DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/5234

Title: กลยุทธ์และกระบวนการการสื่อสารผ่านเฟซบุ๊กเพื่อเผยแพร่พุทธศาสนาให้แก่ประชาชน
Other Titles: Communication strategies and tactics used in Facebook for Buddhism publicity
Authors: พรรณรวี พิศาภาคย์
Keywords: กลยุทธ์การสื่อสาร
กระบวนการสื่อสาร
การสื่อสารการตลาด
ผู้ทรงอิทธิพลในโลกออนไลน์
เฟซบุ๊กเพจ
Issue Date: 2565
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การศึกษาวิจัยเรื่อง กลยุทธ์และกระบวนการการสื่อสารผ่านเฟซบุ๊กเพื่อเผยแพร่พุทธศาสนาให้แก่ประชาชน โดยการวิจัยครั้งนี้ มีรูปแบบการจัดทำเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษากลยุทธ์การสื่อสารผ่านเฟซบุ๊กเพจของ พระเมธีวชิโรดม, พระครูสังฆรักษ์ ศักดา สุนฺทโร และพระธรรมพัชรญาณมุนี และศึกษากระบวนการสื่อสารผ่านเฟซบุ๊ก ในการเผยแพร่ศาสนาของพระเมธีวชิโรดม, พระครูสังฆรักษ์ ศักดา สุนฺทโร และพระธรรมพัชรญาณมุนี โดยใช้การเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ลึก (In-depth Interview) ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2565 จนถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2565 ด้วยวิธีขอความร่วมมือจากพระสงฆ์ทั้ง 3 รูป ซึ่งเป็นพระสงฆ์ที่มีผู้ติดตามเฟซบุ๊กเพจสูงที่สุดในประเทศไทย ประกอบด้วย พระเมธีวชิโรดม พระครูสังฆรักษ์ ศักดา สุนฺทโร พระธรรมพัชรญาณมุนี และผู้ดูแลเฟซบุ๊กเพจของพระธรรมพัชรญาณมุนี ซึ่งทำหน้าที่ในการวางแผนการใช้กระบวนการสื่อสารแทนพระธรรมพัชรญาณมุนี แล้วนำมาวิเคราะห์สรุปผลตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า หากพระสงฆ์ต้องการเผยแพร่ความรู้ด้านศาสนาพุทธ ผ่านทางช่องทางเฟซบุ๊ก จนมีผู้กดติดตามเฟซบุ๊กเพจเป็นจำนวนมากนั้น จำเป็นจะต้องมีกลยุทธ์การสื่อสารเพื่อเผยแพร่ศาสนาผ่านเฟซบุ๊ก โดยเริ่มต้นจากการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย โดยการเลือกการสื่อสารผ่านเฟซบุ๊กมาเป็นสื่อ การสื่อสารการตลาดผ่านการประชาสัมพันธ์ (Public Relations) ซึ่งการจะทำให้ผู้ใช้เฟซบุ๊กเกิดความคล้อยตาม ที่จะตัดสินใจเลือกกดติดตาม จะต้องมีการนำเสนอเนื้อหาที่เข้าใจได้ง่าย อ้างอิงกับความใกล้ชิดเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน ความรู้สึกนึกคิด หรือประสบการณ์ที่คนส่วนใหญ่ล้วนประสบพบเจอ รวมไปถึงการเพิ่มเติมเนื้อหาทางวันสำคัญในประเทศไทยหรือวันสำคัญของโลก มีเนื้อหาการสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับด้านข่าวสาร ประเด็นร้อนที่กำลังวิพากษ์วิจารณ์ในสังคม (Hot Issue) เพื่อให้เกิดความทันสมัย ไม่ตกเทรนด์ โดยรูปแบบเนื้อหาสารทั้งหมดที่มีการนำเสนอมีทั้งคลิปวิดีโอ ข้อความ ยังต้องมีการเน้นเนื้อหาการโพสต์ในรูปแบบของรูปภาพเป็นหลัก โดยให้สอดคล้องไปกับความรู้ทางด้านศาสนา และต้องมีกลยุทธ์ในการสื่อสาร คือการเลือกที่จะสื่อสารเนื้อหาลงเฟซบุ๊กเพจเป็นประจำทุกวัน โดยเฉพาะช่วงเช้า ให้มีความตรงต่อเวลาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อรักษากลุ่มผู้ติดตามอย่างเหนียวแน่น อย่างไรก็ตาม การที่จะทำให้เกิดการกดติดตามอย่างเหนียวแน่น หากปราศจากความมีชื่อเสียงของพระสงฆ์ ก็อาจจะทำให้เกิดความสนใจน้อยลงหรือไม่เข้ามาเยี่ยมชมเฟซบุ๊กเพจ และการจะสื่อสารความรู้ทางด้านศาสนาผ่านทางเฟซบุ๊กให้ประสบความสำเร็จเช่นเดียวกับทั้ง 3 แฟนเพจของพระสงฆ์ที่เป็นกรณีศึกษานั้น ต้องมีเอกลักษณ์ที่ทำให้เฟซบุ๊กเพจเกิดจุดเด่น ทำให้มีผู้จดจำได้ จนกลายเป็นความสนใจเนื้อหาด้านศาสนา และเกิดความสนใจที่จะกดติดตามแฟนเพจได้ในที่สุดและ พึงตระหนักว่าจะต้องเป็นการทำเฟซบุ๊กเพจเพื่อเผยแพร่ศาสนาเท่านั้น มิใช่การทำเพื่อเผยแพร่ตัวเอง และต้องระวังการเลือกวิธีการตอบกลับกับผู้ติดตามแฟนเพจ หรือทำตนไม่สำรวมในกิริยาของสงฆ์ซึ่งจะถูกวิพากษ์วิจารณ์ขึ้นมาได้
This research “Communication Strategies and Tactics Used in Facebook for Buddhism Publicity” has been conducted in qualitative analysis format. The objectives are to study communication strategies and Tactics Used in Facebook Page of Phra Maha Wutthichai Wachirametee, Phra Kru Sangkharak Sakda Suntaro and Phra Dharma Bajrayanamuni, and to study communcation process on Facebook of Phra Maha Wutthichai Wachirametee, Phra Kru Sangkharak Sakda Suntaro and Phra Dharma Bajrayanamuni in order to propagate religious. Data collecting had been collected by in-depth interview methodology since May 2022 until July 2022 in coperation with those 3 monks whose Facebook Page have the most followers in Thailand including communication process manager that are the representative of Phra Maha Wutthichai Wachirametee, Phra Kru Sangkharak Sakda Suntaro and Phra Dharma Bajrayanamuni, or the Facebook Page administrations to analyze the objectives. The finding of this research found that if monks want to propagate Buddhist knowledge through Facebook in order to gain a large number of followers, they need to have Facebook communication strategies. Firstly, determine the targeted audience by selecting Facebook communication as public relations in order to influence Facebook users to decide to follow. They need to present easy-to-digest contents that relate to their everyday life, thoughts or experiences that most people encounter, also including contents that are related to special occasions in Thailand or the world, and the controversial contents that are being the hot issues to be trendy. The presented contents are mainly in the form of a video clip, an essay that has to highlight the message in the form of the picture, which comply with religious knowledge. The communication strategy is to post the contents daily especially in the morning to keep the followers. Moreover, keeping the followers without the monk's reputation might lessen people's interests or a number of fan page visits. To succeed in Facebook religious communication as the study case of 3 monks fan pages, they need to make their fanpage stand out so that people can remember and start to be interested in the religious content, and to follow the fan page in the end. Importantly, always remember that a fan page is only for religious propagation not self promotion. Be aware of how to interact with followers, and properly behave as a monk to avoid criticizing.
Description: การค้นคว้าอิสระ (นศ.ม.)--สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2564
Subjects: พุทธศาสนา -- การเผยแผ่
พุทธศาสนา -- คำสั่งสอน
การสื่อสาร -- แง่ศาสนา -- พุทธศาสนา
การโน้มน้าวใจ -- แง่ศาสนา -- พุทธศาสนา
สื่อสังคมออนไลน์
เครือข่ายสังคมออนไลน์
Advisor(s): องอาจ สิงห์ลำพอง
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/5234
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
punrawee_pisa.pdf4.28 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback