DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/4653

Title: การเปิดรับข่าวสารอุบัติเหตุบนท้องถนนมีผลต่อพฤติกรรมการขับขี่ยานพาหนะ ของผู้ใช้เฟซบุ๊กในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Exposure to Road Accident News Affecting Driving Behavior of Facebook Users in Bangkok
Authors: ราชัณย์ ตะมาริด
Keywords: การเปิดรับข่าวสารอุบัติเหตุ
พฤติกรรมการขับขี่ยานพาหนะ
ผู้ใช้เฟซบุ๊ก
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปิดรับข่าวสารอุบัติเหตุบนท้องถนนของผู้ใช้เฟซบุ๊กในเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อศึกษาถึงพฤติกรรมการขับขี่ยานพาหนะของผู้ใช้เฟซบุ๊กในเขตกรุงเทพมหานคร และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสารอุบัติเหตุบนท้องถนนกับพฤติกรรมการขับขี่ยานพาหนะของผู้ใช้เฟซบุ๊กในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ใช้เฟซบุ๊กในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation Coefficient: r) ผลการวิจัย พบว่า 1. การเปิดรับข่าวสารอุบัติเหตุบนท้องถนนของผู้ใช้เฟซบุ๊กในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า ด้านความต้องการ ด้านทัศนคติและค่านิยม ด้านเป้าหมาย ด้านความสามารถ ด้านการใช้ประโยชน์ ด้านลักษณะข่าวสาร ด้านสภาวะ ด้านประสบการณ์และนิสัย ทุกด้านโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. พฤติกรรมการขับขี่ยานพาหนะของผู้ใช้เฟซบุ๊กในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า ด้านพฤติกรรมการขับขี่มาตรฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านพฤติกรรมการขับขี่ที่เบี่ยงเบนไปในทางบวก โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และด้านพฤติกรรมการขับขี่ที่เบี่ยงเบนไปในทางลบ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 3. ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสารอุบัติเหตุบนท้องถนนกับพฤติกรรมการขับขี่ยานพาหนะของผู้ใช้เฟซบุ๊กในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า การเปิดรับข่าวสาร ด้านความต้องการ ด้านทัศนคติและค่านิยม ด้านเป้าหมาย ด้านความสามารถ ด้านการใช้ประโยชน์ ด้านลักษณะข่าวสาร ด้านสภาวะ และด้านประสบการณ์และนิสัย มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการขับขี่ยานพาหนะของผู้ใช้เฟซบุ๊กในเขตกรุงเทพมหานคร ในด้านพฤติกรรมการขับขี่มาตรฐาน พฤติกรรมการขับขี่ที่เบี่ยงเบนไปในทางบวก พฤติกรรมการขับขี่ที่เบี่ยงเบนไปในทางลบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
This research aims to study exposure to road accident news of Facebook users, driving behavior of Facebook users in Bangkok, and the relationship between exposure to road accident news and driving behavior of Facebook users in Bangkok. The sampling group used in the research is 400 Facebook users. The research instrument is a questionnaire. The used statistics consist of frequency, percentage, mean, standard deviation, and correlation coefficient: r. The research found the following: 1. Exposure to road accident news of Facebook users - the overall level of needs, attitude and value, goal, skill, utilization, type of news, environment, and experience and personality are high. 2. Driving behavior of Facebook users - the overall level of standard driving behavior is high. The overall level of driving behavior having a positive inclination and driving behavior having a negative inclination are medium. 3. Relationship between exposure to road accident news and driving behavior of Facebook users in Bangkok - needs, attitude and value, goal, skill, utilization, type of news, environment, and experience and personality have a correlation with driving behavior of Facebook users in terms of standard driving behavior, driving behavior having a positive inclination, and driving behavior having a negative inclination with statistical significance at the level of 0.05.
Description: การค้นคว้าอิสระ (นศ.ม.)--สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2562
Advisor(s): พรพรหม ชมงาม
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/4653
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
Rachan_tama.pdf1.28 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback