DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Institute of Research and Innovation Development >
Research Reports >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3369

Title: การศึกษาพฤติกรรมการประหยัดพลังงานไฟฟ้าของบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Other Titles: The study of electricity-saving behavior of personnel at Bangkok university
รายงานการวิจัยเรื่อง การศึกษาพฤติกรรมการประหยัดพลังงานไฟฟ้าของบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Authors: ปริพล ทับทิมทอง
Keywords: พลังงานไฟฟฟ้า -- การอนุรักษ์ -- ไทย -- กรุงเทพฯ -- วิจัย
พลังงานไฟฟฟ้า -- การอนุรักษ์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
การใช้พลังงานไฟฟ้า -- ไทย -- กรุงเทพฯ -- วิจัย
การใช้พลังงานไฟฟ้า -- การศึกษาเฉพาะกรณี
การอนุรักษ์พลังงาน -- ไทย -- กรุงเทพฯ -- วิจัย
การอนุรักษ์พลังงาน -- การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ -- การใช้พลังงาน -- การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ -- การอนุรักษ์พลังงาน -- การศึกษาเฉพาะกรณี
ปริพล ทับทิมทอง -- ผลงานอาจารย์
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ -- ผลงานอาจารย์
Issue Date: 2552
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: งานวิจัยฉบับนี้เป็น การศึกษาพฤติกรรมในการประหยัดพลังงานไฟฟ้าบุคลากรของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยมีแบบสอบถามเป็นเครื่องมืในการศึกษา วิจัย เพื่อค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับ พฤติกรรมในการประหยัดพลังงานไฟฟ้าของบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ทั้ง 2 วิทยาเขต ผลจากการศึกษา ข้อมูลพื้นฐานของประชากรในเรื่องของ เพศ ตำแหน่ง อายุ ระดับการศึกษา และวิทยาเขต ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการประหยัดพลังงานไฟฟ้าของบุคลากรมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ส่วนการรับรู้ข่าวสารกับพฤติกรรมการประหยัดพลังงานไฟฟ้าแตกต่างกันไป ดังนี้ 1. การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์พลังงานมาก ส่งผลให้พฤติกรรมการแสดงออกการประหยัดพลังงานไฟฟ้ามากไปด้วย 2. การรับรู้นโยบายเกี่ยวกับการจัดการด้านพลังงานมาก ส่งผลให้พฤติกรรมการแสดงออกการประหยัดพลังงานไฟฟ้ามาก หรือน้อยก็ได้ไม่แน่นอน 3. การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการประหยัดพลังงานมาก ส่งผลให้พฤติกรรมการแสดงออกการประหยัดพลังงานไฟฟ้ามากไปด้วย 4. การรับรู้มาตรการประหยัดพลังงานของมหาวิทยาลัยกรุงเทพมาก ส่งผลให้พฤติกรรมการแสดงออกการประหยัดพลังงานไฟฟ้ามากไปด้วย 5. ความต้องการให้มีการเผยแพร่ความรู้ เกี่ยวกับเรื่องการใช้พลังงานอย่างประหยัดมาก ส่งผลให้พฤติกรรมการแสดงออกการประหยัดพลังไฟฟ้าน้อย แต่ถ้ามีความต้องการให้มีการเผยแพร่ความรู้ เกี่ยวกับเรื่องการใช้พลังงานอย่างประหยัดน้อยส่งผลให้พฤติกรรมการแสดงออกการประหยัดพลังงานไฟฟ้ามาก 6. วิธีการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับเรื่องการใช้พลังงานอย่างประหยัดมาก ส่งผลให้พฤติกรรมการแสดงออกการประหยัดพลังงานไฟฟ้ามาก นอกจากผลการศึกษาที่ได้ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น การศึกษาวิจัยเรื่องนี้ ยังได้พบข้อสังเกตที่น่าสนใจบางประการ ที่ให้คำแนะนำและสนใจ พฤติกรรมของบุคลากรส่วนใหญ่สนใจในเรื่องการประหยัดพลังงานไฟฟ้า ภายในมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ผลจากการที่ได้ศึกษา ได้บ่งบอกถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการประหยัดพลังงานไฟฟ้าในรูปแบบของการรณรงค์ เพื่อการประหยัดพลังงานไฟฟ้า และข้อเสนอแนะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องนำไปประยุกต์ใช้ เช่น การจัดกิจกรรมการประหยัดไฟฟ้า การประชาสัมพันธ์ การอบรม เป็นต้น
The purpose of this research was to study the electricity-saving behavior of personnel at Bangkok University. This study was the survey research which used questionnaire as the research tool to find the information about electricity-saving behavior of personnel who worked in both two campuses of Bangkok University. The result of this research was that the demographic data. Which include gender, position, age, educational level, and campus, did not affect the electricity-saving behavior of personnel at Bangkok University. The research findings about the relationship between personnel’s perception of information and electricity-saving behavior were as follow; 1. If the personnel’s perception of information about energy situation was at the high level, it affected the electricity-saving behavior to be at the high level. 2. If the personnel’s perception of energy management policy was at the high level, it affected the electricity-saving behavior to be both in the high and low level. 3. If the personnel’s perception of information about energy saving was at the high level, it affected the electricity-saving behavior to be at the high level. 4. If the personnel’s perception of Bangkok University’s regulation on energy saving was at the high level, it affected the electricity-saving behavior to be in the high level. 5. If the demand of personnel to see the university’s campaign on electricity-saving behavior was in the high level, it affected the electricity-saving behavior to be in the love level. However, if the demand of personnel to see the university’s campaign on electricity-saving behavior was in the low level, it affected the electricity-saving behavior to be in the high level. 6. If there were a lot of approach to distribute knowledge on electricity-saving behavior to personnel, it affected the electricity-saving behavior to be in the high level. This research also found that most of personnel are interested in electricity saving in the university. The result of this research indicated useful information to use in electricity saving campaign and some suggestion to apply in organizing electricity-saving activities, promotion, and training.
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3369
Appears in Collections:Research Reports

Files in This Item:

File Description SizeFormat
paripol_thub.pdf27.68 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback