DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Cluster of Business & Management >
School of Business Administration >
Master Degree >
Theses >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/733

Title: การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความมั่นคงในงาน ความเป็นครอบครัว และการได้รับการยอมรับจากคนรอบข้าง กับความภักดีในองค์การและความพอใจในงาน กรณีศึกษา : วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ประเภทอุตสาหกรรมเครื่องหนัง เฉพาะ บริษัท คราฟท์ เดอะ เบสท์ จำกัด และบริษัท พี ที เทรดดิ้ง จำกัด
Other Titles: Study of relationship among job security, family feeling, recognition and organizational loyalty and job satisfaction case study : Craft the Best Co., Ltd. and P.T. Trading Co., Ltd. in SME leather industry
Authors: สริยา จันทร์เพ็ญ
Keywords: ความสัมพันธ์ระหว่างความมั่นคงในงาน
อุตสาหกรรมเครื่องหนัง
บริษัท คราฟท์ เดอะ เบสท์ จำกัด
บริษัท พี ที เทรดดิ้ง จำกัด
Issue Date: 2550
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือเอสเอ็มอี มีบทบาทความสำคัญในการพัฒนา ระบบเศรษฐกิจของประเทศ เป็นทั้งแหล่งสร้างงาน สร้างรายได้ และเป็นรากฐานของเศรษฐกิจ ชุมชน การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบทฤษฎีความมั่นคงในงาน ความเป็นครอบครัว และ การได้รับการยอมรับจากคนรอบข้าง ซึ่งประกอบเป็นส่วนของคุณภาพชีวิตในการทำงาน สัมพันธ์ กับความภักดีในองค์การและความพอใจในงานของพนักงานระดับปฏิบัติงาน และเป็นแนวทางใน การศึกษาเพื่อส่งเสริมการสร้างวัฒนธรรมองค์การและรักษาบุคลากรในกิจการวิสาหกิจขนาด กลางและขนาดย่อม ประเภทอุตสาหกรรมเครื่องหนัง ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมการผลิตที่เน้นการใช้ แรงงาน(Labor Intensive) ที่มีความชำนาญงาน กรณีศึกษาเฉพาะบริษัท คราฟท์ เดอะ เบสท์ จำกัด และบริษัท พี ที เทรดดิ้ง จำกัด ระเบียบวิธีวิจัย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยทั้งการวิจัยเชิงสำรวจ และการวิจัยเพื่อทดสอบ สมมติฐาน ด้วยการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม จากกลุ่มประชากรของพนักงานระดับปฏิบัติการ ในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ประเภทอุตสาหกรรมเครื่องหนัง 2 แห่ง เป็นกรณีศึกษา เฉพาะ บริษัท พี ที เทรดดิ้ง จำกัด ในเขตกรุงเทพมหานคร และ บริษัท คราฟท์ เดอะ เบสท์ จำกัด จังหวัดสมุทรสาคร รวมประชากร 159 คน โดยถามความเห็นต่อปัจจัยความมั่นคงในงาน ความ เป็นครอบครัว และ การได้รับการยอมรับจากคนรอบข้าง สัมพันธ์กับความภักดีในองค์การและ ความพอใจในงาน โดยแจกแบบสอบถามด้วยตัวเองทั้งหมด การวิเคราะห์ผลใช้ ค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ (Pearson’s Product Moment Correlation) ในชุดคำสั่ง SPSS ผลการวิจัย พบว่าความมั่นคงในงาน ความเป็นครอบครัว และการได้รับการยอมรับจาก คนรอบข้าง มีความสัมพันธ์กับความภักดีในองค์การและความพอใจในงาน โดยการได้รับการ ยอมรับจากคนรอบข้าง เป็นเรื่องที่พนักงานมีความเห็นว่ามีความสำคัญเป็นลำดับแรกที่สัมพันธ์ กับความภักดีในองค์การและความพอใจในงาน โดยปัจจัยที่สำคัญเป็นเรื่องการได้แสดงความ คิดเห็นอย่างอิสระ
Small and Medium Enterprises or SMEs are important to Thai economy having direct impact at macro-economic level, particularly employment rate. The objective of this study is to test the relationship between Job security, family feeling and recognition, a part of quality of work life, and organization loyalty and job satisfaction among workers. Thai leather industry is a labor intensive industry and depends on skilled and experienced labor. The work processes require attention and care. The population of this study was 159 workers in SME leather industry from Craft The Best Co., Ltd. and P.T. Trading Co., Ltd. The respondents consider recognition from people around them and the ability to express their opinions as the most important factors. Job security, family feeling and recognition from people around them are found to relate to organizational loyalty and job satisfaction. The supervisors should pay attention to recognition and encourage workers to express their opinions. Work assignment should be made in accordance with each worker’s ability to promote the workers’ trust.
Description: วิทยานิพนธ์ (บธ..ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2550
Subjects: อุตสาหกรรมเครื่องหนัง--ไทย--วิจัย
คุณภาพชีวิตการทำงาน--วิจัย
ความพอใจในการทำงาน--วิจัย
ความมั่นคงในการทำงาน--วิจัย
การบริหารงานบุคคล--วิจัย
บริษัทคราฟท์ เดอะ เบสท์--วิจัย
บริษัทพี ที เทรดดิ้ง--วิจัย
Advisor(s): วันชัย อริยะพุทธิพงศ์
URI: http://dspace2.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/733
Appears in Collections:Theses
Theses

Files in This Item:

File Description SizeFormat
Sariya_chan.pdf640.02 kBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback