DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Cluster of New Media & Design >
School of Law >
Master Degree >
Independent Studies >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/903

Title: ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดในการใช้เครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือ (trustmark) ต่อผู้ให้บริการเครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือ กรณีศึกษา : เครื่องหมาย DBD verified ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
Other Titles: Legal problems of liability for trustmark usage for Trustmark provider DBD Verified Development Ministry of Commerce
Authors: ณฐพงษ์ กองแก้ว
Keywords: เครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือ
กฎหมายเกี่ยวกับความรับผิด
เครื่องหมาย DBD Verified
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
Issue Date: 2553
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จนในปัจจุบัน เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายทั้ง ในชีวิตประจำวันและในการดำเนินธุรกิจโดยใช้อินเตอร์เน็ตเป็น สื่อระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย ช่วยให้เกิดกระบวนการซื้อขายผ่านอินเตอร์เน็ตได้ด้วยความสะดวก รวดเร็วและประหยัดกว่าวิธีซื้อขายแบบดังเดิม ซึ่งการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่แพร่หลาย ในปัจจุบัน เช่น Business to Business (B2B), Business to Government (B2G) เป็นต้น อย่างไรก็ตามแม้ว่าการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์จะมีความแพร่หลายแต่อาจจะ หยุดการเติบโตได้เพราะเนื่องจากการทำธุรกรรมโดยคู่กรณีไม่สามารถพบปะกันได้ ทำให้ ขาดความมั่นใจในการทำธุรกรรม ซึ่งถ้าผู้ซื้อผู้ขายมีโอกาสได้เจรจากันโดยตรง หรือ มีการรับรองจากบุคคลที่สามหรือหน่วยงานที่เชื่อถือได้ว่าผู้ขายคนนี้ไว้ใจได้ จะทำให้คู่กรณี ตัดสินใจทำธุรกรรมได้ง่ายขึ้น เช่นเดียวกับการซื้อขายสินค้าทางออนไลน์ หากมีองค์กรที่เชื่อถือ ได้มารับรองว่าเว็บไซต์นั้น ๆ มีแนวการดำเนินธุรกิจที่ดี มีการปฏิบัติตามข้อตกลงที่ได้วางไว้ ตลอดจนมีความปลอดภัยในการทำธุรกรรมด้วย ผู้บริโภคย่อมมีความมั่นใจในการซื้อขาย ออนไลน์มากขึ้น ด้วยปัญหาดังกล่าวก็มีหน่วยงานบางหน่วยได้ตั้งเครื่องหมายขึ้นมามีชื่อว่า “เครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือ” โดยเครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือนี้มีหน้าที่ให้การ รับรองว่าเว็บไซด์ที่มีเครื่องหมายนี้แสดงอยู่บนเว็บไซด์เป็นเว็บไซด์ที่ได้มาตรฐาน และสร้าง ความเชื่อมั่น ในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ในเรื่องต่างๆ ซึ่งในต่างประเทศมีผู้ให้บริการ เครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือที่มีชื่อเสียง ตัวอย่างเช่น TRUSTe, BBBOnline, QWEBโดย องค์กรที่ได้ยกตัวอย่างมานั้น มีแนวนโยบายในการออกเครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือแก่ ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ตามแนวทาง OECD (The Organization for Economic Cooperation and Development) กำหนดไว้เพื่อให้ผู้ให้บริการเครื่องหมายรับรองความ น่าเชื่อถือได้กำหนดนโยบายไปในทางเดียวกัน ในส่วนของประเทศไทยได้มีการนำเครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือเข้ามาใช้เมื่อ ประมาณ พ.ศ.2548 มีชื่อว่า DBD Trustmark ออกโดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้ากระทรวง พาณิชย์ ในการขอใช้บริการเครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือต้องปฏิบัติตามข้อบังคับว่าด้วย การใช้เครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือ พ.ศ.2548 จากการศึกษาพบว่า ถ้าประเทศไทยได้มี การกำหนดประเภทของเครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือ, กำหนดมาตรการบังคับใช้ เครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือ, กำหนดมาตรการลงโทษผู้ประกอบการพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ที่ผิดสัญญาเครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือ และคุณสมบัติของผู้ประกอบการ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นอีกประการหนึ่งคือ ถ้าผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ที่เคยมีประวัติเกี่ยวกับการถูกเพิกถอนการใช้เครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือ ก็ไม่สามารถ ยื่นคำขอรับเครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือได้ หากได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าวแล้ว จะส่งผลให้เครื่องหมายรับรองความเชื่อถือของไทยมีการพัฒนาต่อไป
The Electronic Transactions is being developed continuously and highly popular in daily life as the medium of communication between the buyer and the vendor for doing online business. Buying and selling over the internet is more convenient easy and saving money for the parties comparing with traditional business, i.e. Business to Business (B2B) and Business to Government (B2G). However, even if electronic transactions have been so popular, but may be retarded because the parties cannot meet each other so they may lose their confidence on the transaction. If a dealer can negotiate directly or be guaranteed from someone or organization who can trust, it may be easier to make decision. Such as the electronic commerce, if take website on trust, have a good business plan, comply with the condition, including provide transaction-safety, so it build customer trust on e - commerce. For this problem, there are some organization provides a badge. It is called “Trustmark”. Trustmark promote online safety and trust, and confidence on e-commerce. There are a lot of famous web sites rely on trustmark in many country such as TRUSTe, BBBonline and Qweb. These organizations give trustmark for e-commerce businesses on way of OECD (The Organization for Economic Cooperation and Development). OECD was specifying the trustmark for dealer to do the same way. It is found that trustmark has been adopted since 2005 by DBD, apply known as DBD trustmark. So, the vendor must apply the Trustmark Regulation in 2005. This research, researcher was interested in Thailand trustmark and compare with another country. If shows that if Thailand make a clear point of can some issues of trustmark such as the types of trustmark, the application of trustmark, sanctions for emerchant and for additional, If e-merchant used to be withdraw their trustmark they can’t renew or get a new one. These may show the good sign of development of trustmark in Thailand.
Description: สารนิพนธ์ (น.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ , 2552
Subjects: ความรับผิด (กฎหมาย)--วิจัย
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ--วิจัย
การรับรอง (กฎหมายระหว่างประเทศ)--วิจัย
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า--วิจัย
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า--การศึกษาเฉพาะกรณี
Advisor(s): อรรยา สิงห์สงบ
ชวลิต อัตถศาสตร์
URI: http://dspace2.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/903
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
natapong_kong.pdf1.23 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback