DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Cluster of New Media & Design >
School of Law >
Master Degree >
Independent Studies >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/910

Title: กรณีศึกษาและวิเคราะห์ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าว่าด้วยแนวทางการพิจารณาการปฏิบัติทางการค้าระหว่างผู้ประกอบการค้าส่งค้าปลีกกับผู้ผลิตหรือผู้จำหน่าย พ.ศ. 2549
Other Titles: Study the office the trade competition commission's regulation abuot guideline for unfair trade practices between wholesalers-retailers with suppliers B.E. 2006
Authors: ขจีรัตน์ คทวณิชกุล
Keywords: การแข่งขันทางการค้า
พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542
Issue Date: 2550
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: ธุรกิจค้าส่งค้าปลีกเป็นธุรกิจที่สังคมไทยรู้จักกันมาเป็นระยะเวลานานโดยในช่วงระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาธุรกิจค้าส่งค้าปลีกได้มีการปรับเปลี่ยนวิธีการในการเข้าถึงผู้บริโภคโดยมีการวางแผนธุรกิจที่ซับซ้อนขึ้นใช้เงินลงทุนที่มากขึ้นจนทำให้เกิดประเภทธุรกิจค้าส่งค้าปลีกที่หลากรายและเข้าถึงผู้บริโภคได้เป็นจำนวนมากกว่าธุรกิจค้าส่งค้าปลีกแบบดั้งเดิม และผลจากการเปิดการค้าเสรีให้กับธุรกิจค้าส่งค้าปลีกทำให้เกิดการแข่งขันกันอย่างรุนแรงไม่ว่าจะเป็นบรรดาผู้ประกอบการผู้ค้าส่งค้าปลีกด้วยกันเอง และแม้กระทั่งผู้ประกอบกิจการที่ไม่ได้อยู่ระนาบเดียวกันกับผู้ค้าส่งค้าปลีก เช่นผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายสินค้าก็ได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน เนื่องจากผู้ประกอบธุรกิจค้าส่งค้าปลีกจะมีฐานลูกค้าคือผู้บริโภคเป็นจำนวนมากจึงสามารถสั่งซื้อสินค้าในจำนวนที่มากได้เช่นเดียวกัน ด้วยความสามารถในการสั่งซื้อสินค้าเป็นจำนวนมากจึงทำให้มีอำนาจต่อรองกับฝ่ายผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายมากกว่าคู่ค้าปกติด้วยซึ่งเดิมที่การกำหนดราคานั้นฝ่ายผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายเป็นผู้กำหนดราคาสินค้ามาโดยตลอดแต่เมื่ออำนาจการต่อรองเปลี่ยนไปเนื่องจากยอดการสั่งซื้อสินค้าเป็นจำนวนมากจากฝ่ายผู้ประกอบธุรกิจค้าส่งค้าปลีกเป็นตัวกำหนดราคาแทนดังนั้นหากเป็นผลิตหรือผู้จำหน่ายรายย่อย อาจจะไม่สามารถทำกำไรต่อผลิตภัณฑ์ได้มากเท่าที่เคยได้จำหน่ายให้คู่ค้ารายอื่น ๆ แต่อาจจะได้ยอดสั่งซื้อจำนวนมากเป็นสิ่งที่ชดเชยกำไรต่อชิ้นแทน ซึ่งมีบางกรณีที่การใช้อำนาจต่อรองที่เหนือกว่าของผู้ประกอบธุรกิจค้าส่งค้าปลีกนั้นหากใช้เกินกว่าสมดุลที่ควรจะเป็นหรือใช้โดยไม่เป็นธรรมจะส่งผลกระทบโดยตรงกับทางผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายได้ ต่อมาในปี 2545 ผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายจึงได้มีการร้องเรียน และอาศัยเหตุผลจากการที่ถูกปฎิบัติในลักษณะที่ไม่เป็นธรรมทางการค้าจากฝ่ายผู้ประกอบธุรกิจค้าส่งค้าปลีก โดยร้องเรียนให้ภาครัฐดำเนินการตามกฎหมายซึ่งกฎหมายในที่นี้หมายถึง พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 แต่เนื่องจากพระราชบัญญัติดังกล่าวในส่วนบทบัญญัติมาตรา 29 นั้น ไม่ได้กำหนดพฤติกรรมใด ๆ ไว้ให้ชัดเจนว่าการกระทำหรือพฤติการณ์เช่นใดจะถูกเรียกว่าเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมทางการค้า ดังนั้นในปี 2549 สำนักงานคณะกรรมการแข่งขันทางการค้าจึงได้ออกระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าว่าด้วยแนวทางการพิจารณาการปฏิบัติทางการค้าระหว่างผู้ประกอบการค้าส่งค้าปลีกกับผู้ผลิตหรือผู้จำหน่าย พ.ศ. 2549 หรือ Guideline ขึ้น โดยเป็นการวางหลักเกณฑ์เพื่อใช้ในการพิจารณาพฤติกรรมทางการค้าของธุรกิจค้าปลีกค้าส่งไว้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา Guideline ประกอบกับพฤติกรรมทางการค้าและธรรมเนียมปฏิบัติทางการค้าระหว่างผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกรายใหญ่กับผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายว่ามีประสิทธิภาพสามารถควบคุมพฤติกรรมทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมและส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรมตามธรรมเนียมปฏิบัติทางการค้ากับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องหรือไม่ ซึ่งผลจากการศึกษาและวิเคราะห์ในสารนิพนธ์ฉบับนี้ผู้เขียนพบว่าแนวทางดังกล่าวแม้จะก่อให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายแต่แนวทางดังกล่าวก็มุ่งเน้นในการปกป้องฝ่ายผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายแต่เพียงฝ่ายเดียว ซึ่งในความเป็นจริงทางธุรกิจนั้นผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายรายใหญ่สามารถมีอำนาจต่อรองกับผู้ประกอบธุรกิจค้าส่งค้าปลีกและในบางพฤติการณ์หรือบางเงื่อนไขก็มีลักษณะที่อาจเรียกได้ว่าไม่เป็นธรรมต่อผู้ประกอบธุรกิจค้าส่งค้าปลีกด้วยเช่นกัน แต่ทางภาครัฐมิได้มีแนวทางใดที่จะก่อให้เกิดความสมดุลระหว่างกลุ่มผู้ประกอบการทั้งสองฝ่าย โดยออกแนวทางเพื่อเป็นแนวพิจารณาโดยมุ่งเน้นมาที่ฝ่ายผู้ประกอบธุรกิจค้าส่งค้าปลีกเพียงฝ่ายเดียว ซึ่งอาจไม่เป็นธรรมกับทางฝ่ายผู้ประกอบธุรกิจค้าส่งค้าปลีก
Retail business has known in our society for a long time. For many business owner try to adjust their business plane ,which be more complicated, by raising their capital fund. This approach made retail business much more effective and directed to the target group. The competitions between the business owners are raising and much more aggressive. This consequence not only effect the retail business but it is also affect the manufacture and the vendor as well. The business retailer ,which has large amount of client, can order the large number of product. This gives the business retailer the bargain power to deal with manufacture or vendor more effective than the regular client who has less number of orders than business retailer. The business retailer become price indicator and the manufacture or vendor will suffer from the consequence which reduces the profit to their business. This bargain power has to base on the moral reason. If it were faulty use, it would cause the great damages to the manufacture or the vendor. In year 2545 the manufacture and the vendor have file the motion which based on the immoral action of the business retailer. This motion requested the government to make legal action, according to the business competition Act B.E. 2542 but Section 29 according to this act did not clearly indicate the immoral business competition behavior. The Panel regulation on business competition was drafted in the year 2549 by the Business competition Panel which provides the examination procedure to conduct with the business retailer habit. This independent has a purpose to study how effective the guideline, the business habit and business tradition between the major business retailer and the manufacture or the vendor has and encourages the fairness competition in transaction. The result illustrated that those solution had created the justice to the manufacture and the vendor but it benefit only the manufacture and the vendor. In reality the manufacture and the vendor have a power to bargain with the business retailer and can force the unjust term to the business retailer, though the government try to balance the power between two groups by deploy the decision ,which focus only on the business retailer, that unjust to the business retailer.
Description: สารนิพนธ์ (น.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2550
Subjects: การแข่งขันทางการค้า--วิจัย
การแข่งขันทึ่ไม่เป็นธรรม--วิจัย
พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542--วิจัย
Advisor(s): นเรศร์ เกษะประกร
ชวลิต อัตถศาสตร์
URI: http://dspace2.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/910
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
khajeerat_cata.pdf2.41 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback