DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Cluster of New Media & Design >
School of Law >
Master Degree >
Independent Studies >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/911

Title: สัญญาทรัสต์รีซีทตามกฎหมายไทย
Other Titles: Trustee contract according to Thailand law
Authors: คมสัน ทุติยานนท์
Keywords: ทรัสต์รีซีท
เลตเตอร์ออฟเครดิต
Issue Date: 2550
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: เนื่องจากสภาพทางเศรษฐกิจของไทยได้มีการขยายตัวทางด้านการค้าระหว่างประเทศมากขึ้น ทั้งในด้านการส่งออกและการนำเข้าโดยประเทศไทยนั้นถือได้ว่าเป็นที่สนใจในการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติจำนวนมาก ดังนั้นจึงทำให้เกิดการทำสัญญาค้าขายระหว่างประเทศจำนวนมาก แต่อุปสรรคหนึ่งของการทำการค้าระหว่างประเทศนั้น คือ ระบบการชำระเงินค่าสินค้าที่รวดเร็ว การตรวจสอบความถูกต้องของสินค้า เป็นต้น โดยจากอุปสรรคดังกล่าวข้างต้นจึงทำให้เกิดการสร้างสัญญาใหม่ขึ้นอีกฉบับโดยสัญญาฉบับนี้จะแยกออกจากสัญญาหลัก(สัญญาซื้อขาย) นั้นก็คือสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิต โดยคู่สัญญาคือผู้สั่งซื้อสินค้ากับธนาคารที่ให้บริการ โดยการทำสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตนั้น ธนาคารจะทำการตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้องในการขนส่งสินค้านั้น และเมื่อถูกต้องครบถ้วนแล้วธนาคารก็จะทำการชำระเงินค้าสินค้าให้แก่ผู้ขาย และธนาคารก็จะรับเอกสารต่างๆนั้นไว้ เพื่อที่จะนำมามอบให้แก่ผู้ซื่อภายหลังที่ผู้ซื้อได้ชำระเงินค้าสินค้านั้นให้แก่ธนาคารแล้ว แต่ก็เกิดปัญหาภายหลังว่าผู้ซื้อนั้นไม่มีเงินมาชำระให้แก่ธนาคารได้ จึงเป็นที่มาของการเกิดสัญญาทรัสต์รีซีทขึ้น ซึ่งเป็นสัญญาต่อเนื่องมาจากการทำสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตนั้นเอง โดยสัญญาทรัสต์รีซีทนั้นได้มีขึ้น 40 กว่าปีได้แล้วในประเทศไทย แต่เนื่องด้วยสัญญาทรัสต์รีซีทนั้น ถือได้ว่าเป็นสัญญานอกประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ไม่ได้มีการบัญญัติลักษณะสัญญาประเภทนี้เอาไว้ แต่ศาลไทยก็มีคำพิพากษาที่ระบุว่าสัญญาทรัสต์รีซีทนั้นสามารถใช้บังคับได้ ซึ่งสามารถแยกออกเป็นช่วงๆตามระยะเวลาในการพิจารณาคดีของศาล และความเข้าใจของผู้พิพากษาในเรื่องของหลักวัตถุประสงค์ในการก่อเกิดสัญญาทรัสต์รีซีท สามารถแยกได้ดังนี้ 1 ) ในช่วงแรกนั้นศาลไทยมีแนวความคิดที่เกี่ยวกับสัญญาทรัสต์รีซีทนั้นว่าเป็นสัญญานอกบรรพ 3 ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในสินค้านั้นตามที่ได้มีการตกลงกันตามสัญญา ถือได้ว่าโอนให้แก่กันได้โดยยึดหลักความศักดิ์สิทธิ์ของการแสดงเจตนาเป็นหลักหากไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยอันดีของประชาชนก็ย่อมใช้บังคับได้ จึงทำให้การพิจารณาคดีของศาลไทยในช่วงนั้นให้น้ำหนักไปในทางเรื่องของกรรมสิทธิ์ในสินค้าว่าเป็นของใคร หลังจากมีการตกลงทำสัญญาทรัสต์รีซีทแล้ว ซึ่งเมื่อพิจารณาเรื่องกรรมสิทธิ์แล้วก็ค่อยมาดูว่าสิทธิหน้าที่ของใครควรเป็นเช่นไรในทางกฎหมาย 2 ) ช่วงปัจจุบันนั้นศาลไทยถือได้ว่ามีความเชี่ยวชาญมากขึ้นและรวมถึงว่ามีความเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของการตกลงทำสัญญาทรัสต์รีซีทมากกว่าเก่ามาก โดยได้มีการเปลี่ยนแนวความคิดของศาลฎีกาที่ว่า เมื่อเกิดข้อพิพาทที่เกิดขึ้นจากการผิดสัญญาในมูลของสัญญา-ทรัสต์รีซีทนั้น ศาลไม่ต้องทำการวินิจฉัยเรื่องของว่าใครเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในสินค้านั้นอยู่ในขณะผิดสัญญา แต่ศาลจะทำการวินิจฉัยในเรื่องของความสมบูรณ์ของตัวสัญญาเลยว่ามีความสมบูรณ์ตามกฎหมายหรือไม่ ถ้าสมบูรณ์ก็สามารถบังคับใช้ได้ โดยศาลได้มีความเห็นว่าการที่ธนาคารได้ตกลงทำสัญญาทรัสต์รีซีทนั้น ก็เพื่อเป็นการให้สินเชื่อให้กับลูกค้าทางหนึ่ง โดยข้อสัญญาที่ว่าให้กรรมสิทธิ์ในสินค้านั้นโอนให้กับธนาคารก็เพียงเพื่อว่าธนาคารนั้นจะได้มีหลักประกันในการปล่อยสินเชื่อ 3 ) อนาคต คือ ปัจจุบันนี้ได้มีการร่างพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจอยู่ ซึ่งน่าที่จะมีการประกาศใช้ในเร็วๆนี้ โดยพระราชบัญญัตินี้จะเป็นตัวเข้ามาปิดช่องว่างทางด้านกฎหมายของประเทศไทยในเรื่องของการใช้ทรัพย์เพื่อเป็นหลักประกันในการชำระหนี้ และพระราชบัญญัตินี้จะช่วยในเรื่องของการตีความทางด้านกฎหมายด้วยเพื่อให้มีความเฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น และรวมไปถึงผลการบังคับใช้เพื่อให้มีประสิทธิ์ภาพมากยิ่งขึ้นและอยู่ในหลักสากลที่ประเทศอื่นยอมรับ และถ้าร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้ถูกประกาศใช้ก็น่าจะทำให้การค้าขายระหว่างประเทศมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น
The Thailand’s economic was more expanding on the international transaction including both import and export. This enlargement was interested by many foreign investors. Thai was created so many international contracts but there are the obstacles on this matter ,such as the rapid payment system and the accuracy in examine the product. These obstacles force investor to create another contract to solve those obstacles which is the letter of credit contract. The parties are the buyer and the provided bank. This contract should push the burden to the provided banker to examine all document related to the transportation. The next procedure is the provided bank will complete the payment for the buyer after all documents were completely examined and those documents will be delivered to the buyer after all payments were paid by the buyer. This procedure has caused another problem which is when the buyer could not pay the payment to the provided bank. The trustee contract is created by this problem. In Thailand, this contract her been created for 40 years, though it has never been included to the civil and commercial code but there are many decisions from the court which verified that trustee contract were enforceable. There are three periods of the decision which divided by the understanding and the purpose of the trustee contract as follow: 1. First period Thailand thought that the trustee contract was not included in the civil and commercial code and the acquisition of the contract can be transferable which depend on the demonstration of intention, society peace and moral. Thai court emphasized on the acquisition right after entered in the trustee contract. This is the priority subject to consider before study the law. 2. Present, Thailand court had more capability in this matter and more understanding in the purpose of the trustee contract. The decision idea of the Supreme Court changed. They did not consider the acquisition anymore but they will consideres the entireness of the contract instead. If it was complete, it would be enforceable. The subject which bank entered to the trustee contract is considering as the procedure of giving the credit to the client. This contract is insurance policy for the bank when they give the credit. 3. EN the future, we should issue the security for business code which is being drafting right now. This code will solve the flaw of the international law in the matter of the security of the debt payment and clearly construe the legal term. This code also demonstrat the international standard which will be accepted by every country. This improvement will help our country clarify the international transaction.
Description: สารนิพนธ์ (น.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2550
Subjects: ทรัสต์รีซีต--ไทย--วิจัย
เลตเตอร์ออฟเครดิต--ไทย--วิจัย
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์--สัญญา--วิจัย
สัญญา (กฎหมายระหว่างประเทศ) --วิจัย
ทรัสต์รีซีต--วิจัย
เลตเตอร์ออฟเครดิต--วิจัย
Advisor(s): นเรศร์ เกษะประกร
สุรพล อ่อนอุระ
URI: http://dspace2.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/911
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
komsun_tuti.pdf670.59 kBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback