DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/5136

Title: ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการเลือกชมภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์
Other Titles: Factors influencing the decision to watch movies in theaters
Authors: วราพร ปะสาวะกา
Keywords: โรงภาพยนตร์
สตรีมมิ่ง
โควิด-19
Issue Date: 2565
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยเรื่อง “ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการเลือกชมภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์” มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ พฤติกรรมของผู้บริโภค และรูปแบบการดำเนินชีวิตที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการเลือกชมภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยการใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ บุคคลทั่วไปซึ่งมีจำนวนมากไม่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอน ที่เคยใช้บริการโรงภาพยนตร์อย่างน้อย 1 ครั้ง ในระยะเวลา 1-2 ปีที่ผ่านมา โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง โดยวิธีแบบสะดวก จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัยคือ แบบสอบถาม โดยมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.945 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นคือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมานคือ F-Test (ANOVA) และสมการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีจำนวน 269 คน มีอายุ 20-30 ปี มีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี มีอาชีพนักเรียน/นักศึกษา และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 10,000 บาท และพฤติกรรมของผู้บริโภคในการชมภาพยนตร์ คือสาเหตุหลักในการไปชมภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์ ได้แก่ ชื่นชอบบรรยากาศโรงภาพยนตร์ จากการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยด้านรูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้บริโภค ด้านกิจกรรม ด้านความสนใจ และด้านความคิดเห็น ส่งผลต่อการตัดสินใจในการเลือกชมภาพยนตร์ใน โรงภาพยนตร์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
The research subject “Factors Influencing the Decision to Watch Movies in Theaters”, the aim of study demographic characteristics and consumer behavior. This study is a quantitative Research by questionnaire. This research example has a large number of people do not know the inexact population. It has used to service in cinema at least once in the past 1-2 years. The researcher selected 400 samples via purposive convenience sampling. The instrument in the study was a questionnaire with a total reliability coefficient of 0.945. The descriptive statistics in the analysis were percentage, mean, and standard deviation. The inferential statistics used to test the hypotheses with F-test (ANOVA) and multiple regression analysis. This result found that the majority of participants were male with 20-30 years of age. They have been studying Bachelor’s Degrees. Most of them were undergraduate students and earned average monthly incomes less than 10,000 baht. Behavior in watching movies is the impress in a cinema. This result found that consumer lifestyle factors such as activities, interests and opinions. Affect the decision to watch movies in theaters at the statistically significant level of 0.05.
Description: การค้นคว้าอิสระ (บธ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2564
Subjects: โรงภาพยนตร์ -- การตลาด -- การศึกษาเฉพาะกรณี
โรงภาพยนตร์ -- ความพอใจของผู้ใช้บริการ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
โรงภาพยนตร์ -- บริการลูกค้า -- ไทย -- การศึกษาเฉพาะกรณี
ภาพยนตร์ -- การตลาด -- การศึกษาเฉพาะกรณี
ผู้ชมภาพยนตร์ -- พฤติกรรม -- การศึกษาเฉพาะกรณี
พฤติกรรมผู้บริโภค -- การศึกษาเฉพาะกรณี
ความพอใจของผู้ใช้บริการ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
Advisor(s): ณัฏฐณิชา ณ นคร
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/5136
Appears in Collections:Independent Studies - Master
Independent Studies

Files in This Item:

File Description SizeFormat
waraporn_pasa.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback