DSpace at Bangkok University >
Institute of Research and Innovation Development >
Research Reports >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3355
|
Title: | ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล |
Other Titles: | รายงานการวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล Factors influencing on internet usage beheviors of undergraduate students in Bangkok and its vicinity |
Authors: | ระวีวรรณ แก้ววิทย์ บุษรา ประกอบธรรม |
Keywords: | ผู้ใช้อินเตอร์เน็ต--ไทย--กรุงเทพฯ--วิจัย ผู้ใช้อินเตอร์เน็ต--พฤติกรรม--วิจัย ผู้ใช้อินเตอร์เน็ต--วิจัย อินเตอร์เน็ต--วิจัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ--ผลงานวิจัย ระวีวรรณ แก้ววิทย์--ผลงานวิจัย บุษรา ประกอบธรรม--ผลงานวิจัย |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยกรุงเทพ |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต เจตคติต่อการใช้อินเทอร์เน็ต และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตในด้านต่างๆ ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพและปริมณฑล สมมุติฐานของการวิจัย คือ นักศึกษาที่เรียนในกลุ่มสาขาวิชา ประเภทของสถาบันการศึกษา ภูมิลำเนาและชั้นปีที่แตกต่างกันจะมีพฤติกรรมและเจตคติต่อการใช้อินเทอร์เน็ตในด้านต่างๆ ที่แตกต่างกัน รวมทั้งเจตคติต่อการใช้อินเทอร์เน็ตของนักศึกษามีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตในด้านต่างๆ
การวิจัยเป็นเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษาระดับอุดมศึกษาของสถาบันการศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ สถาบันอุดมศึกษาของเอกชน สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลและราชภัฎ ทำการเก็บข้อมูลกลุ่มละ 2 สถาบัน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Multistage ซึ่งแบ่งเป็นการสุ่มแบบเป็นกลุ่ม (Cluster Random Sampling) การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) และการสุ่มตัวอย่างโดยกำหนดสัดส่วน (Quota Sampling) โดยแจกแบบสอบถามสถาบันละ 115 ชุด จำนวน 6 สถาบัน รวมเป็น 690 ชุด และได้รับคืนมาจำนวน 688 ชุด คิดเป็นร้อยละ 99.71 ของแบบสอบถามที่แจกทั้งหมด และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS For Windows เวอร์ชัน 13.0 เพื่อคำนวณหาค่าสถิติเชิงพรรณนา ค่าความถี่ของข้อมูลเบื้องต้น การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบจำแนกทางเดียว ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และวิเคราะห์สมการการถดถอยเชิงพหุ
ผลการวิจัยพบว่า อายุเฉลี่ยของนักศึกษาเท่ากับ 20.56 ปี มีการใช้อินเทอร์เน็ตโดยเฉลี่ย 3.75 วัน/ต่อสัปดาห์ และในแต่ละวันมีการใช้อินเทอร์เน็ตประมาณ 2.90 ชั่วโมง ประสบการณ์ในการใช้อินเทอร์เน็ตของแต่ละคน 5.40 ปี โดยวัตถุประสงค์ในการใช้อินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่จะใช้เพื่อความบันเทิง ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 54.2 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด เมื่อศึกษาแยกตามพฤติกรรมของการใช้งานในแต่ละด้านพบว่า ด้านการศึกษา มีการใช้อินเทอร์เน็ตสำหรับการค้นคว้าหาข้อมูล และรองลงมาคือ Download ข้อมูลเพื่อการเรียน ด้านบันเทิงมีการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการฟังเพลง และรองลงมาคือเล่นเกมส์ ด้านการติดต่อสื่อสาร มีการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ และรองลงมาคือเล่น MSN ด้านธุรกิจส่วนตัว ไม่ค่อยมีการใช้อินเทอร์เน็ตมากนัก และกลุ่มที่ใช้ด้านนี้มักใช้เพื่อการเลือกชมหรือซื้อสินค้าที่สนใจ ความแตกต่างในการใช้งานอินเทอร์เน็ตพบว่า ด้านการศึกษา เมื่อจำแนกตามปัจจัยต่างๆ พบว่าสถาบันเอกชนมีการใช้งานมากที่สุด ในแต่ละกลุ่มสาขามีการใช้งานไม่แตกต่างกัน ในแต่ละชั้นปีนั้น ชั้นปีที่ 3 มีการใช้งานมากที่สุด และนักศึกษาที่มีภูมิลำเนาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการใช้งานมากที่สุด ด้านบันเทิง เมื่อจำแนกตามปัจจัยต่างๆ พบว่าสถาบันเอกชนมีการใช้งานมากที่สุด และในแต่ละกลุ่มสาขาวิชามีการใช้งานไม่แตกต่างกัน ในแต่ละชั้นปีมีการใช้งานไม่แตกต่างกัน ในแต่ละภูมิลำเนามีการใช้งานไม่แตกต่างกัน ด้านการติดต่อสื่อสาร เมื่อจำแนกตามปัจจัยต่างๆ พบว่า สถาบันเอกชนมีการใช้งานมากที่สุด และแต่ละกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นกลุ่มที่มีการใช้ด้านนี้มากที่สุด และในแต่ละชั้นปีการใช้งานไม่แตกต่างกัน ในแต่ละภูมิลำเนามีการใช้งานไม่แตกต่างกัน ด้านธุรกิจ เมื่อจำแนกตามปัจจัยต่างๆ พบว่า สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลและราชภัฎมีการใช้งานมากที่สุด และกลุ่มสาขาวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์มีการใช้งานด้านนี้มากที่สุด และในแต่ละชั้นปีมีการใช้งานไม่แตกต่างกัน ในแต่ละภูมิลำเนามีการใช้งานไม่แตกต่างกัน เจตคติและประสบการณ์การใช้ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการใช้อินเทอร์เน็ตทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการศึกษา ด้านการติดต่อสื่อสาร ด้านบันเทิง และด้านธุรกิจ โดยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมด้านการศึกษาในทิศทางตรงกันข้าม สมการที่ใช้ในการพยากรณ์ จำนวนวันที่ใช้อินเทอร์เน็ตของนักศึกษา คือ ปริมาณการใช้อินเทอร์เน็ตในแต่ละสัปดาห์ = 0.977-0.547 (เพศ) + 0.214 (ด้านการศึกษา) + 0.288 (ด้านการติดต่อสื่อสาร) + 0.154 (ด้านธุรกิจ) + 0.072 (ประสบการณ์การใช้) The objectives of this research were to study internet using behavior attitudes, purposes of using the internet, and factors influencing internet using behavior of undergraduate students in Bangkok and its vicinity. The research hypotheses stated that students with different branches of study, types of institution, regions, and year levels had different attitudes and internet using behaviors. Moreover, attitude towards internet usage had an influence on internet using behavior. This research was based on a survey technique. The population of the research was undergraduate students in Bangkok and its vicinity from 3 groups of institutions consisting of public universities; private universities; and Rajamangala Universities of Technology (RMUT) and Rajabhat universities (RU). The data was gathered from 2 institutions from each group. The research used multistage sampling technique. It consisted of cluster random sampling, stratified random sampling, and quota sampling.
The research findings were that the average age of students was about 21 year old. The average frequency of using the internet was every 3 or 4 day per week and almost 3 hours each day. The average experience of using the internet was about 5 year. Most of the sample size used the internet for entertainment (54.2%). Regarding education, students used the internet for searching information. For entertainment, the internet was used as a means for listening to music. For communication, the students used the internet to send and receive messages via e-mails. There were few circumstances when the internet was used for business. Most private university students used the internet for education, entertainment, and communication purposes while RMUT and RU students mostly used the internet for business. No differences were found in terms of study branches, year levels, and regions, The relationships among attitude, experience of using the internet, and internet using behavior concerning education, entertainment, and business were found to be significantly negative at 0.05 level. The regression equation which predicted the frequencies of using the internet per week was shown below:
Freq = 0.977 – 0.547 (Sex) + 0.214 (Education) + 0.288 (Communication) + 0.154 (Business) + 0.072 (Experience) |
URI: | http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3355 |
Appears in Collections: | Research Reports
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|