DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Institute of Research and Innovation Development >
Research Reports >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3367

Title: ความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการเอาชนะอุปสรรค์ ของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี
Other Titles: Creative thinking and adversity quotient of undergraduate students
รายงานการวิจัยเรื่อง ความคิดสร้างสรรคและความสามารถในการเอาชนะอุปสรรคของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี
Authors: กิ่งแก้ว ทรัพย์พระวงศ์
Keywords: นักศึกษา -- การดำเนินชีวิต -- วิจัย
ความฉลาดทางอารมณ์ -- วิจัย
การจัดการตนเอง (จิตวิทยา) -- วิจัย
ความคิดสร้างสรรค์ -- วิจัย
กิ่งแก้ว ทรัพย์พระวงศ์ -- ผลงานอาจารย์
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ -- ผลงานอาจารย์
Issue Date: 2550
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: ความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการเอาชนะอุปสรรค (Adversity quotient หรือ AQ) เป็นคุณสมบัติสำคัญที่ทำให้บุคคลสามารถประสบความสำเร็จในด้านต่างๆ การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการเอาชนะอุปสรรคนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการเอาชนะอุปสรรค ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรภูมิหลังด้านระดับชั้นปี ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การศึกษาของบิดามารดา และรายได้ของครอบครัวกับความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการเอาชนะอุปสรรค รวมทั้งศึกษาเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการเอาชนะอุปสรรคของนิสิตนักศึกษาที่จำแนกตามตัวแปรด้านเพศ คณะวิชา อาชีพของบิดามารดา ภูมิลำเนาของครอบครัว และการอบรมเลี้ยงดูของครอบครัว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับภูมิหลังด้านต่าง ๆ ตลอดจนการอบรมเลี้ยงดูของครอบครัว และเพื่อวัดความคิดสร้างสรรค์และวัดความสามารถในการเอาชนะอุปสรรค กลุ่มตัวอย่างคือนิสิตนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ถึงชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2549 ขากสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชนรวม 8 สถาบัน จำนวนทั้งสิ้น 636 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson correlation coefficient) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมน (Spearman correlation coefficient) ค่าสถิติทดสอบที (t- test) การวิเคราะห์ความแปรปรวน หรือ ANOVA (Analysis of variance) และการวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีเชฟเฟ่ (Scheffe) การวิจัยแสดงผลดังต่อไปนี้ 1. ค่าเฉลี่ยความคิดสร้างสรรค์ของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีอยู่ในระดับปานกลางในขณะที่ค่าเฉลี่ย ความสามารถในการเอาชนะอุปสรรค์ (AQ) ของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีในระดับค่อนข้างสูง 2. ความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการเอาชนะอุปสรรค (AQ) ของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี มีความสัมพันธ์กันทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ตัวแปรภูมิหลังด้านระดับชั้นปี ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การศึกษาของบิดา และรายได้ของครอบครัว มี ความสัมพันธ์ทางบวกกับความคิดสร้างสรรค์ของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แต่การศึกษาของมารดาไม่มีความสัมพันธ์กับความคิดสร้างสรรค์ และไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรดังกล่าวทั้งหมดกับความสามารถในการเอาชนะอุปสรรค (AQ) ของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี 4. นิสิตนักศึกษาที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูของครอบครัวแตกต่าง มีความสามารถในการเอาชนะอุปสรรค (AQ) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนิสิตนักศึกษาที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูของครอบครัวแบบประชาธิปไตยมีความสามารถเอาชนะอุปสรรค (AQ) สูงกว่านิสิตนักศึกษาที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ไม่พบความแตกต่างของความสามารถในการเอาชนะอุปสรรค (AQ) ของนิสิตนักศึกษากับตัวแปรที่เป็นภูมิหลังด้านเพศ คณะวิชา อาชีพของบิดามารดา ภูมิลำเนาของครอบครัว 5. นิสิตนักศึกษาที่มีเพศ คณะวิชา อาชีพของบิดามารดา ภูมิลำเนาของครอบครัว และการอบรมเลี้ยงดูของ ครอบครัวแตกต่างกันมีความคิดสร้างสรรค์ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูล เพื่อหาแนวทางพัฒนาส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการเอาชนะอุปสรรค (AQ) ของบุคคลให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Creative thinking and adversity quotient (AQ) are important qualities for personal achievement. The purposes of this research were to investigate the level of creative thinking and adversity quotient of undergraduate students; to study the relationship between creative thinking and adversity quotient of undergraduate students; to study the relationship between background: year level, academic achievement, father and mother’s education, family income and creative thinking, adversity quotient of undergraduate students; and to compare creative thinking, adversity quotient of undergraduate students and background: gender, faculty, father and mother’s occupation, family hometown and rearing patterns. The research instruments used were questionnaires designed by the researcher to gather general information and information about rearing patterns, and measure creative thinking and adversity quotient. The sample was 636 undergraduate students from 6 state and private universities in academic year 2006. The data was analyzed by percentage, mean, standard deviation, Pearson correlation coefficient, Spearman correlation coefficient, t-test, Analysis of variance (ANOVA) and Scheffe’s multiple comparisons test. The results of research were as follows: 1. The creative thinking of undergraduate students was at moderate level and the adversity quotient (AQ) of undergraduate students was at moderately high level. 2. The creative thinking of undergraduate students was positively related to the adversity quotient (AQ) of undergraduate students at the .01 level of significance. 3. Background (year level, academic achievement, father’s education and family income) was positively related to the creative thinking of undergraduate students at the .01 level of significance. However, creative thinking was apparently unrelated to mother’s education. In addition, no relationship was found between adversity quotient (AQ) of undergraduate students and any of their background features. 4. The students with different rearing patterns indicated different adversity quotient (AQ) at the .056 level of significance. The students with democratic rearing patterns have higher adversity quotient (AQ) than the students with laissez-faire rearing patterns at the .05 level of significance. There were no differences in adversity quotient (AQ) for the students with different gender, faculties, father and mother’s occupation, and family hometown. 5. There were no differences in creative thinking for the students with different gender, faculties, father and mother’s occupation, family hometown and rearing patterns at the .05 level of significance. The results of this study can be of benefit to methods of developing and improving creative thinking and adversity quotient.
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3367
Appears in Collections:Research Reports

Files in This Item:

File Description SizeFormat
Kingkeaw_sapp.pdf51.67 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback