DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Cluster of New Media & Design >
School of Law >
Master Degree >
Independent Studies >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/886

Title: มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุกคามทางอินเตอร์เน็ต (Cyberstalking)
Other Titles: Legislative measures on cyberstalking
Authors: รักข์ษิตา โพธิ์พิทักษ์กุล
Keywords: การคุกคามทางอินเตอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ต
Issue Date: 2550
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: อินเตอร์เน็ตเป็นเครื่องมือสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและเป็นที่นิยมอย่างมากในปัจจุบัน ซึ่งมีทั้งคุณและโทษในขณะเดียวกัน และจากลักษณะที่ไม่จำเป็นต้องเปิดเผยตัวของอินเตอร์เน็ตจึงมีความพยายามในการใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อก่ออาชญากรรมในรูปแบบที่พัฒนาตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี “การคุกคามทางอินเตอร์เน็ต” (Cyberstalking)เป็นอาชญากรรมรูปแบบใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไปจากการคุกคามแบบธรรมดา จากการศึกษากฎหมายการคุกคามทางอินเตอร์เน็ตของประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่ากฎหมายในแต่ละมลรัฐนั้นมีองค์ประกอบของการกระทำความผิดไม่แตกต่างกันเท่าใดนัก องค์ประกอบของการกระทำความผิดนั้นประกอบด้วย 1. มีการใช้หรือส่งการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ 2. มีการข่มขู่ ข่มขวัญ หรือรังควาน 3. มีเจตนาทำให้เหยื่อนั้นเกิดความกลัวเกี่ยวกับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน หรือความกลัวว่าจะเกิดภยันตรายกับคนใกล้ชิดหรือคนในครอบครัวของเหยื่อ และในแต่ละมลรัฐก็บัญญัติอัตราโทษของความผิดดังกล่าวไว้ไม่เท่ากัน บางมลรัฐถือว่าการคุกคามทางอินเตอร์เน็ตเป็นความผิดฐานเบาสำหรับการกระทำความผิดครั้งแรก บางมลรัฐถือว่าเป็นความผิดร้ายแรงและต้องรับโทษหนักขึ้นหากมีการกระทำซ้ำ สำหรับบางมลรัฐที่มิได้บัญญัติกฎหมายการคุกคามทางอินเตอร์เน็ตไว้โดยเฉพาะก็จะนำกฎหมายเกี่ยวกับการคุกคาม (Stalking Law) มาใช้เทียบเคียงเพื่อลงโทษผู้กระทำความผิด สำหรับประเทศไทยมีเพียงกฎหมายอาญามาตรา 326 มาตรา 328 และมาตรา 392 ที่สามารถนำมาปรับใช้ลงโทษผู้กระทำความผิดหากแต่บทลงโทษนั้นไม่รุนแรงพอที่จะยับยั้งหรือปราบปรามผู้กระทำความผิด และนอกจากนี้ยังมีพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.....(ฉบับสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ) ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีอัตราโทษสูงกว่าแต่ก็ยังไม่ครอบคลุมถึงการกระทำความผิดในลักษณะของการคุกคามทางอินเตอร์เน็ต ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ต้องศึกษาพฤติกรรมลักษณะของการคุกคามทางอินเตอร์เน็ตเพื่อหามาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยต่อไป
The Internet is a worldwide, publicly accessible series of interconnected computer networks that can bring about both positive and negative effects. Regarding the concealed aspect of the Internet, there is a high tendency of cyber crimes to take place in accordance with rapid advancement of technology. Cyberstalking has become the most recent criminal threat which has gigantic difference comparing to those common menaces. According to the study of the U.S. Cyber Crime Law, it indicates that states and cities in the country rely on the similar basis of violation ranging from sending and receiving information on electronic communications, generating hazardous threats or menaces, having an intention to torture over one’s life and treasury. Admittedly, each state has different levels of prosecution. In some states, the first violation of conducting the Internet threats is quite moderate while harsh punishment will come into action for the next illegal uses. Moreover, some states have no certain Cyber Crime Law, particularly the Stalking Law, for prosecuting those violators. Thailand has legislated section 326, 328, and 392 in the penal code to penalize cyber terrorists, but still the punishment is weak. However, Thailand Cyber Crime Law B.E. 2550 and Personal Data Protection Law reportedly have higher level of punishment but they are not identified to completely relate to the violation of the Internet threats. It is therefore significant to study an overall aspect of the Internet threats in order to legislate the proper Internet Law for the country.
Description: สารนิพนธ์ (น.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2550
Subjects: การคุกคามทางอินเตอร์เน็ต--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ--วิจัย
อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ--วิจัย
การคุกคามทางอินเตอร์เน็ต--วิจัย
อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์--วิจัย
Advisor(s): อรรยา สิงห์สงบ
อำนาจ เนตยสุภา
URI: http://dspace2.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/886
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
raksita_popi.pdf912.78 kBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback