DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Institute of Research and Innovation Development >
Research Reports >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3384

Title: พฤติกรรมการเปิดรับ การใช้ประโยชน์ และความต้องการข่าวสารพุทธศาสนาของพุทธศาสนิกชนชาวไทย
Other Titles: Selective exposure, uses and needs about Buddhism information of Thai buddhist
รายงานการวิจัยเรื่อง พฤติกรรมการเปิดรับ การใช้ประโยชน์ และความต้องการข่าวสารพุทธศาสนาของพุทธศาสนิกชนชาวไทย
Authors: ประทุม ฤกษ์กลาง
Keywords: การสื่อสาร -- แง่ศาสนา -- พุทธศาสนา -- วิจัย
สื่อมวลชน -- แง่ศาสนา -- พุทธศาสนา -- วิจัย
พุทธศาสนิกชน -- ไทย -- วิจัย
พุทธศาสนา -- ไทย -- วิจัย
ประทุม ฤกษ์กลาง -- ผลงานอาจารย์
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ -- ผลงานอาจารย์
Issue Date: 2552
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาความสนใจและการปฏิบัติตนตามแนวพุทธศาสนา พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสาร การใช้ประโยชน์ ความต้องการข่าวสารพุทธศาสนา และความคิดเห็นของพุทธศาสนิกชนต่อรูปแบบการสื่อสารเผยแพร่พุทธศาสนา โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณด้วยการวิจัยสำรวจผสานกับการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ การวิจัยสำรวจได้เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างพุทธศาสนิกชนชาวไทยทั่วประเทศ จำนวน 400 คน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างกับพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศ จำนวน 100 คน การวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงสำรวจกระทำโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ผลการทอสอบสมมุติฐานการวิจัยเชิงสำรวจพบว่าพุทธศาสนิกชนที่มีอายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ ถิ่นที่อยู่แตกต่างกัน มีความสนใจ และการปฏิบัติตามแนวพุทธศาสนาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ พุทธศาสนิกชนที่มีอายุ อาชีพ รายได้ ถิ่นที่อยู่แตกต่างกัน มีความบ่อยครั้งในการเปิดรับข่าวสารพุทธศาสนาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ พุทธศาสนิกชนที่มีอายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ ถิ่นที่อยู่อาศัย ความสนใจและการปฏิบัติตนตามแนวพุทธศาสนาแตกต่างกัน มีการเปิดรับเนื้อหาข่าวพุทธศาสนา ความต้องการข่าวสารและการใช้ประโยชน์ข่าวสารพุทธศาสนา ตลอดจนมีความคิดเห็นต่อรูปแบบการเผยแพร่พุทธศาสนิกชนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ความสนใจและการปฏิบัติตนตามแนวพุทธศาสนา พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารพุทธศาสนา การเปิดรับเนื้อหาข่าวสารพุทธศาสนา ความต้องการข่าวสารพุทธศาสนา การใช้ประโยชน์ข่าวสารพุทธศาสนา มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนผลการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ ปรากฏผลดังนี้ พุทธศาสนิกชนมีความสนใจและการปฏิบัติตนตามแนวพุทธศาสนาในระดับปานกลาง สื่อที่ใช้เปิดรับข่าวสารพุทธศาสนามากที่สุด ได้แก่ สื่อโทรทัศน์ ประเด็นเนื้อหาที่เปิดรับมากที่สุด ได้แก่ หลักธรรมะ พุทธศาสนิกชนมีความต้องการข่าวสารด้านหลักธรรมะและการปฏิบัติธรรม พุทธศาสนิกชนมีการนำข่าวสารพุทธศาสนาไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันและปฏิบัติตาม การเผยแพร่พุทธศาสนายังมีอยู่น้อยเกินไป ไม่น่าสนใจและน่าเบื่อ ควรนำเสนอในรูปแบบใหม่ทันสมัย เข้าใจง่าย สะดวกต่อการพกพา มีสีสัน น่าตื่นเต้น น่าสนใจติดตามผสมผสานกับความบันเทิง และทำให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่ม
The research aims to investigate the interests and practices according to Buddhism principles, in relations to their selective exposure, uses, needs about Buddhism information, as well as their opinions about formats of Buddhism publicity. The study characterized by quantitative research and qualitative research, wherein 400 questionnaires were distributed to Thai Buddhists and 100 Thai Buddhists were being interviewed with guided questions. In testing the hypotheses, the data was tabulated by computer, with descriptive analysis and inferential statistics. The quantitative findings concluded the followings points: Thai Buddhists having differences to their age, educational level, occupation, income level, geographic origin, interest and practices according Buddhist principles will have significantly differences in frequencies in their selective exposure about Buddhism information according Buddhist principles. Thai Buddhists having differences in their age, educational level, and geographical origin, interest and practices according to Buddhist principles will have significantly differences in their selective exposure Buddhism-related-contents, uses, needs about Buddhism information as well as their opinions about format of Buddhist publicity. There is a significant relationship among Thai Buddhists’ interest and practice, Buddhism practices, frequencies and content in their selective exposure, uses, and needs Buddhism information and their opinions about format of Buddhist publicity. The qualitative findings concluded the following points: Majority of Thai Buddhists show an interest and practice according to Buddhism principles at the medium level. Television was ranked the top media that Thai Buddhists were exposed to the most. Buddhism-related-contents that Thai Buddhists like to be exposed to the most were Buddhist principles and practices. Thai Buddhists used Buddhism information as framework in their daily life, and as a role model for imitation. Thai Buddhists perceive that Buddhism publicity is still insufficient, uninteresting, and boring. Buddhism publicity should be more modern, ease for understanding, colorful, exciting, and entertaining that were tailor toward a specific target audience.
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3384
Appears in Collections:Research Reports

Files in This Item:

File Description SizeFormat
pratoom_rekk.pdf62.06 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback