DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Institute of Research and Innovation Development >
Research Reports >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3385

Title: การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Political participation of the Bangkokians
Authors: ประสิทธิ์ สันติกาญจน์
Keywords: การเมือง--วิจัย
ประสิทธิ์ สันติกาญจน์--ผลงานวิจัย
Issue Date: 2552
Publisher: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
Abstract: งานวิจัย การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญอยู่ 3 ประการ คือ 1. เพื่อค้นหารูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร 2. เพื่อวิเคราะห์ว่า รูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครมีลักษณะที่สะสมพอกพูนเป็นมิติเดียวบ้างหรือไม่ หรือมีลักษณะเป็นหลากหลายมิติ 3. เพื่อทดสอบว่า ตัวแบบเชิงสาเหตุและผลที่นำมาใช้ในการศึกษาครั้งนี้มีอำนาจในการอธิบายพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองได้มากน้อยเพียงใด โดยพิจารณาว่าตัวแปรต่าง ๆ ในกรอบแนวความคิดนั้นจะมีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครหรือไม่อย่างไร และมากน้อยเพียงใด การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับชาติโดยเฉพาะซึ่งเก็บและรวบรวมข้อมูลจากเขตเมืองชั้นใน เขตเมืองชั้นกลาง และเขตเมืองชั้นนอกของกรุงเทพมหานครได้แก่ พื้นที่เขตเลือกตั้งที่ 10 (เขตห้วยขวาง เขตวัฒนา) พื้นที่เขตเลือกตั้งที่ 9 (เขตคลองเตย) และพื้นที่เขตเลือกตั้งที่ 35 (เขตบางขุนเทียน เขตบางบอน) ตามลำดับ รวมทั้งบุคคลที่เป็นสมาชิกองค์กรต่าง ๆ ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ (สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ การประปานครหลวง องค์การโทรศัพท์ โรงงานยาสูบ องค์การสื่อสารมวลชน การบินไทย การท่าเรือ ธนาคารกรุงไทย และกลุ่มกิจกรรมคลองเตย อาสาสมัครป้องกันพลเรือน กลุ่มสร้างสรรค์พัฒนาชุมชนล็อคต่าง ๆ สมาพันธ์ชุมชนแออัดคลองเตย) ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างรวมทั้งสิ้น 773 ราย โดยเก็บข้อมูลจากหัวหน้าครัวเรือนผู้ซึ่งมีรายได้ที่แน่นอนจากการประกอบอาชีพแล้ว พร้อมทั้งเป็นผู้ที่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 6 มกราคม 2544 ที่ผ่านมา ส่วนวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลนั้นใช้ทั้งการให้ตอบแบบสอบถาม และการสัมภาษณ์ควบคู่กัน ผลจากการวิจัยนี้พบว่า เมื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่เป็นข้อมูลส่วนบุคคลกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองนั้นปรากฏว่า เพศ สถานภาพสมรส อายุ ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนตัวแปรภูมิเนาเดิมจำนวนบุคคลที่อาศัยอยู่ในครัวเรือน ไม่ปรากฏว่ามีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมทางการเมือง นอกจากนี้หากตัวแปรคู่ใดที่มีความสัมพันธ์กันแล้ว ยังพิจารณาต่อไปอีกว่า ขนาดและทิศทางของความสัมพันธ์นั้นมีลักษณะที่เป็นไปในทางบวกหรือลบ รวมทั้งตัวแปรที่เป็นปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคลเหล่านั้นสามารถทำนายหรือประมาณค่าของตัวแปรการมีส่วนร่วมทางการเมืองได้มากน้อยเพียงใด นอกจากนี้แล้วยังพบว่า รูปแบบพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นไปตามแบบกัตต์แมนที่มีลักษณะสะสม และเป็นมิติเดียว สำหรับตัวแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผล ที่ได้นำมาเป็นหลักในการวิจัยประกอบไปด้วยตัวแปร 6 ตัวแปรดังนี้ 1. สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคม 2. ความผูกพันกับองค์กร 3. ความรู้สึกในหน้าที่ความเป็นพลเมือง 4. ความรู้สึกในความไว้วางใจทางการเมือง 5. ความรู้สึกในความสามารถทางการเมือง 6. การมีส่วนร่วมทางการเมือง ผลที่ออกมาชี้ให้เห็นว่าความผูกพันกับองค์กรมีผลกระทบในทางตรง และเป็นผลกระทบในเชิงบวกต่อการมีส่วน ร่วมทางการเมืองสูงสุด ส่วนความรู้สึกในหน้าที่ความเป็นพลเมือง ความรู้สึกในความไว้วางใจทางการเมือง ความรู้สึกใสในความสามารถทางการเมือง และสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคม ต่างก็มีผลกระทบต่อการมีส่วนร่วมทางการเมือง รองลงมาเป็นลำดับ สำหรับสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคม มีผลกระทบในเชิงลบ ส่วนผลกระทบในทางอ้อมที่มีต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองนั้นปรากฏว่า ความรู้สึกในหน้าที่ความเป็นพลเมืองมีผลกระทบสูงสุด ส่วนความผูกพันกับองค์กร สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมรวมทั้งความรู้สึกในความไว้วางใจทางการเมือง ล้วนแล้วแต่มีผลกระทบในทางอ้อม และเป็นผลกระทบในเชิงบวกทั้งสิ้น ยกเว้นแต่ความรู้สึกในความสามารถทางการเมือง ที่ไม่ได้มีผลกระทบในทางอ้อมต่อการมีส่วนร่วมทางการเมือง ซึ่งโดยสรุปแล้วตัวแบบความสัมพันธ์ในเชิงสาเหตุและผลที่ประกอบไปด้วยตัวแปรสาเหตุทั้งสิ้น 5 ตัวแปรนั้น มีความสามารถที่จะอธิบายความแปรผันของการมีส่วนร่วมทางการเมืองได้เป็นจำนวนร้อยละ 22
The objectives of “Political Participation of the Bangkokians” are as follows: 1. To find the pattern of political participation of the Bangkokians. 2. To analyze the pattern of the political participation of the Bangkokians to see Whether it is accumulated in the form of uni-dimensional hierarchy or multi-dimensional appearance. 3. To examine whether the Causal Modeling used in this research can explain the political participation behavior of the Bangkokians by considering the influences of each variable in the conceptualization to find out how it can clarify the political participation of the Bangkokians. This research is aimed especially at studying the political participation behavior in the national level by collecting all the data from 3 city areas: inner, middle and outer. These areas include the 10th election area (Huay Khwang and Wattana districts). The 9th (Klong Toey district) and the 35th (Bang Khun Tien and Bang Bon districts) respectively. All 773 subjects also comprise the members of such formal and informal organizations as the Labor Unions of State Enterprises, the Metropolitan Waterworks Authority, Telephone Organization of Thailand, Thailand Tobacco Monopoly, The Mass Communication Organization of Thailand, Thai Airways International Public Company Limited, Part Authority of Thailand, Krung Thai Bank Public Company Limited, and Klong Toey Voluntary Groups. Data collecting techniques include questionnaires and interviews given to the heads of the families who have regular incomes and the rights to vote in the January 6, 2001 election. The findings are as follows: In the terms of personal data, sex, marital status, age, and periods of the stay in Bangkok are significantly correlated with the political participation whereas the place of birth and the number of the family members aren’t. The behavioral political participation of the Bangkokians is in accordance with Guttman’s accumulative, uni-dimensional hierarchy. The Causal Modeling is consisted of six variables: socio-economic status, organizational affiliation, sense of political trust, sense of political efficacy and political participation. The outcome indicates that organizational affiliation has the most positively and directly effects to political participation followed by such variables as sense of civic obligation, sense of political trust, sense of political efficacy and socio-economic status respectively with the negative effect of the socio-economic status. As for the indirect effect, the highest, positive effect to the political participation falls in sense of civic obligation followed by organizational affiliation socio-economic status and sense of political trust respectively except for sense of political efficacy. In conclusion, the Causal Modeling composed of such 5 variables can 22% explain the modification of political participation
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3385
Appears in Collections:Research Reports

Files in This Item:

File Description SizeFormat
prasit_sant.pdf1.87 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback