DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/4782

Title: ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารเงินทุนหมุนเวียนที่ส่งผลต่อความสามารถในการทำ กำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ของกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์
Other Titles: The relationship between working capital management and profitability of automotive companies in Thailand
Authors: ธนพร ทองพูน
Keywords: การบริหารเงินทุนหมุนเวียน
ความสามารถในการทำกำไร
อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ รวม
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การศึกษาในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาเรื่องการบริหารเงินทุนหมุนเวียนที่ส่งผลต่อ ความสามารถในการทำกำไร ของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์จำนวนทั้งหมด 15 บริษัท ที่จด ทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลรายไตรมาสตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ปี พ.ศ.2552 ถึงไตรมาสที่ 1 ปี พ.ศ. 2563 ระยะเวลา 10 ปีรวมทั้งสิ้น 41 ไตรมาส การศึกษาครั้งนี้มีตัวแปรต้นที่ ใช้ทั้งหมด 4 ตัว คือ ระยะเวลาลูกหนี้การค้า ระยะเวลาขายสินค้า ระยะเวลาเจ้าหนี้การค้า และวงจร เงินสด ส่วนตัวแปรตาม คือ อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม และตัวแปรควบคุม ประกอบด้วย ขนาดของบริษัท อัตราส่วนโครงสร้างทางการเงินของบริษัท และอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน นำไปทำ การวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ ที่ระดับความเชื่อมั่น 99% 95% และ 90% ผลการศึกษาพบว่า ตัวแปรที่มีความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงของอัตราผลตอบแทนต่อ สินทรัพย์รวมมากที่สุด คือ ระยะเวลาเจ้าหนี้การค้า โดยมี 8 บริษัท ที่มีความสัมพันธ์ระหว่างกันกับ อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม แสดงให้เห็นถึงบริษัทมีการใช้เครดิตให้เกิดประโยชน์ในการนำเงิน ก่อนการจ่ายไปทำให้เกิดกำไรสูงสุดต่อสินทรัพย์รวม ซึ่งหากมีระยะเวลาที่เหมาะสมจะทำให้ธุรกิจเกิด กำไรสูงสุด ดังนั้น ระยะเวลาเจ้าหนี้การค้าเป็นปัจจัยสำคัญต่อการตัดสินใจลงทุนในอุตสาหกรรมยาน ยนต์
This research aims to study the Relationship between Inventory Management and Firm’s Profitability. Data is collected from 15 companies in Automotive sector on the Stock Exchange of Thailand. Data are quarterly time series from the first quarter of 2009 to the first quarter of 2020, 10 years, period total is 41 quarters. The independent variable are accounts aeceivable period (ARP), inventory conversion period (ICP), accounts payable period (APP) and cash conversion cycle (CCC). The dependent variable is return on asset (ROA) and the controlled variables are introduced to regressive model which are the firm size, (FS) firm leverage (FL) and current ratio (CR). The multiple regression analyzes were then performed at 99%, 95%, and 90% Conclusion. It was found that the variable most important to change in return on assets was the account payable period. There are 8 companies that have relationship with each other with return on assets. It shows that the company has operational processes from receiving payments from receivables, selling products and providing services, Including debt repayment. Which, if appropriate, will result in liquidity in business administration and when considering the research results account payable perod affects return on assets. Which is a rate that shows the ability to make profit And the performance of that company, which is the most important metric of computing in the Automotive industry.
Description: การค้นคว้าอิสระ (บธ.ม.) -- บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2562
Advisor(s): รพีสร เฟื่องเกษม
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/4782
Appears in Collections:Independent Studies - Master
Independent Studies

Files in This Item:

File Description SizeFormat
thanaporn_tong.pdf3.2 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback