DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Cluster of New Media & Design >
School of Law >
Master Degree >
Independent Studies >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/953

Title: การคุ้มครองพันธุ์สัตว์
Other Titles: Protection animal verieties
Authors: พงศธร สุทธากร, 2525-
Keywords: การคุ้มครองพันธุ์สัตว์
Issue Date: 2550
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: สารนิพนธ์ฉบับนี้มุ่งที่จะศึกษา เพื่อให้ได้ข้อมูลว่าประเทศไทยสมควรที่จะให้มีการคุ้มครองพันธุ์สัตว์อย่างกฎหมายสิทธิบัตรเช่นเดียวกับประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปหรือไม่ เพราะปัจจุบันประเทศสหรัฐอเมริกา และบางประเทศในแถบทวีปยุโรปก็ได้มีการให้การคุ้มครองแก่การประดิษฐ์คิดค้นพันธุ์สัตว์อย่างกฎหมายสิทธิบัตร เพราะประเทศเหล่านี้มองว่าเป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่แล้วจึงสมควรนำกฎหมายสิทธิบัตรมาปรับใช้เพื่อให้การคุ้มครองแก่พันธุ์สัตว์ ซึ่งหากประเทศไทยเห็นสมควรให้การคุ้มครองการปรับปรุงการประดิษฐ์คิดค้นพันธุ์สัตว์ตามกฎหมายสิทธิบัตร กรณีนี้ก็จะต้องทำการศึกษาว่าหลักเกณฑ์การให้การคุ้มครองแก่งานสิทธิบัตรตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ของไทยนั้นมีลักษณะประการใด มีความเหมาะสมและสามารถนำมาให้การคุ้มครองแก่การประดิษฐ์พันธุ์สัตว์ได้หรือไม่ ซึ่งกรณีนี้เราควรทำการศึกษาถึงกฎหมายของต่างประเทศที่ให้การคุ้มครองแก่การประดิษฐ์พันธุ์สัตว์ที่อาจขอรับสิทธิบัตรได้ ว่ากฎหมายของต่างประเทศ เช่น กฎหมายสิทธิบัตรของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้กำหนดถึงการขอรับสิทธิบัตรแก่งานประดิษฐ์ทางเทคโนโลยีชีวภาพอย่างไร หากเป็นกรณีที่ประเทศไทยเห็นสมควรให้มีการบัญญัติเป็นกฎหมายเฉพาะ เพื่อให้มีการคุ้มครองแก่พันธุ์สัตว์แยกต่างหากจากกฎหมายสิทธิบัตร เหมือนกับที่ประเทศไทยเคยได้บัญญัติกฎหมายเพื่อให้การคุ้มครองแก่พันธุ์พืชมาแล้ว ประเทศไทยนั้นมีความสมควรที่จะตรากฎหมาย เพื่อให้การคุ้มครองแก่การประดิษฐ์พันธุ์สัตว์ลักษณะใด เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับสภาพสังคมและเศรษฐกิจของประเทศไทยที่สุด
The objection of this research is studying to gain the information in order to show that “does Thailand should have animal varieties protection like law of Patent in United States or not.” Nowadays, the United States and some countries in Europe have the right to protect the invention of bloodline as Patent. These countries realized that every invention is deserved to have the law to protect it, by adapting the Patent. If Thailand agreed with this right, the result is, we have to study the principle of Patent according to the Patent of Thailand B.E. 2522, which will be discussed about the suitability and adaptability to use in real life. For this case should study the other’s law that provided the protection of the invention. For the example, what is the specification to get the Patent of biotechnology in the U.S. Moreover, if Thailand sees as appropriate that it should launch as the proper law to separate from the Patent as the protection of vegetation’s seed in order to make it suitable to the country as much as possible
Description: สารนิพนธ์ (น.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2550
Subjects: พันธุ์สัตว์ -- การคุ้มครอง -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
สัตว์ -- การคุ้มครอง -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
Advisor(s): อุดมศักดิ์ สินธิพงษ์
ตุล เมฆยงค์
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/953
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
pongsathorn_sutt.pdf542.79 kBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback