DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Institute of Research and Innovation Development >
Research Reports >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3408

Title: การเปรียบเทียบบทบาทของพนักงานสตรีระดับหัวหน้า กับระดับปฏิบัติการที่มีต่อความคาดหวังที่จะประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน : ศึกษาเฉพาะธนาคารพาณิชย์ไทยในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
Other Titles: A comparison between women’s roles of supervisors and their subordinates for work achievement : a case of Thai Commercial Banks in Bangkok and its metropolitan areas
รายงานการวิจัยเรื่อง การเปรียบเทียบบทบาทของพนักงานสตรีระดับหัวหน้า กับระดับปฏิบัติการที่มีต่อความคาดหวังที่จะประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน : ศึกษาเฉพาะธนาคารพาณิชย์ไทยในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
Authors: สุทธินันทน์ พรหมสุวรรณ
Keywords: แรงงานสตรี -- ไทย -- การศึกษาเฉพาะกรณี -- วิจัย
สตรีในธุรกิจ -- ไทย -- การศึกษาเฉพาะกรณี -- วิจัย
นักบริหารสตรี -- ไทย -- การศึกษาเฉพาะกรณี -- วิจัย
ความสำเร็จ -- ไทย -- การศึกษาเฉพาะกรณี -- วิจัย
สุทธินันทน์ พรหมสุวรรณ -- ผลงานวิจัย
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ -- ผลงานวิจัย
Issue Date: 2542
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: ความเป็นมาของการวิจัย ในปัจจุบันพบว่าองค์การส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับบทบาทสตรีในการปฏิบัติงานค่อนข้างน้อย ซึ่งในความเป็นจริงแล้วพบว่า พนักงานสตรีมีศักยภาพในการทำงานเท่าเทียมกับพนักงานชาย ถ้าผู้บริหารละเลยความสำคัญในประเด็นเหล่านี้ จะมีผลต่อประสิทธิภาพโดยรวมขององค์การ ดังนั้น ผู้บริหารควรตระหนักและยอมรับถึงบทบาทของสตรี โดยพิจารณาถึงความคาดหวังที่มีส่วนร่วมในการทำงานเกี่ยวกับบทบาทด้านลักษณะส่วนบุคคล และบทบาทด้านการบริหารที่พนักงานสตรีจะได้รับ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาการปฏิบัติงานของพนักงานสตรีที่มีต่อองค์การในโอกาสต่อไป ระเบียบวิธีการวิจัย วิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยนี้ คัดเลือกมาจากพนักงานสตรีระดับหัวหน้าจำนวน 209 คน และระดับปฏิบัติการจำนวน 300 คน ที่ทำงานในธนาคารพาณิชย์ไทย เฉพาะสำนักงานใหญ่ จำนวน 11 แห่ง สำหรับเครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามที่ได้รับการตรวจสอบในด้านเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว วิธีการทางสถิติที่ใช้และสรุปผลข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (one-way ANOVA) โดยทดสอบที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า พนักงานสตรีระดับหัวหน้ากับพนักงานสตรีระดับปฏิบัติการให้ความสำคัญกับบทบาทของคุณลักษณะ ต่อระดับความคาดหวังที่จะประสบความสำเร็จแตกต่างกันในทุกประเด็น ในส่วนของบทบาทของศักยภาพการบริหารพบว่า มีระดับความคาดหวังที่จะประสบความสำเร็จแตกต่างกันเช่นเดียวกัน แต่มีเพียงบทบาทการควบคุมในประเด็นเกี่ยวกับความต้องการหลักเกณฑ์การประเมินผลที่สมเหตุสมผล ซึ่งประเมินประสิทธิภาพการทำงานตามความเป็นจริง และความต้องการให้องค์การตระหนักถึงผลตอบแทนที่ได้รับจากคุณภาพของงานที่ทำได้ จากการทดสอบเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างคุณสมบัติของผู้ตอบแบบสอบถาม กับบทบาทของพนักงานทั้งสองระดับที่มีต่อระดับคาดหวังที่จะประสบความสำเร็จ พบว่าอายุและตำแหน่งปัจจุบันมีความสัมพันธ์กับบทบาทคุณลักษณะส่วนบุคคล และบทบาทศักยภาพการบริหารใน ทุกประเด็น ในส่วนของระดับการศึกษา รายได้ และระยะเวลาการปฏิบัติงานกับองค์การ มีความสัมพันธ์กับบทบาทคุณลักษณะส่วนบุคคล และบทบาทศักยภาพการบริหารในเกือบทุกประเด็นที่ศึกษา
BACKGROUND OF STUDY Many organizations presently paid less attention to female’ roles. Actually, there were no significant differences between male’s and female’s work performances. Management should recognize of female’s work performances in work participation both in self – charactered roles and managerial roles. In addition, female’s workers should be considered as the important factors to strengthen organizational effectiveness. METHOD The sample were selected from eleven Thai commercial banks at their headquarters to respond distributed questionnaires. A total of five hundred and nine usable participants were obtained by two hundred and nine female supervisors and three hundred operating employees. The contents of questionnaires were verified and approved by professors. The statistical methods to analyze and conclude the data were mean, percentage, t-test, and one-way ANOVA. RESULTS There were significant differences between the mean responses of supervisors and operating employees to self – charactered roles and managerial roles. However, there were no significant differences to criteria of personal appraisal and rewards on managerial roles. It was found that there were relationships between respondents’ age and work status and their self – charactered roles and managerial roles. Moreover, there were strong relationships between respondents’ level of education, income and their work experiences.
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3408
Appears in Collections:Research Reports

Files in This Item:

File Description SizeFormat
suthinan_poms2.pdf50.12 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback