DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Institute of Research and Innovation Development >
Research Reports >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3393

Title: ผลกระทบของอัตราแลกเปลี่ยนต่อมูลค่าการส่งออกภายใต้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวภายใต้การจัดการ
Other Titles: The impact of exchange rate on export volumes under managed float system
Authors: ลักคณา วรศิลป์ชัย
Keywords: อัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว -- วิจัย
อัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว -- ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ -- วิจัย
การควบคุมสินค้าขาออก -- วิจัย
ลักคณา วรศิลป์ชัย -- ผลงานวิจัย
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ -- ผลงานวิจัย
Issue Date: 2548
Publisher: ทบวงมหาวิทยาลัย
Abstract: รายได้หลักของประเทศไทยมาจากการส่งสินค้าไปขายยังตลาดต่างประเทศ วิกฤตการณ์ทางการเงินที่เกิดขึ้นในปี 2540 ประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงระบบอัตราแลกเปลี่ยนจากแบบตะกร้าเงินมาเป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนเป็นแบบลอยตัว ส่งผลให้อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินสกุลต่างประเทศอ่อนค่าลง เมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางการเงิน ทฤษฎีอัตราแลกเปลี่ยนกล่าวว่าถ้าค่าเงินบาทอ่อนตัวลงเทียบเงินสกุลต่างประเทศ สินค้าส่งออกของไทยจะมีราคาถูกลงในสายตาของชาวต่างประเทศและจะส่งผลให้ประเทศไทยสามารถเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของสินค้าส่งออกในตลาดโลกได้ งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ว่าการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนส่งผลอย่างไรต่อมูลค่าการส่งออกสินค้าที่สำคัญของไทย การศึกษาครั้งนี้ได้พิจารณา 5 อุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ อุตสาหกรรมส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ อุตสาหกรรมส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป อุตสาหกรรมส่งออกยานยนต์ อุตสาหกรรมอาหารสำเร็จรูป และอุตสาหกรรมซอฟแวร์ โดยใช้ข้อมูลรายเดือนในช่วงเวลา กรกฎาคม 2540 – มิถุนายน 2547 และวิเคราะห์ด้วยวิธีทางเศรษฐมิติ (Econometric Times Series Analysis) ผลการศึกษาพบว่าค่าเงินบาทที่เปลี่ยนแปลงไปจะมีผลต่อมูลค่าการส่งออกของ อุตสาหกรรมซอฟแวร์เท่านั้น แต่จะไม่มีผลต่ออุตสาหกรรมอัญมณี และเครื่องประดับ อุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป อุตสาหกรรมส่งออกยานยนต์ และอุตสาหกรรมอาหารสำเร็จรูปหรืออาจกล่าวได้ว่า เมื่อเงินบาทอ่อนตัวลงไม่ได้ทำให้ประเทศไทยเกิดความได้เปรียบทางด้านราคาสินค้าส่งออกในทุกอุตสาหกรรมหรือทุกประเภทที่ส่งออกไปจำหน่าย จากผลการวิจัยพบว่ามีเฉพาะอุตสาหกรรมซอฟแวร์เท่านั้นที่ได้รับประโยชน์ ดังนั้นจากผลการศึกษาจะเห็นได้ว่าการเปลี่ยนแปลงในอัตราแลกเปลี่ยนเพียงอย่างเดียว อาจมิใช่ปัจจัยที่ทำให้ประเทศไทยเกิดความได้เปรียบทางด้านราคาสินค้า หรือไม่สามารถเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในด้านราคาส่งออกสินค้าได้ ทั้งนี้เพราะว่าผลของอัตราแลกเปลี่ยนที่มีต่อมูลค่าสินค้าส่งออกในแต่ละอุตสาหกรรมแตกต่างกันออกไป ดังนั้นรัฐบาลควรกระตุ้นภาคส่งออกโดยการดำเนินนโยบายด้านอื่น ๆ ควบคู่กันไป เพื่อพัฒนาศักยภาพการแข่งขันกับประเทศอื่น ๆ ได้
Thai economy has depended on the export sector for many years. Thailand faced the Asian financial crisis in 1997, and the Thai monetary has changed from the fixed exchange rate system to the managed float exchange rate system since July 1997. The Thai Baht depreciated against the U.S. dollar under the new controlled and floating system. Based on the exchange rate theory, the depreciation of Thai Baht resulted in cheaper prices of export products. This may result in the strong competitive advantage on the Thai export sectors. The purpose of this study is to investigate the impact of the floating Thai Baht on the export volumes by using the econometric time series model. This research explores five major industry of Thailand, namely, the jewelry industry, the garment industry, the automobile industry, the food industry, and the software industry. The monthly data covers from July 1997 to June 2004. The results show that the change of the exchange rate only has impacts on the export volumes of the software Industry. Therefore, the depreciation of Thai baht has impacts on the increasing export volumes of the software industry. The research also shows that the floating Thai baht does not have any impact on the jewelry industry, the garment industry, the automotive industry, or the food industry. It implies that the floating Thai baht is not beneficial to all Thai export sectors. Therefore, the Thai government should implement other policies to make major industries more competitive by improving the product quality.
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3393
Appears in Collections:Research Reports

Files in This Item:

File Description SizeFormat
lugkana_wora.pdf77.43 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback