DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/5362

Title: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ผลไม้แปรรูปของผู้บริโภคในจังหวัดระยอง
Other Titles: The factors influence on Rayong consumer’s purchase processed fruits
Authors: กุลธิดา สุวรรณลมัย
Keywords: ผลิตภัณฑ์ผลไม้แปรรูป
การตัดสินใจซื้อ
พฤติกรรมของผู้บริโภค
ส่วนประสมทางการตลาด
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การศึกษางานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้บริโภคในจังหวัดระยอง ต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ผลไม้แปรรูป เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระหว่างปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ที่ต่างกันของผู้บริโภคในจังหวัดระยองกับการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ผลไม้แปรรูป เพื่อศึกษาเปรียบ เทียบระหว่างพฤติกรรมของผู้บริโภคในจังหวัดระยองในการเลือกซื้อกับการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ผลไม้แปรรูป และเพื่อศึกษาปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ผลไม้แปรรูปของผู้บริโภคในจังหวัดระยอง ซึ่งการศึกษาการวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ และกลุ่มตัวอย่างที่ผู้วิจัยใช้ในการศึกษาในครั้งนี้คือ ผู้บริโภคที่อาศัยอยู่ในจังหวัดระยองเป็นจำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล และสถิติที่ชิวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน F-test ANOVA และ Multiple Regression ผลจากการ ศึกษาการวิจัยครั้งนี้พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ที่มีอายุระหว่าง 21-30 ปี มีระดับการศึกษาอยู่ที่ระดับปริญญาตรี มีอาชีพเป็นพนักงานเอกชน มีรายได้ต่อเดือนอยู่ที่ 10,001-20,000 บาท และมีระดับความคิดเห็นภาพรวมของการตัดสินใจซื้อในระดับมากที่สุด ในขณะที่ภาพรวมระดับความความคิดเห็นของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในระดับมาก ซึ่งหลักจากที่ผู้วิจัยได้นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ผลจากการทดสอบสมมติฐานที่ 1 พบว่า ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ของผู้บริโภคในจังหวัดระยองมีความคิดเห็นต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ผลไม้แปรรูปแตกต่างกัน คือ ด้านเพศ ระดับการศึกษา และด้านรายได้ ผลจากการทดสอบสมมติฐานที่ 2 พบว่าพฤติกรรมของผู้บริโภคในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ผลไม้แปรรูป มีความคิดเห็นต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ผลไม้แปรรูปแตกต่างกัน คือ ด้านการได้รับข้อมูล และสมมติฐานที่ 3 พบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านกายภาพมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อในระดับมากที่สุด รองลงมาด้วย ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านกระบวนการ และด้านช่องทางการจัดจำหน่ายมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อใน ระดับมาก ในขณะที่ปัจจัยด้านราคา ด้านส่งเสริมการตลาด และด้านบุคคลไม่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ผลไม้แปรรูป
The purpose of this research was to study the opinions of consumers toward their decision to purchase processed fruit products in Rayong province. This research was to study and compare between different demographic factors of consumers and purchasing decisions, to compare between the behavior of consumers and purchasing decisions and to study the factors of marketing mix influencing consumers' purchasing decisions on processed fruit products in Rayong. This research is quantitative research, the sample group in this study was 400 consumers living in Rayong. Using an online questionnaire to be a tool to collect data. Statistics used in data analysis were frequency, percentage, average, standard deviation, F-test, analysis of variance and multiple regression. The results of this research found that Most of the subjects were female, aged between 21-30 years, with an education level of bachelor's degree, Occupation is an employee of a private company, monthly income of 10,001-20,000 baht and have the highest level of overall opinion on purchasing decisions while the overall level of opinions of the marketing mix factors at a high level. After the researcher has analyzed the data with a statistical package. Test results, 1st Hypothesis found that the demographic factors of consumers in Rayong have different opinions on the decision to purchase processed fruit products such as gender, education level and income, 2nd Hypothesis found that the behavior of consumers when choosing, there were different opinions on the decision to purchase processed fruit products such as perception and 3rd Hypothesis found that the physical marketing mix had the greatest influence on purchasing decisions, followed by products, process and the aspect of distribution channels influenced purchasing decisions at a high level while the price factor, marketing promotion and the personal side had no influence on the decision to buy processed fruit products.
Subjects: ผลไม้ -- การแปรรูป
ผลไม้ดอง
การแปรรูปผลิตผลเกษตร
การแปรรูปผลิตผลเกษตร -- การควบคุมคุณภาพ
ผลไม้ -- ไทย (ภาคตะวันออก) -- การจัดการ -- วิจัย
ผลไม้ -- การตลาด -- วิจัย
พฤติกรรมผู้บริโภค -- การศึกษาเฉพาะกรณี
Advisor(s): ณัฏฐณิชา ณ นคร
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/5362
Appears in Collections:Independent Studies - Master
Independent Studies

Files in This Item:

File Description SizeFormat
kuntida_suwa.pdf8.61 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback