|
DSpace at Bangkok University >
Institute of Research and Innovation Development >
Research Reports >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3416
|
Title: | ระดับความคิดเห็นด้านความพึงพอใจของพนักงานรัฐวิสหกิจที่มีต่อปัจจัยในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้ร่วมงาน เพื่อการพัฒนาทีมงาน : กรณีรัฐวิสาหกิจที่ดำเนินการด้านสื่อสารและคมนาคม |
Other Titles: | State enterprise employees’ opinions regarding levels of satisfaction toward factors influencing relationship initiation among peers for team development : a case of communications and transport state enterprise รายงานการวิจัยเรื่อง ระดับความคิดเห็นด้านความพึงพอใจของพนักงานรัฐวิสหกิจที่มีต่อปัจจัยในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้ร่วมงาน เพื่อการพัฒนาทีมงาน : กรณีรัฐวิสาหกิจที่ดำเนินการด้านสื่อสารและคมนาคม |
Authors: | ฤดี หลิมไพโรจน์ |
Keywords: | ความพอใจในการทำงาน -- ไทย -- วิจัย พนักงานรัฐวิสาหกิจ -- ความพอใจในการทำงาน -- วิจัย ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล -- ไทย -- วิจัย คุณภาพชีวิตการทำงาน -- ไทย -- วิจัย การพัฒนาองค์การ -- วิจัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ -- ผลงานวิจัย ฤดี หลิมไพโรจน์ -- ผลงานวิจัย |
Issue Date: | 2545 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยกรุงเทพ |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจและเปรียบเทียบความคิดเห็นของพนักงานรัฐวิสาหกิจที่จำแนกตามคุณสมบัติส่วนบุคคล ที่มีต่อระดับความพึงพอใจต่อสัมพันธภาพระหว่างผู้ร่วมงานในขณะปฏิบัติงานในหน่วยงานที่ตนสังกัดอยู่ และ 2) เพื่อสำรวจและเปรียบเทียบความคิดเห็นของพนักงานรัฐวิสาหกิจที่จำแนกตามคุณสมบัติส่วนบุคคลที่มีต่อระดับความสำคัญต่อปัจจัยในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้ร่วมงานเพื่อพัฒนาทีมงานในขณะปฏิบัติงานโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) จากการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และใช้วีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ พนักงานรัฐวิสาหกิจที่ดำเนินการสื่อสารและคมนาคม จำนวน 450 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของประชากร 2 กลุ่ม ที่เป็นอิสระ ต่อกันและการวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของประชากร 2 กลุ่ม ที่เป็นอิสระต่อกันและการวิเคราะห์ตามแปรปรวนแบบทางเดียว
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. พนักงานรัฐวิสาหกิจที่ดำเนินการด้านการสื่อสารและคมนาคมที่มีเพศ ระดับการศึกษา และหน่วยงานที่ทำงานต่างกันมีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจต่อกลุ่มผู้ร่วมงานในฐานะเพื่อนร่วมงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนตัวแปร อายุ รายได้ต่อเดือน สถานภาพการสมรส ระยะเวลาในการทำงาน และแผนกงานที่ทำต่างกัน มีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจต่อกลุ่มผู้ร่วมงานในฐานะเพื่อนร่วมงานไม่แตกต่างกัน
2. พนักงานรัฐวิสาหกิจที่ดำเนินการสื่อสารและคมนาคมที่มีเพศ อายุ รายได้ต่อเดือนระดับการศึกษา สถานภาพการสมรส ระยะเวลาในการทำงาน หน่วยงานที่ทำงานและแผนกที่ทำต่างกันมีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจต่อกลุ่มผู้ร่วมงานที่มีต่อหัวหน้างานไม่แตกต่างกัน
3. พนักงานรัฐวิสาหกิจที่ดำเนินการสื่อสารและคมนาคมที่มีเพศ อายุ รายได้ต่อเดือน ระดับการศึกษา สถานภาพการสมรส ระยะเวลาในการทำงาน หน่วยงานที่ทำงาน และแผนกงานที่ทำต่างกัน มีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจต่อกลุ่มผู้ร่วมงาน ที่มีต่อหัวหน้างานไม่แตกต่างกัน
4. พนักงานรัฐวิสาหกิจที่ดำเนินการสื่อสารและคมนาคมที่มีเพศ ระดับการศึกษา หน่วยงานที่ทำงานต่างกัน มีคะแนนเฉลี่ยความสำคัญต่อปัจจัยที่ใช้ในการสร้างสัมพันธภาพในการทำงานร่วมกันฐานะเพื่อนร่วมงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนตัวแปรอายุ รายได้ต่อเดือน สถานภาพการสมรส ระยะเวลาในการทำงาน และแผนกงานที่ทำต่างกันมีคะแนนเฉลี่ยความสำคัญต่อปัจจัยที่ใช้ในการสร้างสัมพันธภาพ ในการทำงานร่วมกันในฐานะเพื่อนร่วมงานไม่แตกต่างกัน
5. พนักงานรัฐวิสาหกิจที่ดำเนินการสื่อสารและคมนาคม ที่มีระดับการศึกษาหน่วยงานที่ทำงาน และแผนกงานที่ทำต่างกันมีคะแนนเฉลี่ยความสำคัญต่อปัจจัยที่ใช้ในการสร้างสัมพันธภาพในการทำงานร่วมกันระหว่างผู้ใต้บังคับบัญชากับผู้บังคับบัญชาแตกต่างกัน ส่วนตัวแปรเพศ อายุ รายได้ต่อเดือน สถานภาพการสมรส และระยะเวลาในการทำงานต่างกันมีคะแนนเฉลี่ยความสำคัญต่อปัจจัยที่ใช้ในการสร้างสัมพันธภาพในการทำงานร่วมกันระหว่างผู้ใต้บังคับบัญชากับผู้บังคับบัญชาไม่แตกต่างกัน The research objectives were 1) to investigate and compare the opinions of state enterprise employees, classified by their demographic characteristics, toward the level of satisfaction given to the relationships among peers during the time of work in the divisions they are affiliated with, and 2) to investigate and compare the opinions of state enterprise employees, classified by their demographic characteristics, toward the level of significance given to factors influencing relationship building among peers for team development during the time of work.
A survey research was carried out to collect data. Simple random sampling was used to select sample units. The sample consisted of 450 state enterprise employees who worked in the communications and transport enterprises. Descriptive statistics, two independent sample t-test, and one way analysis of variance were them employed to analyze data.
Research results can be summarized as follows:
1. State enterprise employees with different genders, educational levels, and divisions of work were significantly found to have differences in their satisfaction levels given to peers (p<0.05). On the other hand, age, income, marital status, length of work, and divisions of work were found to have no significant impact on the levels of satisfaction (p>0.05).
2. State enterprise employees with different genders, age, income, educational levels, marital status, length of work, and divisions of work were found to have no significant differences in their satisfaction levels given to their supervisors (p>0.05).
3. State enterprise employees with different genders, age, income, educational levels, marital status, length of work, and divisions of work were found to have no significant differences in their satisfaction levels given to their peers who worked on other divisions (p>0.05).
4. State enterprise employees with different genders, educational levels, divisions of work were significantly found to give different weights to factors influencing relationship building among peers (p < 0.05). On the other hand, age, income, marital status, length of work, and divisions of work were found to have no significant impact on factors influencing relationship building among peers (p>0.05)
5. State enterprise employees with different educational levels and divisions of work were significantly found to give different weights to factors influencing relationship building between subordinates and supervisors (p<0.05). On the other hand, gender, age income, marital status, and length of work were found to have no significant impact on factors influencing relationship building between subordinates and supervisors (p>0.05). |
URI: | http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3416 |
Appears in Collections: | Research Reports
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|