DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/5526

Title: ความสัมพันธ์ของปัจจัยทางเศรษฐกิจกับบิทคอยน์ ในช่วงวิกฤตการณ์ แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
Other Titles: The relationship of economic factors and bitcoin during the crisis of the COVID-19 pandemic
Authors: จิตรภณ เพชรนุ่น
Keywords: บิทคอยน์
ดัชนี DOW JONES30
ดัชนี NASDAQ100
ดัชนี S&P500
ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยทางเศรษฐกิจกับบิทคอยน์ ในช่วงวิกฤตการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยนำปัจจัยต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ดัชนี DOW JONES30 ดัชนี NASDAQ100 ดัชนี S&P500 ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ดัชนีราคาซื้อขายทองคำ ดัชนีราคาซื้อขายน้ำมันดิบ และดัชนีความผันผวน มาศึกษาความสัมพันธ์กับบิทคอยน์ในช่วงไวรัสโควิด-19 ข้อมูลที่ใช้ศึกษาเป็นข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) ซึ่งเก็บรวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลของ ซีเอ็มอี กรุ๊ป ระยะเวลาในการเก็บข้อมูลเป็นข้อมูลรายวันในช่วงเดือนมกราคม ปี 2563 ถึงเดือนตุลาคมปี 2565 รวม 987 วัน ซึ่งใช้ข้อมูลแบบอนุกรมเวลาเพื่อมาวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงเส้น ทดสอบสมมติฐานการวิจัยและเพื่อดูความสัมพันธ์กับตัวแปรต่าง ๆ ผลการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่าตัวแปรอิสระ ที่มีอิทธิพลต่อบิทคอยน์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยมีความสัมพันธ์กับบิทคอยน์ ได้แก่ ดัชนี DOW JONES30 ดัชนี NASDAQ100 ดัชนี S&P500 ดัชนีราคาซื้อขายทองคำ ดัชนีราคาซื้อขายน้ำมันดิบ และดัชนีความผันผวน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
The purpose of this research was to study the relationship of economic factors and Bitcoin during the crisis of the COVID-19 pandemic. Various economic factors such as DOW JONES30 index, NASDAQ100 index, S&P500 index, US Dollar index, gold price index, crude oil price index, and volatility index, had been applied to study the relationship with Bitcoin during the COVID-19 pandemic. The statistics used in this study were secondary data, collected from CME Group. The data were collected daily, and the data collection period was from January 2020 to October 2022, a total of 987 days, using time series data to analyzed linear regression equations, tested research hypotheses and saw their relationship with variables. The analysis results showed the independent variables that had a statistically significant influence on Bitcoin, including DOW JONES30 index, NASDAQ100 index, S&P500 index, gold price index, crude oil price index, and volatility index at the statistically significant level of 0.05.
Description: การค้นคว้าอิสระ (บธ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2565
Subjects: ดัชนีราคาหลักทรัพย์
สกุลเงินดิจิทัล -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
บิทคอยน์
คริปโทเคอร์เรนซี
ดอลลาร์สหรัฐฯ
สหรัฐอเมริกา -- ภาวะเศรษฐกิจ
ตลาดหลักทรัพย์
Advisor(s): ชุติมาวดี ทองจีน
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/5526
Appears in Collections:Independent Studies - Master
Independent Studies

Files in This Item:

File Description SizeFormat
jittraphon_pech.pdf1.63 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback