตลาดเครื่องจักสานไม้ไผ่และหวายจะสามารถขยายตัวได้ จะต้องพัฒนาส่วนผสมทางการตลาดดังนี้ ด้านผลิตภัณฑ์ ควรผลิตให้มีรูปแบบสวยงามและทันสมัย ให้ตรงกับความต้องการของตลาดและถ้าจะให้ดีมากขึ้นควรมีหีบห่อและตราสินค้าเป็นของตนเองหรือของกลุ่มก็ได้ ด้านราคา ควรรู้วิธีการตั้งราคาโดยต้องคิดถึงต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร รวมทั้งการคิดถึงกำไรที่ต้องการ จึงสามารถนำรายได้ไปพัฒนาและขยายตลาดต่อไปได้ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ควรมีแหล่งตลาดที่ถาวรสามารถนำสินค้าประเภทเครื่องจักสานไปจำหน่วยได้ตลอดเวลา ด้านการส่งเสริมการตลาดควรมีการโฆษณาตามสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อวิทยุบ้าง เพื่อสร้างการรับรู้ให้กับผู้บริโภคนอกเหนือจากการใช้นามบัตรและใบปลิวเท่านั้น ส่วนเรื่องการขนส่งสินค้าส่วนมากจะอาศัยการขนส่งทาง รสพ และทางรถไฟ ผู้ผลิตให้ความเห็นว่าถ้ามีรถยนต์เป็นของตนเองการขนส่งสินค้าน่าจะสะดวกและจำหน่วยได้กว้างไกลมากขึ้น แต่ปัญหาส่วนนี้ งานของรัฐบาลผู้ผลิตมีความพึงพอใจอยู่ในระดับดี แต่อยากได้รับการสนับสนุนและการช่วยเหลือที่เฉพาะเจาะจงมาที่สินค้าประเภทเครื่องจักสานไม้ไผ่และหวายให้ทั่วถึงและมีมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เพราะถึงแม้ว่าหน่วยงานของรัฐบาลจะมีโครงการ หลายโครงการที่ให้การสนับสนุนอยู่มากแล้วก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงแค่การสนับสนุน แบบมหภาค นั่นคือการให้ความช่วยเหลือ โดยรวมกับสินค้าหัตกรรมทุกประเภทเท่านั้น ซึ่งปัญหาต่างๆ เหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่า เป็นปัญหาที่เหมือน และใกล้เคียงกับความคิดเห็นของผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมทั้ง 11 ราย ซึ่งทางศูนย์ได้เสนอ แนวทางการแก้ไขโดยขอให้หน่วยงานอื่นของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยอบรมและจัดสอนเกี่ยวกับเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดให้กับผู้ผลิตอย่างสม่ำเสมอ และจริงจัง แต่บางเรื่องหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือที่ซ้ำซ้อนกัน รัฐบาลคงต้องจัดการให้เหมาะสมต่อไป เพราะจะทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณ จากการสำรวจพบว่าผู้ผลิตเครื่องจักสานไม้ไผ่และหวายอีกมากมายหลายหมู่บ้านยังคงใช้วิถีชีวิตการผลิตเครื่องจักสานแบบเดิม ยังไม่มีโอกาสพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนให้ได้มาตรฐานตามมาตรฐานของโครงการผลิตภัณฑ์ชุมชน หรือ โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ได้ ซึ่งถ้าความช่วยเหลือจากหน่วยงานของรัฐบาลให้การช่วยเหลืออย่างทั่วถึง และถ้าผู้ผลิตพยายามหมั่นฝึกฝน เรียนรู้ การผลิตที่ทันสมัย และทำความเข้าใจกลยุทธ์ทางการตลาดให้มากขึ้น เพื่อพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา ก็น่าจะทำให้ตลาดเครื่องจักสานไม้ไผ่และหวายมีโอกาสเจริญเติบโตและยั่งยืนตลอดไป
Background of Study Bamboo and rattan products are unique in their character and value. In many respects, the product reflects the livelihood of Thai people from the past to the present day. Today, bamboo and rattan products are facing obstacles such as shortages of raw materials, the design of products for high-end customers do not meet specific requirements. However, the most important problem is the market for these products seem to grow very slow. Therefore, the study will focus its effort in examining these issues. Method The study of research has its focus on the fundamental marketing problems affecting market growth of bamboo and rattan handicraft manufacturers in Thailand. The research information was gathered by 1) distributing 455 questionnaires by mail and 2) personal interview with 55 manufacturers. The information gathered is statically analyzed for its percentile, averages, and variances. Results The finding of this research indicates that the market growth of bamboo and rattan handicraft depends on 2 key success factors that begin with proper marketing mixed and increasing role of Thai Government in supporting this industry. Proper marketing mixed means the products must be in trend both in their design and appearance, in addition having one’s owns brand and well design packaging would be immense. The second factor is price setting. The manufacture of bamboo and rattan handicraft must understand all costs associated with their products in order to come up with proper pricing policy including profit margin. Third, the manufacturers must come up with long-term strategy in developing distribution channel as well as promotional programs such as television and others form of advertising campaign to raise consumer’s awareness. In addition, many manufactures have raised several issues: 1) there is minor concern with transporting finished products using railway and roadway, and 2) many supporting programs initiates by Thai Government are satisfactory, but they are in macro level. Rather, the government should give its support that aims directly to this product segment adding to the help that already given to the industry in general. Incidentally, the comments of the manufacturers have been confirmed and well received by eleven directors for the industrial promotional centers. Currently, most/all centers have been providing product development and marketing strategy courses to the manufacturers with some overlapping. The research finds that opportunity still exists for many bamboo and rattan manufacturers to improve their product quality and expand their market providing that the issued mentioned above have been recognized and resolved.
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3456
Appears in Collections:Research Reports

Files in This Item:

File Description SizeFormat
vichian_vong.pdf9.97 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback