DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Cluster of New Media & Design >
School of Law >
Master Degree >
Independent Studies >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/661

Title: ปัญหาการรับฟังพยานหลักฐานในสัญญาอิเล็กทรอนิกส์
Other Titles: Problem on admissibility of evidence in electronic contracts
Authors: สรรเสริญ ศิริวรรณ
Keywords: พยานหลักฐาน
สัญญาอิเล็กทรอนิกส์
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: ปัจจุบันได้มีการนําเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ ในการดําเนินกิจกรรมต่างๆ อย่าง แพร่หลาย ซึ่งรวมถึงการทําธุรกรรมทางการค้าพาณิชย์และการผูกนิติสัมพันธ์เข้าทําสัญญาทาง ธุรกิจต่างๆ จากเดิมใช้กระดาษเป็นหลักฐานในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคู่สัญญา ก็มีแนวโน้ม ที่กระทําในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องผ่าน ทางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ อาทิเช่น เครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet) หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ส่งผลให้การดําเนินกิจกรรมทางธุรกิจดังกล่าวเป็นไปด้วยความ สะดวกรวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่ายเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตามการทําสัญญาในแบบข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์นั้น อาจก่อให้เกิดปัญญาการรับฟังพยานหลักฐาน ของสัญญาอิเล็กทรอนิกส์ ความมั่นคงความปลอดภัยของข้อมูล รวมถึงความแท้จริงและถูกต้องครบถ้วน ของสัญญาที่ได้ทำขึ้นในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ อีกทั้งปัญหาในเรื่องสถานะทางกฎหมายที่ชัดเจนในการใช้สัญญาอิเล็กทรอนิกส์เป็นพยานหลักฐานในการดําเนินกระบวนการพิจารณา ในชั้นศาล ทั้งนี้ จากการศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายลักษณะพยานของประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศ อังกฤษ พบว่ากฎหมายของทั้งสองประเทศได้มรการกำหนดสถานะ ทางกฎหมายและหลักเกณฑ์การรับฟังพยานหลักฐานที่เป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ไว่อย่างชัดเจน ว่ามีความหมายและวิธีการ ครอบคลุมเพียงใด สารนิพนธ์ฉบับนี้ ผู้เขียนจึงได้นำเสนอแนวทางให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายวิธีพิจารณาความของไทย โดยกำหนดนิยามความหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้ชัดเจนว่า จัดเป็นพยานหลักฐานประเภทใด รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการนำสืบให้มีลักษณะพิเศษเป็นการเฉพาะ เพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะที่ซับซ้อนของพยานหลักฐานที่เป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการใช้สัญญาอิเล็กทรอนิกส์เป็นพยานหลักฐาน นอกจากนี้ เนื่องจากสภาพของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นสามารถแก้เปลี่ยนแปลงได้โดยง่าย จึงควรกำหนดให้มีการรับรองความแท้จริงและความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยจัดให้มีหน่วยงานเฉพาะที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่ให้การรับรองข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งจะใช้เป็นพยานหลักฐานให้มีความน่าเชื่อถือและรับรองว่าข้อมูลไม่ได้ถูกแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงภายหลัง ทั้งนี้ เพื่อให้ประเทศไทยมีกฎหมายเกี่ยวกับการรับฟังพยานที่มีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้กฎหมายเกี่ยวกับการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของไทยได้รับการยอมรับและสอดคล้องกับความเติบโตทางธุรกิจโลกในปัจจุบัน ซึ่งส่งผลให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันทางธุรกิจกับนานาอารยประเทศได้อย่างทัดเทียม
At present, there is the use of information technology for doing activities widely including trades, commerce and business contracts which rely papers as an evidence for showing the contract relations among parties, but now these are continue increasingly tend to be created in electronic data forms by using information technology such as internet or email, especially international business. As a result, international business transactions become more convenient and economy. However, the using of electronic contract may causes legal problems concerning admissibility of evidence, authenticity and convincing of evidence. Moreover, the distinctly legal status of electronic data is also the problem for using it as an evidence in procedure of the court. According to the study and comparison on law of evidence of the United States of America and the United Kingdom found that the such law of the both countries admit electronic data as an evidence by providing the definition, the rules of admissibility of evidence and indicating the legal status of electronic data. In this thesis, the writer presents the ways to amend Thai procedure law by providing the clearly definition of the electronic data and determining the particular rules of practice for adduction of evidence, which will be suitable for the complexity of electronic data. Seeing that, the electronic data can be modified or forged easily, therefore, should establish a specific official authority in order to consider and certify the authentication of electronic data, and so prevent the electronic data from being modified or changed later, in order to Thailand shall be availed of effective law on admissibility of evidence. Resulting in Thailand law of electronic commerce will be recognized, consistent with the glowing business world today and be able to compete with the international countries.
Description: สารนิพนธ์ (น.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2554
Subjects: พยานหลักฐาน--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ--การศึกษาเฉพาะกรณี
กฎหมายลักษณะพยาน--การศึกษาเฉพาะกรณี
กฎหมายลักษณะพยาน--การศึกษาเฉพาะกรณี
ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ--การศึกษาเฉพาะกรณี
Advisor(s): อัมภารัชฎ์ วิเศษสมิต
ตุล เมฆยงค์
URI: http://dspace2.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/661
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
sansern_siri.pdf5.19 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback