DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Cluster of New Media & Design >
School of Communication Arts >
Master Degree >
Theses >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/5643

Title: "เพลินวาน" กับการสะท้อนสัญญะในอดีตของนักท่องเที่ยวในแต่ละช่วงวัย
Other Titles: "Plearnwan" and the reflection of nostalgia symbols among tourists in different age group
Authors: พรรณวิษา ใช้ไววิทย์
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาถึงเหตุผลในการมาท่องเที่ยวที่ “เพลินวาน” ของนักท่องเที่ยว 2) เพื่อศึกษาความรู้สึกถึงการโหยหาอดีตที่เกิดขึ้นใน “เพลินวาน” ของนักท่องเที่ยว และ 3) เพื่อศึกษาการรับรู้ของนักท่องเที่ยวในแต่ละช่วงวัยที่มีต่อสัญญะที่ “เพลินวาน” ใช้แสดงถึงการโหยหาอดีต ซึ่งการวิจัยครั้งนี้เป้นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากเอกสาร (Document Review) การสังเกต (Observation) และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) โดยใช้แนวคิดเกี่ยวกับการโหยหาอดีต ทฤษฎีสัญญะวิทยา ทฤษฎีการรับรู้ แนวคิดเกี่ยวกับการตลาดย้อนยุค และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาเป้นกรอบในการวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า เหตุผลที่ทำให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาที่ “เพลินวาน” คือ นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นนักท่องเที่ยวในกลุ่มวัยใดก็ตาม จะให้ความสำคัญกับสถานที่ คือ “เพลินวาน” ว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ที่มีความย้อนยุค มีความน่าสนใจ และแปลกใหม่ จึงทำให้ตัดสินใจมาท่องเที่ยวที่ “เพลินวาน” นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยว “เพลินวาน” มีความรู้สึกหลากหลายต่อการนำเสนอบรรยากาศแลลอดีตของ “เพลินวาน” ดังนี้ 1) ความรู้สึกถึงบรรยากาศที่มีความสบายและมีความเป็นกันเอง 2) ความรู้สึกถึงบรรยากาศที่มีความแปลกตาแปลกใจ 3) ความรู้สึกที่อยากจะอนุรักษ์สิ่งเก่า ๆ เอาไว้ 4) ความรู้สึกถึงบรรยากาศที่มีความแตกต่างระหว่างอดีตกับปัจจุบัน 5) ความสุข ความทรงจำดี ๆ ในวัยเด็ก 6) ความรู้สึกว่าบรรยากาศแบบอดีตที่ดีนั้นขาดหายไปจากยุคปัจจุบัน และ 7) ไม่ได้ทำให้เกิดความรู้สึกถึงอดีตเลยไม่ได้มีสิ่งดึงดูดใจมากนัก และไม่ได้เป็นสถานที่ที่พิเศษกว่าที่อื่น ๆ สำหรับประเด็นเรื่องการรับรู้ของนักท่องเที่ยวในแต่ละช่วงวัยที่มีต่อสัญญะที่ “เพลินวาน” ใช้แสดงถึงการโหยหาอดีตนั้น ผลการวิจัยพบว่า นักท่องเที่ยวกลุ่มวัยรุ่นไม่มีความรู้สึกถึงการโหยหาอดีต ผู้วิจัยจึงได้ทำการศึกษานักท่องเที่ยว 3 กลุ่ม คือ กลุ่มวัยผู้ใหญ่ตอนต้น กลุ่มวัยผู้ใหญ่ตอนกลาง และกลุ่มวัยผู้ใหญ่ตอนปลายไปจนถึงวันชรา ซึ่งผลการวิจัยพบว่า นักท่องเที่ยวแต่ละช่วงวัยมีการรับรู้และตีความตามสัญญะมราแสดงถึงการโหยหาอดีต โดยเป็นการแสดงให้เห็นถึงคุณค่าอันดีงามที่ขาดหายไปในปัจจุบันของกลุ่มนักท่องเที่ยวที่ช่วงอายุแตกต่างกัน กล่าวคือ 1) คุณค่าในเรื่องของศิลปวัฒนธรรมไทย 2) คุณค่าในเรื่องของความสงบสุขเรียบง่าย 3) คุณค่าในเรื่องของภูมิปัญญาดั้งเดิม 4) คุณค่าในเรื่องของความรู้สึกผูกพัน 5) คุณค่าในเรื่องของการเข้าวัด และ 6) คุณค่าในเรื่องของการทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว
The purposes of this research were 1) to identify the reasons why tourists choose to visit “Plearnwan”, 2) to identify how tourists feel nostalgia when visiting “Plearnwan”, and 3) to identify tourists’ perception in different ages towards nostalgia symbols at “Plearnwan”. This research was a qualitative research. The researcher collected data from document review, observation and in-depth interviews. The data were analyzed by using nostalgia concepts, semiology theory, perception theory, retro marketing theory and related research. The research found that most of the tourists in every generation chose to visit “Plearnwan because “Plearnwan” was the new place using retro style which was interesting and creative. The tourists who visited “Plearnwan” had different feeling towards the presentation of “Plearnwan” retro atmosphere as follows: 1) feeling of comfort and friendliness 2) feeling of surprise 3) feeling of preservation of old things 4) feeling of different atmosphere between past and present 5) feeling of happiness and good memory in the childhood 6) feeling of the lost of good memory in the old time and 7) feeling of nothing special or impressive. For the tourists’ perception issue, the researcher found out that the teenager group did not have the feeling of nostalgia compared to the other groups, so the researcher did not analyze their perception. The researcher analyzed only 3 groups: early adult group, middle adult group and late adult group. It was interesting to note that the different groups had different perceptions and interpretations towards Nostalgia symbols. They perceived that nostalgia symbols at “Plearnwan” are the precious values which currently are disappeared. The values they mentioned were 1) value of Thai art and culture 2) value of simplicity and peace 3) value of Thai traditional wisdom 4) value of close bond 5) value of Buddhist temple visit and 6) value of family activities.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2555
Advisor(s): สุวรรณี ลัคนวณิช
ภัทรภร สังขปรีชา
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/5643
Appears in Collections:Theses

Files in This Item:

File Description SizeFormat
phanwisa_xaiv.pdf13.38 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback