DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/4505

Title: แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน กรณีศึกษา ชุมชนริมน้ำจันทบูร ตำบลวัดใหม่ อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี
Other Titles: Guideline for Community Based Tourism Development: A Case Study of Rim Nam Chanthaboon Community, Chanthaburi Province
Authors: สุหรรษา อินสี
Keywords: พฤติกรรมนักท่องเที่ยว
ศักยภาพ
การพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน
ชุมชนริมน้ำจันทบูร
แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยว
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อ การท่องเที่ยวชุมชนริมน้ำจันทบูร ตำบลวัดใหม่ อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี 2) เพื่อศึกษา ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวชุมชนริมน้ำจันทบูร ตำบลวัดใหม่ อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนา แหล่งท่องเที่ยวชุมชนริมน้ำจันทบูร ตำบลวัดใหม่ อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี ตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษามาจากนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางท่องเที่ยวชุมชนริมน้ำจันทบูร ตำบลวัดใหม่ อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี โดยใช้วิธีการสุ่มแบบบังเอิญ จำนวน 400 คน ในช่วงวันที่ 1 พฤษภาคม–30 มิถุนายน 2563 โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล นำข้อมูล มาวิเคราะห์หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติการทดสอบค่าที (t–test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One–Way ANOVA) เปรียบเทียบความแตกต่าง ระหว่างตัวแปร ผลการศึกษาพบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 21–30 ปี สถานภาพ สมรส การศึกษาระดับปริญญาตรี มีอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน รายได้ส่วนใหญ่ 15,001– 25,000 บาท มีภูมิสำเนาอยู่ที่ภาคกลาง เดินทางมาครั้งแรก เดินทางมาเพื่อท่องเที่ยวแบบไปเช้า– เย็นกลับ มีค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวอยู่ที่ 1,001–2,500 บาท เดินทางมากับครอบครัว/ ญาติ มีจำนวนสมาชิกที่เดินทางด้วย 3 คน การค้นคว้าข้อมูลข่าวสารการท่องเที่ยวจาก Facebook ระดับ ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน กรณีศึกษา ชุมชนริมน้ำจันทบูร โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.64) เมื่อพิจารณาปัจจัยรายด้าน ศักยภาพ ด้านพื้นที่อยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.73) และมีรายข้อเรื่องสิ่งก่อสร้างที่แสดงถึงประวัติศาสตร์ของชุมชน ริมน้ำจันทบูร มีความสมบูรณ์ ไม่เสื่อมโทรม เช่น บ้านหลวงราชไมตรียังคงโครงสร้างแบบโบราณ ให้นักท่องเที่ยวได้ศึกษา เป็นต้น (x̄ = 3.90) ส่วนปัจจัยรายด้านอื่นอยู่ในระดับมากทั้งหมด เรียงตามลำดับ ศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวชุมชนด้านการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.64) โดยมีรายข้อเรื่องมีการจัดตั้งกลุ่มอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นภายในชุมชน (x̄ = 3.70) ศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวชุมชนด้านกิจกรรมและกระบวนการอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.62) มีรายข้อเรื่องกิจกรรมการท่องเที่ยวเป็นที่ยอมรับของคนในท้องถิ่น ไม่รบกวนความสงบสุขของ คนในพื้นที่และไม่ขัดต่อกฎหมายศีลธรรมหรือวัฒนธรรม (x̄ = 3.66) และศักยภาพของ แหล่งท่องเที่ยวชุมชนด้านการจัดการอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.59) มีรายข้อเรื่องมีการจัดการ ด้านอาหารและโภชนาการที่พอเพียงและถูกสุขลักษณะ (x̄ = 3.66) และผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า การเปรียบเทียบข้อมูลทั่วไปที่แตกต่างกันต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน กรณีศึกษาชุมชนริมน้ำจันทบูร ตำบลวัดใหม่ อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี พบว่า เพศ อายุ รายได้ต่อเดือน อาชีพ ภูมิลำเนาที่ต่างกันมีปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน กรณีศึกษา ชุมชนริมน้ำจันทบูรแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนการเปรียบเทียบ สถานภาพและระดับการศึกษาสูงสุดที่ต่างกันกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน กรณีศึกษาชุมชนริมน้ำจันทบูร พบว่าไม่แตกต่างกันทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05
The objectives of this research were to study the behavior of Thai tourists affecting the Rim Nam Chanthaboon Community, T. Wat Mai, A. Muang Chanthaburi, Chanthaburi Province, investigate the opinions of Thai tourists concerning the potential of Rim Nam Chanthaboon Community, and propose guidelines for the development of the Rim Nam Chanthaboon Community. The sample comprised 400 Thai tourists who visited the Rim Nam Chanthaboon Community during 1 May to 30 June 2020, selected using the accidental sampling method. A questionnaire was used to collect data, which were analyzed to find the percentage, mean and standard deviation. T-test and One–Way ANOVA were applied to compare the differences between variables. The research results indicated that most tourists were married men aged 21–30 years old who had graduated with a bachelor’s degree and worked in a private company. Most lived in central Thailand and earned between 15,001–25,000 THB per month. They visited the place with their family or relatives as a one-day trip with the budget of between 1,001–2,500 THB for three members. They searched for information from Facebook. The findings also showed that the overall opinions of Thai tourists concerning the factors affecting the development of community-based tourism based on a case study of the Rim Nam Chanthaboon Community were at high level (x̄ = 3.64). When considered by aspect, the area potential was at a high level (x̄ = 3.73) in terms of the construction reflecting the background and fertility of the Rim Nam Chanthaboon community, such as the ancient structures of Baan Luang Rajamaitri (x̄ = 3.90). Other aspects were at a high level as well. The potential in participation was at high level (x̄ = 3.64). When considered by aspect, the forming of culture and local wisdom conservation group (x̄ = 3.70), potential of community site in terms of activities and process (x̄ = 3.62), the acceptable tourism activities which were legal and consistent with culture and traditions (x̄ = 3.66), management potential were at a high level (x̄ = 3.59), and adequate food and nutrient management (x̄ = 3.66) were at a high level as well. The comparison of results for different general information of the factors affecting the development of communitybased tourism based on a case study of the Rim Nam Chanthaboon Community, T. Wat Mai, A. Muang Chanthaburi, Chanthaburi Province showed that differences in gender, age, income, occupation, and domicile affected the development of community-based tourism at a 0.05 level of statistical significance. However, the comparison of results for status and education and the factors affecting the development of community-based tourism showed no difference at a 0.05 level of statistical significance.
Description: การค้นคว้าอิสระ (ศศ.ม.)--สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2562
Advisor(s): ศิวศักดิ์ ปานสุขขุม
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/4505
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
suhansa_inse.pdf1.54 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback