DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/4960

Title: อิทธิพลของการสื่อสารแบบปากต่อปาก (WOM) บนสื่อสังคมออนไลน์และความไว้วางใจที่มีผลต่อความตั้งใจท่องเที่ยวในประเทศไทยในยุคโควิด-19 ระลอก 3 ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: The influence of word-of-mouth (WOM) communication on social media and trust on Thailand travel intentions of Bangkok residents during the 3rd wave of Covid-19 pandemic
Authors: ปภัสสา ศักดิ์ศิริกุล
Keywords: การสื่อสารแบบปากต่อปาก (WOM)
สื่อสังคมออนไลน์
ยุคโควิด-19 ระลอก 3
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการสื่อสารแบบปากต่อปากบนสื่อสังคมออนไลน์ที่มีต่อการท่องเที่ยวในประเทศไทยในยุคโควิด-19 ระลอก 3 ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาความไว้วางใจมีต่อการท่องเที่ยวในประเทศไทยในยุคโควิด-19 ระลอก 3 ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาความตั้งใจท่องเที่ยวในประเทศไทยในยุคโควิด-19 ระลอก 3 ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร และ 4) เพื่อศึกษาความสามารถของการสื่อสารแบบปากต่อปากบนสื่อสังคมออนไลน์และความไว้วางใจต่อการท่องเที่ยวในประเทศไทย ในการร่วมกันทำนายความตั้งใจท่องเที่ยวในประเทศไทยในยุคโควิด-19 ระลอก 3 ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นกลุ่มบุคคลทั้งชายและหญิงที่มีอายุตั้งแต่ 15 ขึ้นไป และอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครในช่วงโควิด-19 พบว่า มีจำนวนประชากรทั้งสิ้นจำนวน 4,719,691 คน ทั้งนี้ผู้วิจัยกำหนดขนาดตัวอย่าง โดยคำนวณจากโปรแกรม G*Power ซึ่งงานวิจัยครั้งนี้ใช้สถิติเชิงอนุมาน 2 ชนิด ได้แก่ และการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ต้องใช้ตัวอย่าง จำนวน 107 คน นอกจากนี้เพื่อให้งานวิจัยมีความสามารถในการอ้างอิงไปยังประชากรเพิ่มขึ้น (Generalization) ผู้วิจัยจึงกำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของ ทาโร ยามาเน โดยกำหนดระดับความเชื่อมั่นที่ 95% และขนาดความคลาดเคลื่อนที่ 5% ดังนั้นตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยจึงมีทั้งหมด จำนวน 400 คน จากผลการวิจัยพบว่า การสื่อสารแบบปากต่อปากบนสื่อสังคมออนไลน์ที่มีต่อการท่องเที่ยวในประเทศไทยในยุคโควิด-19 โดยเรียงลำดับ 3 ลำดับแรก ดังนี้ 1) การรวบรวมข้อมูลจากรีวิวการท่องเที่ยวบนสื่อสังคมออนไลน์ก่อนที่ท่านจะตัดสินใจเดินทาง มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 3.32 หมายความว่า ระดับมากที่สุด 2) การอ่านรีวิวของนักท่องเที่ยวคนอื่น ๆ เกี่ยวกับราคาสถานที่พักหรือโรงแรมในช่วงโควิด-19 เพื่อประกอบการตัดสินใจ มีค่าเฉลี่ย 3.31 อยู่ในระดับมากที่สุด และ 3) การอ่านรีวิวของ นักท่องเที่ยวคนอื่น ๆ เกี่ยวกับการจัดโปรแกรมการท่องเที่ยวในช่วงโควิด-19 มีค่าเฉลี่ย 3.91 อยู่ในระดับมากที่สุด
The objectives of this research were: 1) to study the impact of word-of-mouth communication on social media on tourism in Thailand in the 3rd wave of COVID-19 era of people in Bangkok; 3 waves of tourism in Thailand during the COVID-19 era of people in Bangkok, 3) to study the intention to travel in Thailand in the Covid-19 era, the 3 waves of people in Bangkok and 4) to study the ability of word-of-mouth communication on social media and trust in Thailand tourism. To jointly predict the intention to travel in Thailand in the Covid-19 era, 3 waves of people in Bangkok. The population used in the study was a group of males and females aged 15 and over and living in Bangkok during the Covid-19 period. The total population was 4,719,691. The researcher determined the sample size by calculating from the program. G*Power, which uses two types of inferential statistics, which are inference statistics and multiple regression analysis, required a sample of 107 people. (Generalization), the researcher determined the sample size using Taro Yamane's ready-made table, with a 95% confidence level and a size error. 5%, so the sample used in the research has a total of 400 people The results of the research found that Word-of-mouth communication on social media on tourism in Thailand during the Covid-19 era The top three rankings are as follows: 1) Collecting information from travel reviews on social media before you decide to travel. with a total average of 3.32, meaning the highest level 2) reading other travelers' reviews about accommodation or hotel prices during Covid-19 For decision-making, an average of 3.31 was at the highest level, and 3) reading reviews of other travelers about their travel program during Covid-19 had an average of 3.91, at the highest level.
Description: การค้นคว้าอิสระ (นศ.ม.)--สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2563
Subjects: โฆษณาแบบปากต่อปาก
สื่อสังคมออนไลน์
พฤติกรรมผู้บริโภค -- การศึกษาเฉพาะกรณี
อุตสาหกรรมท่องเที่ยว -- ไทย -- วิจัย
การจัดการตลาด -- การศึกษาเฉพาะกรณี
ไทย -- ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว -- การศึกษาเฉพาะกรณี
นักท่องเที่ยว -- การศึกษาเฉพาะกรณี
การระบาดใหญ่ของโควิด-19, ค.ศ. 2020- -- อิทธิพล
Advisor(s): วีรพงษ์ พวงเล็ก
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/4960
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
papassa_saks.pdf3.7 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback