DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Cluster of Business & Management >
School of Business Administration >
Master Degree >
Theses >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/716

Title: การเปิดรับ และทัศนคติของเด็กที่มีต่องานโฆษณาแอนิเมชั่นผลิตภัณฑ์ขนมสำหรับเด็กและพฤติกรรมการซื้อ
Other Titles: Children's exposure and attitude toward animation advertising of snack products, and their afterward purchasing behavior
Authors: จุฬาดา สุขสถาพร
Keywords: โฆษณาแอนิเมชั่น
ผลิตภัณฑ์ขนมสำหรับเด็ก
พฤติกรรมการซื้
Issue Date: 2549
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการศึกษาการเปิดรับ และทัศนคติของเด็กที่มีต่องานโฆษณาแอนิเมชั่น ผลิตภัณฑ์ขนมสำหรับเด็กและพฤติกรรมการซื้อ โดยศึกษาจากงานโฆษณาแอนิเมชั่นประเภท ผลิตภัณฑ์ขนมสำหรับเด็ก ได้แก่ ปลาหมึกเต่าทอง (ซุปเปอร์แมน) ปลาหมึกเต่าทอง (เดอะบีทเทิล) โกโก้ ครั้นช์ (เมืองจีน) โกโก้ ครั้นช์ (มังกร) คุกกี้คริสพ์ คัทโตะ ฮันนี่สตาร์ คุกกี้มาตินเน่ ซูซู ปิ้ง ปิ้ง และ ซีลิโกะ สาหร่าย ที่ได้ทำการออกอากาศตั้งแต่เดือนตุลาคม ปี พ.ศ.2547 ถึง เดือนมิถุนายน ปี พ.ศ. 2548 ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์กลุ่ม (Group Interview) และการ วิจัยเชิงปริมาณโดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ในการวิจัยเชิงสำรวจ ได้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา เป็นเด็กที่มีอายุระหว่าง 6 – 12 ปี ศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1 – 6 อยู่ในโรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนเอกชน อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 200 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิง พรรรนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต สำหรับการทดสอบสมมติฐานใช้การวิเคราะห์ความ แปรปรวนแบบพหุคูณ (Multivariate Analysis of Variance - MANOVA) การวิเคราะห์ไค-สแควร์ (Chi - square) และการทดสอบสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) โดยมีการยอมรับหรือปฏิเสธสมมติฐานที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. เด็กเปิดรับชมงานโฆษณาแอนิเมชั่นประเภทผลิตภัณฑ์ขนมสำหรับเด็กมากที่สุดคือ งานโฆษณาโกโก้ ครั้นช์ (ชุดเมืองจีน) โดยพบว่า เด็กมีการเปิดรับชมโฆษณาแอนิเมชั่นประเภท ผลิตภัณฑ์ขนมสำหรับเด็กทางสื่อโทรทัศน์ ทางช่อง 9 เหมือนกัน 2. ทัศนคติของเด็กที่มีต่องานโฆษณาแอนิเมชั่นประเภทผลิตภัณฑ์ขนมสำหรับเด็ก พบว่า เด็กเพศชายชอบโฆษณา โกโก้ ครั้นช์ (เมืองจีน) ส่วนเพศหญิงชอบโฆษณา ซีลิโกะ สาหร่ายทะเล มากที่สุด และเด็กมีทัศนคติว่าโฆษณาแอนิเมชั่นสามารถทำให้ผลิตภัณฑ์ขนมสำหรับเด็กนั้น น่ารับประทานมากขึ้น เนื่องจากโฆษณาแอนิเมชั่น มีรูปแบบของการนำเสนอที่มีความสอดคล้อง กับตัวผลิตภัณฑ์ ทำให้มีผลต่อความสนใจในงานโฆษณาสำหรับเด็ก 3. พฤติกรรมหลังเปิดรับสื่อโฆษณาแอนิเมชั่นประเภทผลิตภัณฑ์ขนมสำหรับเด็ก พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการซื้อหลังจากที่ได้รับชมงานโฆษณาแอนิเมชั่นประเภทผลิตภัณฑ์ขนม เด็กไม่แตกต่างกัน โดยเด็กมีพฤติกรรมการซื้อ ผลิตภัณฑ์ตรา ซีลิโกะ สาหร่ายทะเล มากที่สุด แต่เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างมีสถานที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียนรัฐบาลและเอกชน ซึ่งแตกต่างกัน อาจทำให้ เด็กมีพฤติกรรมหลังเปิดรับสื่อโฆษณาแอนิเมชั่นที่แตกต่างกันได้ นอกจากนี้ยังพบว่า กลุ่มตัวอย่าง จะมีปัจจัยในการตัดสินใจซื้อมากในระดับที่เท่ากัน 4. ปัจจัยในการตัดสินใจซื้อของเด็กที่มีต่องานโฆษณาแอนิเมชั่นประเภทผลิตภัณฑ์ขนม สำหรับเด็ก พบว่า การเปิดรับชมงานโฆษณาแอนิเมชั่นประเภทผลิตภัณฑ์ขนมสำหรับเด็กมี ความสัมพันธ์กับทัศนคติของเด็กต่องานโฆษณาแอนิเมชั่นและพฤติกรรมหลังเปิดรับสื่อโฆษณา แอนิเมชั่นประเภทผลิตภัณฑ์ขนมสำหรับเด็ก และทัศนคติของเด็กต่องานโฆษณาแอนิเมชั่น ประเภทผลิตภัณฑ์ขนมมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมหลังเปิดรับสื่อโฆษณาแอนิเมชั่นประเภท ผลิตภัณฑ์ขนมสำหรับเด็ก
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2549
Subjects: ภาพยนตร์โฆษณา--วิจัย
ภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์--วิจัย
การสร้างภาพเคลื่อนไหวด้วยคอมพิวเตอร์--วิจัย
โฆษณากับเด็ก--วิจัย
โฆษณาทางโทรทัศน์กับเด็ก--วิจัย
โฆษณา--ขนม--วิจัย
พฤติกรรมผู้บริโภค--วิจัย
Advisor(s): รสชงพร โกมลเสวิน
URI: http://dspace2.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/716
Appears in Collections:Theses
Theses

Files in This Item:

File Description SizeFormat
chul_suks.pdf2.2 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback