DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/5864

Title: พฤติกรรมการเปิดรับละครโทรทัศน์ไทยของ บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ที่มีผลต่อการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจของผู้ชมเจเนอเรชัน Z ในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Media exposure behavior of Thai television drama by Kantana Group Public Company Limited, affecting uses and gratification of generation Z viewers in Bangkok
Authors: บวรวงศ์ สุขนึก
Keywords: พฤติกรรมการเปิดรับสื่อ
การใช้ประโยชน์
ความพึงพอใจ
ละครโทรทัศน์
เจเนอเรชัน Z
Issue Date: 2567
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การศึกษาวิจัยเรื่อง พฤติกรรมการเปิดรับละครโทรทัศน์ไทยของ บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ที่มีผลต่อการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจของผู้ชมเจเนอเรชัน Z ในเขตกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การเปิดรับละครโทรทัศน์ไทยของ บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ของผู้ชมเจเนอเรชัน Z ในเขตกรุงเทพมหานคร 2) การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจต่อละครโทรทัศน์ไทยของ บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ของผู้ชมเจเนอเรชัน Z ในเขตกรุงเทพมหานคร 3) พฤติกรรมการเปิดรับละครโทรทัศน์ไทยของ บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ที่มีผลต่อการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจของผู้ชมเจเนอเรชัน Z ในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ กลุ่มผู้ชมละครโทรทัศน์เจเนอเรชัน Z ที่มีอายุ 18-27 ปี เพศชายและเพศหญิง และอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 200 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation) ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่า ความสามารถ เป็นพฤติกรรมการเปิดรับละครโทรทัศน์ไทยที่สำคัญมากที่สุด เนื่องจากบทละครที่มีเนื้อหาเข้มข้น และการดำเนินเรื่องที่น่าติดตาม 2) กลุ่มตัวอย่างเห็นว่า ด้านการหลีกหนีจากโลกความเป็นจริงชั่วขณะ เป็นการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจที่สำคัญมากที่สุด เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างได้รับความบันเทิงและความสนุกสนานหลังจากรับชมละครโทรทัศน์ 3) พฤติกรรมการเปิดรับละครโทรทัศน์ไทยของ บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ที่มีผลต่อการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจของผู้ชมเจเนอเรชัน Z ในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
A Study on media exposure behavior of Thai television drama by Kantana Group Public Company Limited, affecting uses and gratification of Generation Z viewers in Bangkok. The objectives of this study are: 1) To investigate the exposure to Thai television dramas by Kantana Group Public Company Limited among Generation Z viewers in Bangkok. 2) To examine the uses and gratification derived from Thai television dramas by Kantana Group Public Company Limited among Generation Z viewers in Bangkok. 3) To study media exposure behavior of Thai television drama by Kantana Group Public Company Limited, affecting uses and gratification of Generation Z viewers in Bangkok. The sample for this study consists of 200 Generation Z television drama viewers aged 18-27, both male and female, residing in Bangkok. Questionnaires were used as the data collection tool, and the data was analyzed using Pearson Product Moment Correlation statistics. The results of the study reveal that 1) The majority of the sample group considered the capability is the most important media exposure behavior to Thai television dramas, especially drama’s engaging content and plot development. 2) The sample group viewed temporary escape from reality as the most important aspect of uses and gratification, as it provided entertainment and enjoyment after watching the dramas. 3) Media exposure behavior of Thai television drama by Kantana Group Public Company Limited, affecting uses and gratification of Generation Z viewers in Bangkok, with statistical significance at the 0.01 level.
Description: การค้นคว้าอิสระ (นศ.ม.)--สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2566
Advisor(s): พรพรหม ชมงาม
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/5864
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
bowonwong_sukn.pdf12.07 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback