DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/5316

Title: การติดต่อสื่อสาร สภาพแวดล้อมการทำงาน และความเครียด ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Other Titles: Communication, work environment, and work stress affecting work effectiveness of staff’s supporting academic unit, faculty of medicine, Thammasat University
Authors: ชวิศา ทัพใหญ่
Keywords: การติดต่อสื่อสาร
สภาพแวดล้อมการทำงาน
ความเครียด
ประสิทธิภาพการทำงาน
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการติดต่อสื่อสาร ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมการทำงาน และปัจจัยความเครียดส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จำนวน 200 คน และวิธีการทางสถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลสมมติฐาน ใช้สถิติวิเคราะห์การทดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis) ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยด้านการติดต่อสื่อสาร มีอิทธิพลร้อยละ 42.4 โดยเหตุด้านคุณภาพการสื่อสาร ด้านการติดต่อสื่อสารกับหน่วยงานอื่น หรือองค์กรอื่น และด้านทักษะการสื่อสารด้านเทคโนโลยี มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมการทำงาน มีอิทธิพลร้อยละ 33.1 โดยเหตุด้านการแพร่กระจายของโรคระบาด และด้านความชัดเจนในการวางแผน มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน ปัจจัยด้านความเครียด มีอิทธิพลร้อยละ 46.2 โดยเหตุปัจจัยด้านปริมาณงาน ด้านผลตอบแทนและตำแหน่ง ด้านลักษณะงาน มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน นอกจากนั้นผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมการทำงาน และด้านสภาวะแวดล้อมที่เอื้ออำนวย ปัจจัยด้านความเครียด ด้านความรับผิดชอบในหน้าที่การงาน ไม่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ คณะแพทยศาสตร์ ที่ระดับค่า P-Value หรือนัยสำคัญในเชิงสถิติที่ 0.05
The objectives of this study was to study communication, work environment, and work stress affecting work effectiveness of staff’s supporting academic unit, Faculty of Medicine, Thammasat University. This study used the questionnaire in order to collect the data from 200 staff’s supporting academic unit, Faculty of Medicine, Thammasat University. The statistics used was percentage mean, standard deviation, and multiple regression analysis. It was found that communication factor affected 42.4 percent on work effectiveness in terms of the quality of communication, inter-departmental communication, and technological skill. Work environment factor affected 33.1 percent on work effectiveness in terms of pandemic situation, and clarification of planning policy. Work stress factor affected 46.2 percent on work effectiveness in terms of task assignment, benefits and career promotion, task identity with the significance of 0.05 level.
Description: การค้นคว้าอิสระ (บธ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2564
Subjects: ความพอใจในการทำงาน
บุคลากร -- ความพอใจในการทำงาน -- การศึกษาเฉพาะกรณี
คุณภาพชีวิตการทำงาน
สภาพแวดล้อมการทำงาน
สมรรถภาพในการทำงาน
บุคลากรทางการแพทย์
Advisor(s): สุทธินันทน์ พรหมสุวรรณ
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/5316
Appears in Collections:Independent Studies - Master
Independent Studies - Master
Independent Studies

Files in This Item:

File Description SizeFormat
chawisa_thup.pdf2.55 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback