DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Cluster of New Media & Design >
School of Communication Arts >
Master Degree >
Theses >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/5647

Title: การรณรงค์ประชาสัมพันธ์และปัจจัยพยากรณ์ผลลัพท์เชิงพฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยของกลุ่มชายรักชายในซาวน่าเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Public relations compaign and factors predicting behavioral outcomes of condom use among MSM in sauna Bangkok Metropolitan
Authors: ณัฎฐวัฒน์ ตั้งปฐมวงศ์
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้เป็นการบูรณาการผลวิจัยเชิงสำรวจ และวิจัยเชิงคุณภาพที่มุ่งศึกษาปัจจัยที่ ส่งผลต่อผลลัพธ์เชิงพฤติกรรมที่เกิดจากการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ การใช้ถุงยางอนามัยของกลุ่ม ชายรักชายในซาวน่าเขตกรุงเทพมหานคร อันได้แก่ ปัจจัยด้านข้อมูลส่วนตัว ปัจจัยด้านอิทธิพลทาง สังคม สิ่งแวดล้อม และค่านิยมของกลุ่มชายรักชาย ปัจจัยทัศนคติต่อเนื้อหาที่เผยแพร่ผ่านสื่อ รณรงค์ประชาสัมพันธ์และรูปแบบของสื่อรณรงค์ประชาสัมพันธ์การใช้ถุงยางอนามัย และ พฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยของกลุ่มชายรักชายในซาวน่าเขตกรุงเทพมหานคร โดยผู้วิจัยได้การ สัมภาษณ์แบบเฉพาะกลุ่มที่ถือเป็นกลุ่มที่มีส่วนได้ส่วนเสียในการศึกษาวิจัยจำนวนทั้งสิ้น 63 คน ได้แก่ หน่วยงานองค์กรเชิงนโยบาย เจ้าของสถานประกอบการซาวน่า และกลุ่มตัวอย่างผู้เข้าใช้ บริการ และได้ทำการสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างชายรักชายในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 400 คน ที่ ได้ใช้บริการในสถานเซาน่าในเขตกรุงเทพมหานครภายในเวลา 3 เดือนที่ผ่านมา โดยได้สุ่มเขตที่ตั้ง ของสถานเซาน่าด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) และเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยไม่อาศัยหลักความน่าจะเป็น (Selection Non – Probability) ในแบบเจาะจง (Purposive) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ผลวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสมมติฐานด้วย สถิติไคสแควร์ (Chi Square) และสถิติการวิเคราะห์การถดถอยพหุ โลจิสติกส์ (Logistic Regression) ซึ่งกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และ 0.001 ผลการสัมภาษณ์เฉพาะกลุ่ม พบว่า ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่ารูปแบบของการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ที่จะเข้าถึงกลุ่มชายรักชายควรเป็นการณรงค์ประชาสัมพันธ์ที่มุ่งสร้างทัศนคติในทางบวกต่อการยอมรับการใช้ถุงยางอนามัยในกลุ่มชายรักชาย อันจะนำไปสู่ผลสัมฤทธิ์เชิงพฤติกรรมการและนำไปสู่การปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง โดยกำหนดเนื้อหาให้ความครอบคลุมลักษณะปัญหาการใช้ถุงยางอนามัยในกลุ่มชายรักชาย มีความชัดเจนและมีความคิดสร้างสรรค์ สั้นและกระชับและเข้าใจง่าย สามารถสร้างจุดสนใจ รวมทั้งมีความหลากหลายสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ทุกกลุ่ม (รสนิยมทางเพศ) และที่สำคัญเนื้อหาควรนำเสนอผลประโยชน์ที่คุ้มค่าต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ได้จากการใช้ถุงยางอนามัยอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งควรมุ่งไปที่ประเด็นเรื่องการรักตนเองและการเป็นห่วงตนเอง นอกจากนั่น ในด้านกลยุทธ์ในการรณรงค์ประชาสัมพันธ์อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่มีความเห็นว่า การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ ควรเพิ่มกลยุทธ์การสร้างความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกภาคส่วน และควรนำเสนอ เนื้อหาที่จะกระตุ้นอารมณ์ความรู้สึก โดยการใช้องค์ประกอบด้าน รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และ จิตใจที่สอดคล้องกับความรู้สึกของกลุ่มชายรักชาย ตลอดจนเพิ่มการนำเสนอสื่อ ที่ส่งเสริมทัศนคติ เปิดกว้างเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยของกลุ่มชายรักชายมากยิ่งขึ้นกว่าสื่อที่เป็นอยู่ใน ปัจจุบันทุกวันนี้เมื่อวิเคราะห์การพยากรณ์ทุกปัจจัยในภาพรวมที่มีต่อ พฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยของ กลุ่มชายรักชาย ผลการสำรวจพบว่า ปัจจัยในด้านปัจจัยด้านอิทธิพลทางสังคม สิ่งแวดล้อม และ ค่านิยมของกลุ่มชายรักชาย (X2 = 70.498, p< .001) และปัจจัยด้านทัศนคติของกลุ่มชายรักชายต่อการเปิดรับสื่อรณรงค์ประชาสัมพันธ์ฯ (X2 =181.397, p< .001) มีความสัมพันธ์และสามารถพยากรณ์พฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 โดยสามารถพยากรณ์พฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยของกลุ่มชายรักชายได้ร้อยละ 89.0, 74.2 ตามลำดับ ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาเป็นรายปัจจัยผลการสำรวจ พบว่า (1) ลักษณะข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มชายรักชาย ด้าน ระดับการศึกษา (X2 = 27.746 , p< 0.05) ด้านรสนิยมทางเพศ (X2 = 14.304 , p< 0.05) อายุ (X2 = 15.783, p< 0.05) และ รายได้ (X2 =13.726 , p< 0.05) มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ถุงอนามัยอย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 (2) ปัจจัยอิทธิพลทางสังคมจากกลุ่มเพื่อนและความรู้สึกใกล้ชิด (X2 = 142.365, p< .001) ปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการการเข้าถึงอุปกรณ์ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (2= 97.711, p< .001) และปัจจัยด้านทัศนคติต่อค่านิยมด้านคุณธรรมและจริยธรรม (X2 = 51.837, p< .001) ของกลุ่มชายรักชายมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญที่สถิติที่ระดับ 0.001 และสามารถพยากรณ์พฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยของกลุ่มชายรักชายได้ร้อยละ 74.5, 89.8, และ 85.8 ตามตัวแปล และ (3) ทัศนคติของกลุ่มชายรักชายต่ออิทธิพลของการเปิดรับสื่อรณรงค์ประชาสัมพันธ์ฯ (X2 = 99.166, p< .001) มีความสัมพันธ์และสามารถพยากรณ์พฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 และสามารถพยากรณ์พฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยของกลุ่มชายรักชายได้ร้อยละ 75.8 ผลการศึกษาสรุปได้ว่ากลุ่มหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ พฤติกรรมใช้ถุงยางอนามัยควรปรับปรุงถึงเนื้อหาและรูปแบบของการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้มี ความต่อเนื่อง และเข้าถึงกลุ่มชายรักชายมากขึ้น โดยตระหนักปัจจัยด้าน (1) รสนิยมทางเพศ (2) ความทันสมัยของสื่อ (3) ใช้สื่อให้ครบ 360 องศา (4) การสร้างสารให้สั้นกระชับ และชัดเจน
This research is characterized by both qualitative and quantitative research methodologies with an aim to investigate the factors predicting behavioral outcomes of Public Relations Campaign amongst MSM Condom users in Sauna, Bangkok Metropolitan. The factors under examination include personal factors of MSM condom users, their socio-and-environmental factors, and their attitudes towards the contents and formats promoted by the public relations campaign for condom usage, and the implications of these factors on the MSM condom usage. A focus group was conducted with 63 key informants who are current stakeholders working in the policy-making level of corporate sectors, business owners of sauna, and MSM condom users. Four hundred questionnaires were being responded by MSMs who used sauna services in Bangkok Metropolitan during the last three months. These saunas were being selected by using simple random sampling, and MSMs samples were being selected by using non – probability purposive sampling. The hypotheses were tested by analyzing the percentage, mean, standard deviation, Chi Square, and Logistic Regression, with the significance level of 0.05 and 0.001. The focus group finding revealed that most key informants think that the public relations campaign targeted towards MSMs should be campaigning efforts that aim to create MSM’s positive attitude toward the acceptance of condom usage, which will lead to continuous behavioral outcomes of the public relations campaigns. In respect to the contents of the public relations campaign, the most of the key informant expect the contents to (1) reflect nature of the comprehensive problems about condom usage amongst MSMs; (2) stimulate the interests of different groups of MSMs based on their sexual preferences; (3) be specific, short, concise, and creative in nature; and, most importantly, (4) stress the value of cost effectiveness benefits in changing the samples’ behavior continuously, by stressing “loving and caring for oneself” appeal. In respect to the strategies of the public relations campaign, most of the key informants expect an increase in the stakeholder connection, an increase in the uses of emotional-driven message characterized by pictorial, taste, sound, touch, and feeling aspects that will attract MSMs, and an increase in media space and topics that encourage positive attitude and open discussion about condom usage of MSMs. When investigating the prediction of all factors of public relations campaigns on MSM condom usage, the survey findings found that socio-and-environmental factors of samples (X2 = 70.498,p< .001) and the their attitude toward the media exposure (X2 = 181.397, p< .001) are significant predictors of MSM condom usage with the significance level of 0.001, accountable for 89.0% and 74.2% of MSM condom usage respectively. However, when investigating each factor in relations to the MSM condom usage, the survey findings revealed that: (1) the personal factors of sample, (X2 = 27.746 , p< 0.05) , sexual preference (X2 = 14.304 ,p< 0.05), age (X2 = 15.783, p< 0.05), and income (X2 = 13.726 , p< 0.05) are significantly related to MSM condom usage at the confidence level of 0.05 during the last 3 months; (2) Social factors from friends and intimates (X2 = 142.365, p< .001), environmental factor enabling accessibility to condoms (X2 = 97.711, p< .001) and their self-reported values and ethicality (X2 = 51.837, p< .001) of MSM samples are significant predictors of MSM condom usage, accountable for 74.5%, 89.8%, and 85.8% of MSM condom usage; and finally (3) their attitude toward media exposure about condom usage (X2 = 99.166, p< .001) are significant predictor of MSM condom usage at the significance level of 0.001, accountable for 75.8 of their condom usage. The focus group and survey findings suggest that the corporate sectors, business owners of sauna responsible for public relations campaign for condom usage amongst MSMs should tailor the contents and format toward MSMs’ insights and attitudes continuously and strategically, by recognizing significant factors-including sexual preference, modernity of the media, use 360 degree media solution, concise and short message, and stimulating positive attitude toward condom usage, and emotional-driven appeal that will lead to permanence in memory of MSMs and their acceptance for future condom usage.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2555
Advisor(s): พัชราภรณ์ เกษะประกร
พีรยา หาญพงศ์พันธุ์
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/5647
Appears in Collections:Theses

Files in This Item:

File Description SizeFormat
nuttawat_tang.pdf2.53 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback